การปรับปรุงโครงสร้างกิจการของบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจไทยขนาดใหญ่ที่สุด 30 กลุ่ม ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจตะวันออก

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการศึกษาการปรับปรุงโครงสร้างกิจการของบริษัทจดทะเบียน (ที่ไม่ใช่ธนาคารและบริษัทเงินทุน) ซึ่งเป็นของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ 30 กลุ่ม ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจเอเชียตะวันออกปี 2540 เพื่อทดสอบสมมติฐานว่า ผู้ถือหุ้นผู้มีอำนาจควบคุมของบริษัทเหล่านี้ มีความตั้งใจที่จะพยุงกิจการในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เพื่อที่จะรักษากิจการไว้สำหรับถ่ายโอนทรัพยากรของกิจการเพื่อประโยชน์ส่วนตนในอนาคต หากสมมติฐานนี้ถูกต้อง บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ควรที่จะทำการปรับปรุงโครงสร้างกิจการในช่วงวิกฤติมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจ ผลการศึกษาโดยใช้ข้อมูลของบริษัทจดทะเบียนในช่วงปี 2539-2546 สนับสนุนแนวความคิดของ Friedman, Johnson, and Mitton (2546) ที่ว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจมีแนวโน้มที่จะพยุงและถ่ายโอนทรัพยากรของกิจการมากกว่าบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทเหล่านั้นเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างกลุ่มธุรกิจแบบปิรามิด โดยผู้วิจัยพบว่า บริษัทจดทะเบียนในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ 30 กลุ่มทำการปรับปรุงโครงสร้างกิจการด้วยการขยายกิจการ เปลี่ยนผู้บริหารระดับสูง และลดหรืองดการจ่ายปันผล มากกว่าบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มธุรกิจ นอกจากนี้บริษัทในกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนสิทธิในกำไรต่อสิทธิในการออกเสียงต่ำ มักมีแนวโน้มที่จะลดขนาด ขยายกิจการ และเปลี่ยนผู้บริหาร สูงกว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจที่มีอัตราส่วนดังกล่าวสูงกว่า ที่น่าสนใจคือ แม้ในบริษัทในกลุ่มธุรกิจที่มีความแตกต่างระหว่างสิทธิความเป็นเจ้าของและสิทธิในการควบคุมกิจการต่ำ บริษัทที่มีสัดส่วนหนี้สินสูง มีแนวโน้มที่จะปรับปรุงโครงสร้างกิจการด้านการดำเนินงานสูงตามไปด้วย ผลการศึกษาดังกล่าว สอดคล้องกับแนวความคิดของ Friedman, Johnson, and Mitton (2546) ที่ว่า หนี้สินสร้างแรงจูงใจให้ผู้ถือหุ้นผู้มีอำนาจควบคุมช่วยพยุงกิจการในช่วงที่กิจการประสบกับภาวะวิกฤตที่ไม่รุนแรงมากนัก

This study examines corporate restructuring taken by non-financial listed firms affiliated with Thailand’s top 30 business groups in response to the East Asian financial crisis to test whether controlling shareholders of business group firms intend to prop up the firms in order to tunnel in the future. To do so, we investigate whether business group firms are more likely to undertake restructuring actions in response to the crisis than non-group firms. Using data of non-financial listed firms between 1996 and 2000, our results are consistent with the argument of Friedman, Johnson, and Mitton (2003) that the propensity to prop and tunnel is higher for business group firms, in particular if they are organized in pyramids. Specifically, we find that firms that belong to the top 30 business groups implement a number of restructuring activities such as expansion, executive turnover, and dividend cuts, more often than non-group firms. Among the business group firms, we find that firms with the higher ratio of cash-flow rights to voting rights are less likely to implement the following restructuring actions: downsizing, expansion, and executive turnover. Interestingly, even in business group firms that employ less of pyramids, debt increases the probability of operational restructuring actions. This evidence is consistent with the view that debt increases the incentives of business groups’ controlling shareholders to prop up the firms during a moderate shock.

Abstract