การสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์
การสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมในเชิงสร้างสรรค์
มธุรส ไอยรารัตน์
การสร้างองค์ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ โดยการส่งเสริมและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย ให้เข้าถึงเยาวชนรุ่นใหม่ ด้วย Platform บนโลกออนไลน์ ที่รวบรวมข้อมูลต่างๆในโลกโซเชียล ผ่านเว็บไซต์ และแอปพลิเคชัน เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ออฟฟิศเชียลแอคเคานต์ และยูทูบ ศิลปวัฒนธรรมไทยสร้างสรรค์เป็นกระบวนการของกรรมวิธีที่ลำดับความคิด การกระทำอย่างต่อเนื่องไปสู่ปรากฏการณ์ให้เกิดมีขึ้น ให้ปรากฏขึ้นจนมีความสำเร็จผลด้วยความรู้สึกนึกคิดของปัจเจกศิลป์ ผู้สร้างสรรค์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นกระบวนการระหว่างวิถีชีวิต การดำเนินชีวิต เมื่อการดำเนินชีวิตมีความพร้อมครบถ้วนแล้ว ศิลปะที่เป็นความคิดสร้างสรรค์จึงก้าวมามีบทบาท 3 ประเภท คือ ประเภทความคิด (Creative Thinking) ประเภทความงาม (Beauty Creativity) ประเภทประโยชน์ใช้สอย (Function Creativity) ความคิดก่อให้เกิดสิ่งแปลกใหม่ สิ่งดีงาม สิ่งสวยงาม ไพเราะ และความมีคุณค่า
สายงานกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีประเภทของกิจกรรมและชมรมต่างๆ โดยมีชมรมศิลปวัฒนธรรม และนักศึกษาทุนศิลปวัฒนธรรมดีเด่นเป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมที่มุ่งหวังเพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ แลกเปลี่ยน พัฒนาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ปลูกฝังค่านิยม ความภาคภูมิใจ ความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทย โดยจะเน้นให้นักศึกษาเป็นส่วนหนึ่งของการอนุรักษ์และสืบสาน ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้วยการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา การจัดนิทรรศการ การแสดงทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทย ดนตรีสากล การละเล่นพื้นเมือง กิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีและท้องถิ่น อีกทั้ง มีการจัดงานสำคัญตามประเพณีไทย เช่น วันไหว้ครู วันสงกรานต์ วันลอยกระทง วันเข้าพรรษา ฯลฯ โดยมอบหมายให้ชมรมนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในลักษณะนี้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง กลุ่มสนับสนุนกิจการนักศึกษามีวัตถุประสงค์โครงการดังนี้
2.1 เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม เผยแพร่ แลกเปลี่ยนและพัฒนาศิลปวัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีไทย
2.2 เพื่อปลูกฝังค่านิยม ความภาคภูมิใจ และความซาบซึ้งในศิลปวัฒนธรรมไทยแก่นักศึกษาและประชาชนทั่วไป ลักษณะของกิจกรรม จัดแสดงกิจกรรมทางด้านนาฏศิลป์ ดนตรีไทย การละเล่นพื้นเมือง การจัดกิจกรรมตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทย และท้องถิ่น 4 ภาค
การสร้างสรรค์งานด้านศิลปวัฒนธรรม เป็นการให้นักศึกษานำท่ารำนาฏตยศัพท์ หรือเรียกว่าภาษาท่า สามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
1.ภาษาที่ใช้แทนคำพูด
2.ภาษาที่ใช้แทนกิริยาอาการต่างๆ
3.ภาษาที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกภายใน
โดยให้นักศึกษานำท่ารำนาฏตยศัพท์ มาคิดสร้างสรรค์ ประกอบเพลงไทยสากล
ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
ผลงานทางด้านศิลปวัฒนธรรม
>> https://youtu.be/JBCEy515VU8 นาฏยศัพท์ เพลง น้ำตาแสงใต้
>> https://youtu.be/xKLD9cM9JaM ท่านาฏยศัพท์ (ตัวร้ายที่รักเธอ)
>> https://youtu.be/Mhb-wdBfFhw ภาษาท่านาฏยศัพท์ เพลงกาลครั้งหนึ่ง
>> https://youtu.be/dzVoOQKLb7E สาริกา ท่ารำนาฏยศัพท์
>> https://youtu.be/WLXOt_xj6K8 ภาษาท่านาฏยศัพท์ เพลงออกไป