Doctor of Philosophy Program in Communication Arts

รายวิชา

หมวดวิชาปรับพื้นฐาน  (ไม่จำกัดหน่วยกิต)    
เป็นกลุ่มวิชาบังคับในหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต  หรือกลุ่มวิชาของหลักสูตรอื่นในระดับดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยคณะกรรมการหลักสูตรจะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิชาเรียนหรือยกเว้น ให้กับนักศึกษาแต่ละรายที่ขาดพื้นฐานความรู้ด้านนิเทศศาสตร์และการวิเคราะห์วิจัยเชิงสถิติ  ซึ่งเป็นวิชาไม่นับหน่วยกิตและไม่จำกัดหน่วยกิต
หมวดวิชาบังคับ
รหัสวิชา
ชื่อวิชา
 หน่วยกิต
CA 830

ทฤษฎีและการพัฒนาองค์ความรู้นิเทศศาสตร์
Theory  and  Body of  Knowledge Development of Communication Arts

          ปรัชญา แนวความคิดรวบยอดและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารมนุษย์ในระดับต่างๆ และผลกระทบทั้งระดับปัจเจกบุคคล สังคมและโลกาภิวัตน์ ตลอดจนการพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ กระบวนวิธีวิจัยและกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมและเทคโนโลยี                

CA821

ทฤษฎีเชิงวิพากษ์และวัฒนธรรมศึกษาทางนิเทศศาสตร์
Critical Theory and Cultural Studies in Communication Arts

          แนวความคิดรวบยอดและทฤษฎีต่างๆ เกี่ยวกับการสื่อสารเชิงวิพากษ์ ประวัติศาสตร์ ที่มาและความสำคัญของสำนักคิดต่างๆ  โดยเฉพาะวัฒนธรรมศึกษา วิธีการตีความปรากฏการณ์ทางสังคม และการประยุกต์ทฤษฎีวิพากษ์กับศาสตร์การสื่อสาร

CA832

ปรัชญาการแสวงหาความรู้และระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ
Philosophy of Knowledge  Inquiry  and Quantitative Research Methodolgy

          พัฒนาความเข้าใจแนวปรัชญาการแสวงหาความรู้ของการวิจัยเชิงประจักษ์ตามแนวปฏิฐานนิยมเพื่อนำไปสู่ความลึกซึ้งที่สามารถกำหนดประเด็นปัญหาวิจัยในหัวข้อนิเทศศาสตร์ได้อย่างเหมาะสมและเป็นตรรกะ รวมทั้งการเลือกและการวางแผนวิธีวิจัยในขั้นตอนต่างๆ ของกระบวนการวิจัยเชิงปริมาณได้อย่างถูกต้อง ตลอดถึงการวางแผนในขั้นตอนการวัด การวิเคราะห์ ให้แม่นยำน่าเชื่อถือ และการสรุปอภิปรายผลที่สะท้อนถึงพัฒนาขององค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ได้อย่างแท้จริง

CA833

ปรัชญาการแสวงหาความรู้และระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ
Philosophy of Knowledge Inquiry  and Qualitative Research Methodolgy

          ปรัชญาและกระบวนทัศน์ของการวิจัยเชิงคุณภาพตามแนวปรากฎการณ์นิยมและวัฒนธรรมศึกษา ความแตกต่างของการวิจัยเชิงคุณภาพกับแนวทางเชิงประจักษ์นิยมและปฎิฐานนิยม การประยุกต์ใช้ทฤษฎีนิเทศศาสตร์กับการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบต่างๆเช่น การวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณา เชิงกรณีศึกษา เชิงประวัติศาตร์ ฯลฯ กระบวนการวิธีวิจัยเชิงคุณภาพตั้งแต่การกำหนดปัญหาการวิจัย การสร้างกรอบแนวคิดในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเทคนิคต่าง ๆ การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก และการเขียนรายงานผลการวิจัยเชิงคุณภาพ

CA824

สัมมนาระบบสื่อและการสื่อสารในยุคดิจิทัล
Seminar in Media and Communication Systems in the Digital Age  

          ทฤษฎีและแนวคิดการสื่อสารในสังคมสารสนเทศ หรือยุคดิจิทัล ผลกระทบของเทคโนโลยีดิจิทัลต่อระบบการสื่อสารในระดับมหภาค  นโยบายสื่อ รวมทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อิทธิพลของระบบการสื่อสารและการกระจายตัวของภูมิทัศน์สื่อ อาทิ โทรทัศน์ดิจิทัล  โทรทัศน์ดาวเทียม โทรศัพท์มือถือ ที่มีผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์และสังคมทั้งในด้านบวกและด้านลบ การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ และประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องในสถานการณ์ปัจจุบัน

CA825

การสื่อสารธุรกิจร่วมสมัย
Contemporary Business Communication

          ปรัชญาการสื่อสารธุรกิจ วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการสื่อสารการธุรกิจ/การตลาด การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล บทบาทและกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดทั้งออฟไลน์(off-line) และออนไลน์(on-line) การสื่อสารแบรนด์ รวมถึงสถานการณ์การสื่อสารการตลาดกับปรากฎการณ์ทางสังคมในปัจจุบัน วิธีการวัดผลของการสื่อสารการตลาด ปัญหาและจริยธรรมของการสื่อสารการตลาดและธุรกิจในยุคดิจิทัล

CA826

จิตวิทยาการสื่อสารในสังคมสารสนเทศ
Communication Psychology in the Information Society

          ปรัชญา แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับจิตวิทยาในกระบวนการสื่อสารทุกระดับในบริบทสังคมสารสนเทศ  จิตวิทยากับอิทธิพลของกระบวนการรับรู้ การชักจูงใจ และ การปลูกฝังผ่านการสื่อสารของมนุษย์ โดยการสื่อสารระหว่างบุคคลและการสื่อสารผ่านสื่อในช่องทางต่างๆ  การวิเคราะห์ผู้รับสาร จิตวิทยาการสื่อสารกับการรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ 

CA837

CA 837 สัมมนาการบูรณาการองค์ความรู้และกลยุทธ์การวิจัยทางนิเทศศาสตร์
Seminar in Body of Knowledge and Research Integration in Communication Arts       

          สัมมนาเพื่อวิเคราะห์ วิพากษ์ และอภิปรายปรากฏการณ์และประเด็นร่วมสมัยทางนิเทศศาสตร์ที่มีความสำคัญและน่าสนใจ ทั้งด้านทฤษฎีหรือองค์ความรู้ และด้านการวิจัยหรือกระบวนการและระเบียบวิธีสร้างองค์ความรู้ ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาเกิดวิสัยทัศน์และภูมิปัญญา อันนำไปสู่การพัฒนาโครงร่างดุษฎีนิพนธ์ที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ทั้งเชิงการสร้างสรรค์องค์ความรู้และเชิงการประยุกต์ปฏิบัติเพื่อการ           

หมวดวิทยานิพนธ์

CA911

การนำเสนอหัวข้อวิทยานิพนธ์
Dissertation  Topic Defense               

          งานส่วนแรกของการทำวิทยานิพนธ์  นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าและจัดเตรียมรายละเอียด รายงานหัวข้อวิทยานิพนธ์ตามแบบที่กำหนด เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการหลักสูตร เมื่อคณะกรรมการหลักสูตรมีมติให้สอบผ่าน นักศึกษาจึงจะสามารถจัดทำวิทยานิพนธ์ในส่วนต่อไปได้                         

 
CA912

การนำเสนอเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 
Dissertation  Proposal Defense

          งานส่วนที่สองของการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะต้องศึกษาค้นคว้าและจัดเตรียมรายละเอียด ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และทำเป็นรายงานวิชาการตามแบบที่กำหนด เนื้อหาประกอบด้วย บทนำ บทการทบทวนวรรณกรรม การพัฒนาสมมติฐาน และระเบียบวิธีวิจัย เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ เมื่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์มีมติให้สอบผ่าน นักศึกษาจึงจะสามารถจัดทำวิทยานิพนธ์ในส่วนต่อไปได้

 
CA913

การสัมมนาวิทยานิพนธ์
Dissertation Seminar      

          งานส่วนที่สามของการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะต้องเก็บรวบรวมข้อมูลและนำมาวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือตามที่กำหนดในระเบียบวิธีวิจัยที่ระบุในเค้าโครงวิทยานิพนธ์ และจัดทำเป็นรายงานวิชาการตามแบบที่กำหนด ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เนื้อหาประกอบด้วย รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และผลลัพธ์ของการวิเคราะห์ ตามแบบที่กำหนด  เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ เมื่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์มีมติให้สอบผ่าน นักศึกษาจึงจะสามารถจัดทำวิทยานิพนธ์ในส่วนต่อไปได้                                   

12
CA914

การสอบวิทยานิพนธ์  
Dissertation Defense

          งานส่วนสุดท้ายของการทำวิทยานิพนธ์ นักศึกษาจะต้องทบทวนการเขียนรายงานที่ทำไปทั้งหมดและทำการเขียนบทสรุปผลบทสุดท้าย ตามแบบที่กำหนด และจัดทำเป็นรูปเล่มวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์

12

หมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ (ไม่นับหน่วยกิต)
เป็นหมวดวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ในหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต เพื่อการเสริมสร้างประสบการณ์วิชาชีพสื่อและการสื่อสารการตลาดในภูมิภาคและต่างประเทศสำหรับนักศึกษาที่สนใจ

ภายใต้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์ เมื่อคณะกรรมการวิทยานิพนธ์มีมติให้สอบผ่าน  และนักศึกษาตีพิมพ์ผลงานวิทยานิพนธ์ในวารสารวิชาการระดับชาติหรือระดับนานาชาติตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงจะถือว่างานวิทยานิพนธ์เสร็จสมบูรณ์