ส่องทิศทางเศรษฐกิจจีนหลังปี 2022

เนื้อหา

คำถามสำคัญ “เศรษฐกิจจีนหลังปี 2022 จะเป็นอย่างไร?” ยังคงได้รับความสนใจไม่น้อยในแวดวงเศรษฐกิจไทย ในฐานที่จีนเป็นยักษ์ใหญ่ทางเศรษฐกิจเอเชีย และเศรษฐกิจโลก ฉะนั้นไม่ว่าพี่ใหญ่จะขยับทางไหน มักสร้างผลกระทบต่อเศรษฐกิจหลายๆประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาการค้าและเทคโนโลยีจากจีน

โจ ฮอร์น พัธโนทัย กรรมการอำนวยการบริษัท Strategy613 จำกัด บริษัทที่ปรึกษาให้กับองค์กรเอกชนขนาดใหญ่ และหน่วยงานของรัฐในการ ลงทุนทำธุรกิจระหว่างไทย-จีน ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญเศรษฐกิจไทยจีน อาทิเช่น พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงาน การวิจัยแห่งชาติ (วช.) Mr. Louis Moser, Area Manager, Thailand, Lao, and Myanmar, IATA และดร. ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล ผู้เชี่ยวชาญสายงานวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เผยข้อมูลในงานประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 17 และเครือข่ายวิจัยประชาชื่น ครั้งที่ 6 ภายใต้หัวข้อ “ไทย-จีน: เส้นทางสู่อนาคต เพื่อสร้างความรุ่งเรืองร่วมกัน (A Road to Future - Rebuilding Path to Thai-China Common Prosperity)” โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในวันที่ 1 เมษายน 2565 ที่ผ่านมา ว่า

“ทิศทางเศรษฐกิจจีนหลังปี 2022 จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ได้แก่ 1) ความท้าทายหรือปัญหาเศรษฐกิจเดิมของ จีนตั้งแต่ยุคก่อนโควิด 10-15 ปี อาทิเช่น ปัญวัฎจักรหนี้ของรัฐบาลทั้งที่กู้มาเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และสร้างการเติบโตทางการเศรษฐกิจ ปัญหาด้าน การผลิตฝั่งอุปทาน (Over capacity) โดยที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้พึ่งวิธีแก้ปัญหาโดยให้ความสำคัญกับ 3 วิธีหลักๆ ไม่ว่าจะเป็น การก่อตั้ง BRI สร้าง infrastructure นอกประเทศจีนส่งเสริมการค้าในภูมิภาคและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเอเชียอุษาคเนย์และยูเรเซีย ส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออำนวยความ สะดวกด้านการค้าละการลงทุน ส่งเสริมให้เกิดการลงทุนนอกประเทศ และสร้างความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค

การใช้มาตรการ 4D ได้แก่

  • Deleverage หรือลดภาระหนี้สินภายในระบบ เช่น การลดหนี้ เพิ่มความเข้มงวดทางการเงิน เป็นต้น
  • De-costing ลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ปรับรูปแบบกระบวนการผลิตฝั่งอุปทานที่เน้นเทคโนโลยีสูง เพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยนวัตกรรมที่ล้ำสมัย
  • Destock ลดปริมาณการเก็บสินค้าคงคลังที่ไม่จำเป็น เน้นผลิตตามคำสั่งซื้อระยะสั้นมากขึ้น,
  • De-capacity ปรับปรุงประสิทธิภาพทางเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพแรงงาน เปลี่ยนจากผลิตที่เน้นปริมาณมาเน้นคุณภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

และการพัฒนานวัตกรรม อาทิเช่นนโยบาย Made in China 2025 เปลี่ยนโฉมหน้าอุตสาหกรรมผลิตโลก โดยเน้นความเข้มแข็งการผลิตภายในประเทศ ลดการพึ่งพิงต่างประเทศ ทั้งนี้ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับจีนคือยังแก้ไขปัญหาอยู่ โดยเฉพาะช่วงโควิดที่ผ่านมา ถือว่าเป็นหนึ่งปัจจัยที่โผล่ขึ้นมา นอกจากนี้จีนได้ใช้ วิธีการใหม่ โดยเน้นนโยบาย Common prosperity (共同富裕, Gongtong fuyu) สร้างเส้นทางสู่อนาคตด้วยการสร้างความเจิรญรุ่งเริงร่วมกัน รวมถึงยุทธศาสตร์วงจรคู่ขนาน China’s dual circulation สร้างสมดุลระหว่าง internal circulation ส่งเสริมการผลิตและการบริโภคภายในประเทศ ลดการ พึ่งพิงวัตถุดิบและเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และ external circulation รักษาเสถียรภาพการค้าระหว่างประเทศ การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศ

2) ประการที่สองที่เป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐกิจจีนหลังปี 2022 คือ “ความท้าทายใหม่ หรือ มรสุม 6 ลูก” ที่จีนต้องเผชิญหลังจากโควิด โจ ฮอร์น พัธโนทัย กล่าว โดยมรสุม 6 ลูกนี้จะเป็นตัวกำหนดทิศทางเศรษฐิจจีน ว่าจะฟื้นตัวเร็วแค่ไหน หรือว่าจะชะลอตัวอีกนานเพียงใด ไม่ว่าจะเป็น

  1. มรสุมเงินเฟ้อไม่เติบโต ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่ผันตามวัฎจักรเศรษฐกิจ หรือเป็นลักษณะ counters cyclical โดยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในจีนหลักๆจากมาจาก Producer price index (PPI) มากกว่าจะมาจาก Consumer Price index (CPI) โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาแพงในช่วงเศรษฐกิจขาลงก็มักจะพบปัญหา Stagflation ได้
  2. มรสุมอุปสงค์หดตัว (demand shock) โดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากรายได้ของลูกค้าทั้งที่เป็นลูกค้าเอง และลูกค้าองค์กรลดลง เนื่อง จากเศรษฐกิจถดถอย นอกจากนี้รายได้ของผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออกสินค้าลงลงอีก ยิ่งทำให้อุปสงค์ภายในประเทศลดลง นอกจากนี้ปัจจัยในระยะยาว ถ้าดูจำนวนประชากร1.4 พันล้านคน ไม่มีการเติบโต (Net growth เป็น 0) ทำให้ไม่มีอุปสงค์ในตลาดอสังหาเข้าไปอีก ซ้ำร้ายในระยะสั้น (short term) รัฐบาลออกมาตรการ Real Estate clampdown โดยใช้ 3 เส้นแดง เส้นบังคับไม่ให้บริษัทอสังหาเอกชน กู้เงินได้ง่าย ๆ ส่งผลให้บริษัทเอกชนได้รับผลกระทบ
  3. มรสุมโควิด-19 ที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิฐชะลอตัว สังเกตได้ชัดเจนจากกำลังซื้อที่หายไป ทั้งในย่านศูนย์กลางธุรกิจ A central business district (CBD) และตามภูมิภาคอื่นๆ ลดลง
  4. การเลือกผู้นำพรรคใหม่ ที่จะมีการประชุมสมัชชาใหญ่ในปีนี้ โดยไม่มีใครรู้ได้ว่ามติจะออกมาตามคาดมากน้อยเพียงใด
  5. มรสุมสงครามรัซเซีย-ยูเครน ที่จีนเองก็มีบทบาทสำคัญในฐานะที่มีความสัมพันธ์(ทางเศรษฐกิจ) กับทั้ง 2 ประเทศ
  6. มรสุมภาคธนาคาร (Banking sector) โดยในปีที่ผ่านมาหนี้สินของธนาคารในจีน ดูได้จาก Total social financing (TSF) per GDP สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2022 โดยที่ผ่านมารัฐบาลจีนได้ออกมาตรฐการผ่อนปรนและส่งเสริมการปล่อยกู้ ทำให้มีเม็ดเงินจำนวนมากถูกปล่อยออกสู่ภาคเศรษฐกิจจริง ....”

กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจจีนหลังปี 2022 จะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับว่าจีนจะรับมือปัญหาความท้ายทายเดิมก่อนโควิด และมรสุม 6 ลูกได้ดีเพียงใด แน่นอนว่าคงไม่ใช่ปัญหาที่รับมือได้อย่างง่ายดาย การฟื้นตัวจากมรสุม 6 ลูกอาจใช้เวลาค่อนข้างนานกว่าเศรษฐกิจจะกลับสู่ภาวะเดิมอีกครั้ง ในส่วนของเศรษฐกิจไทยจะได้รับผลกระทบมากน้อยเพียงใดนั้น ก็ขึ้นอยู่กับว่าเรามีความสัมพันธ์กับเศรษฐกิจจีนมากเพียงใด หากจีนฟื้นตัวแล้ว ไทยจะฟื้นตัวตามหรือไม่ ก็คงต้องศึกษากันต่อไป สิ่งที่น่าติดตามก็คือโครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ที่เปรียบเหมือนส้นทางการค้าการลงทุนใหม่ แ ละเป็นประตูทางออกสู่ทะเลของจีนอีกเส้นทางหนึ่ง จะเชื่อมต่อกับไทยได้มากน้อยแค่ไหน และจะก่อให้เกิดความเชื่อมโยงผลประโยชน์ร่วมกันมากน้อยเพียงใด ก็คงต้องติดตามกันต่อไป...

Download

DPU RDI: Policy Brief
เรียบเรียงโดย อ.วราวุฒิ เรือนคำ
Pictures Credit: Xinhua Silk Road, NEWS.CN
29.4.2022

 

******************************


 

ดร.ภูมิพัฒณ์ พงศ์พฤฒิกุล

อาจารย์ประจำวิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ผู้สนใจศึกษาด้านเศรษฐิจจีน บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจและนวัตกรรม  

 


 

อ. วราวุฒิ เรือนคำ

อาจารย์ประจำสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ สำนักวิชาการจัดการ
มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ผู้สนใจการวิจัยด้าน นโยบายเศรษฐกิจ เศรษฐศาสตร์การพัฒนา
และเศรษฐมิติประยุกต์