การวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารธุรกิจชุมชน กรณีศึกษาโรงสีข้าวสหกรณ์การเกษตรอุตรดิตถ์ จำกัด

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์เครือข่ายการสื่อสารธุรกิจชุมชน กรณีศึกษา โรงสี ข้าวของชุมนุมสหกรณ์การเกษตรอุตรดิตถ์ (ชสก.) จำกัด ตามโครงการเชื่อมโยงสินเชื่อเพื่อการผลิต และบริการตลาดข้าวของสหกรณ์ ซึ่งสอดคล้องกับเศรษฐกิจพอเพียงพึ่งตนเองของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว เป็นลักษณะการวิจัยทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อทราบถึงความสำเร็จและ สภาพปัญหาของการดำเนินธุรกิจสหกรณ์ โดยผ่านเครือข่ายการสื่อสารขององค์กรโรงสีข้าว ฯ ตลอดจนประเภทการทำนา ผลผลิต ข้าวเปลือก อาชีพเสริม ลักษณะการเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยง ฯ เหตุผลการขายข้าวเปลือกแก่สหกรณ์ที่สมาชิกสังกัดและแหล่งขายอื่น นอกจากนั้นยังต้องการ ทราบถึงแหล่งที่มาของข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับราคาข้าวเปลือก และเพื่อเปรียบเทียบค่าตอบแทน เฉลี่ยข้าวเปลือกระหว่างสหกรณ์ที่สมาชิกสังกัดกับแหล่งขายอื่นโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาระบบ การจัดการธุรกิจจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งใช้แบบสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากฝ่ายบริหารของ ชสก. อุตรดิตถ์ จำกัด และสหกรณ์สมาชิกที่เป็นประชากรตัวอย่างอีก 4 แห่ง (จำนวน 10 ราย) โดย พิจารณาคัดเลือกจากสหกรณ์ที่สามารถรวบรวมข้าวเปลือกได้ปริมาณมาก ปานกลางและน้อย ตามลำดับ นอกจากนี้ยังใช้แบบสอบถามเกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสหกรณ์ทั้ง 4 แห่งดังกล่าว โดย เลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 250 ราย ตามสัดส่วนที่สหกรณ์แต่ละแห่งได้วางแผนรวบรวมข้าวเปลือก ไว้ ผลการวิจัยแบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรก พบว่าระบบการจัดการธุรกิจ โรงสีข้าวของ ชสก. อุตรดิตถ์ จำกัด มีผลประกอบการดีพอสมควร เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานปี 2541/42 ได้กำไรสุทธิ 2,837,437 บาท เงินปันผล 12 % เฉลี่ยคืนตามส่วนธุรกิจรวบรวมข้าวเปลือกตันละ 100 บาท ปัญหา ที่พบได้แก่ความไม่รับผิดชอบในการชำระหนี้ของสมาชิกบางรายและการขาดสภาพคล่องด้าน เงินทุนหมุนเวียนของสหกรณ์ที่ยังอ่อนแอ ทำให้ต้องยืมเงินจากแหล่งทุนอื่น เพื่อเร่งนำเงินมาชำระ หนี้แก่กองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรเมื่อสิ้นสุดโครงการ ทั้งนี้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือในการ ขออนุมัติสินเชื่อจากกองทุนฯในรอบปีการผลิตใหม่ อย่างไรก็ตาม ในแง่การดำเนินธุรกิจ ชสก. อุตรดิตถ์ จำกัด และสหกรณ์สมาชิกทั้ง 4 แห่ง ต่างยึดหลักการดำเนินงานแบบธุรกิจเชิงสหกรณ์ กล่าวคือ มิได้มุ่งเน้นการแข่งขันกันเอง หรือแข่งขันกับโรงสีเอกชนและพ่อค้ารวบรวมข้าวแต่เพียง ด้านเดียว แต่เป็นพันธมิตรกันในบางด้านด้วย ในด้านของการแข่งขัน เนื่องจากจังหวัดอุตรดิตถ์มี โรงสีเอกชนสูงถึง 30 แห่ง ปัญหาที่พบ คือปัญหาด้านการตลาด โดยเฉพาะข้าวบรรจุถุง ข้อมูลบน หีบห่อไม่เพียงพอ บรรจุภัณฑ์ไม่ได้มาตรฐาน (มอดขึ้นเร็ว) รวมทั้งขาดการส่งเสริมการตลาด ส่วนที่สอง สมาชิกสหกรณ์ปลูกข้าวทั้งนาปีและนาปรัง โดยข้าวนาปีให้ผลผลิตเฉลี่ย 52 ถัง/ไร่ ส่วนข้าวนาปรังให้ผลผลิตเฉลี่ย 73 ถัง/ไร่ อาชีพเสริมได้แก่ การปลูกกระเทียมและหอมแดง สมาชิกเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงฯเพิ่มขึ้นหลังประสบภาวะวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540 สาเหตุที่สมาชิก ขายข้าวเปลือกให้พ่อค้ารวบรวมข้าวเพราะต้องการเงินสดและสะดวก ส่วนบุคคลที่มีอิทธิพลในการ ชักนำสมาชิกเข้าร่วมโครงการเชื่อมโยงฯ ได้แก่ประธานกลุ่มสหกรณ์ที่สังกัด และเจ้าหน้าที่ฝ่าย จัดการของสหกรณ์ สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับราคาข้าวเปลือก สมาชิกทราบจากสื่อบุคคลในลักษณะ ของการบอกต่อมากกว่าสื่อมวลชน นอกจากนี้ ราคาเฉลี่ยข้าวเปลือกเมื่อสมาชิกนำมาจำหน่ายแก่ แหล่งรับซื้อปรากฏว่า สหกรณ์ที่สมาชิกสังกัดจะให้ราคาเฉลี่ยดีกว่าโรงสีเอกชนและพ่อค้ารวบรวม ข้าว

Abstract