“แนวทางการปฏิรูประบบศาลปกครองของประเทศไทย”

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด หลักการ  และพัฒนาการเกี่ยวกับการจัดตั้งศาลปกครองของประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ถึงสภาพปัญหาทางด้านกฎหมายและการดำเนินคดีปกครองของศาลปกครองในปัจจุบัน (3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับแนวทางการปฏิรูประบบศาลปกครอง

          ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานของศาลปกครองมีปัญหาที่ต้องปฏิรูประบบศาลปกครองใน 4 ประเด็น ดังนี้

ในเรื่องที่เกี่ยวกับระบบโครงสร้างศาลปกครอง การที่แบ่งศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองออกเป็น 2 ชั้นศาลและคู่กรณีมีสิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งในปัญหาข้อเท็จจริงและในปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่มีการจำกัดสิทธิการอุทธรณ์ไปยังศาลปกครองสูงสุดซึ่งมีตุลาการจำนวนจำกัดเป็นเหตุทำให้มีคดีปกครองเพิ่มมากขึ้น และมีคดีที่ค้างการพิจารณาอยู่ที่ศาลปกครองสูงสุดเป็นจำนวนมากขึ้นทุกปี อันส่งผลให้ขัดต่อแนวคิดเรื่องหลักความยุติธรรม และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวกับหลักความรับผิดชอบ กับหลักความคุ้มค่า ทั้งขัดกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในเรื่องโครงสร้างศาลปกครองที่เกี่ยวกับการอุทธรณ์ และชั้นของศาลที่จะอุทธรณ์ได้ในคดีปกครอง การแก้ไขสามารถทำได้โดยมีการจัดตั้งศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ หรือศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ภาคขึ้น

ในเรื่องระบบองค์คณะตุลาการศาลปกครอง  การคัดเลือกแต่งตั้งตุลาการศาลปกครอง  ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กำหนดให้ตุลาการศาลปกครองทั้งตุลาการในศาลปกครองชั้นต้นและตุลาการในศาลปกครองสูงสุดมาจากผู้ที่สำเร็จการศึกษาสาขาอื่นที่มิใช่สาขานิติศาสตร์ จึงอาจก่อให้เกิดปัญหาความไม่มีคุณภาพของคำพิพากษาของศาลปกครองได้  การคัดเลือกแต่งตั้งตุลาการศาลปกครอง การเลื่อนลำดับชั้นจากตุลาการศาลปกครองชั้นต้นไปเป็นตุลาการศาลปกครองสูงสุดต้องเข้ารับการคัดเลือกใหม่ทำให้ขาดความต่อเนื่อง ในปัจจุบันการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองใช้ระยะเวลาการคัดเลือกหลายขั้นตอนใช้ระยะเวลานาน ก่อให้เกิดปัญหาความล่าช้าในการคัดเลือกตุลาการเข้ามาพิจารณาพิพากษาคดีปกครองอันส่งผลให้ขัดต่อแนวคิดเรื่องหลักความยุติธรรม หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวกับ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า ทั้งไม่เกิดสัมฤทธิผลในเรื่องระบบการคัดเลือกตุลาการศาลปกครองจึงจำต้องมีการพัฒนาระบบการคัดเลือกตุลาการ ในเรื่องการกำหนดระบบการคัดเลือกตุลาการที่มีหลักเกณฑ์การพิจารณาจากคุณสมบัติที่เหมาะสมอย่างรอบด้านและความจำเป็น ต่อการร่วมเป็นองค์คณะในการพิจารณาพิพากษาคดีเป็นสำคัญให้มากขึ้น

ในเรื่องระบบสิทธิของประชาชนในการดำเนินคดีปกครอง การที่คดีปกครองไม่จำเป็นต้องมีทนายความ  ญหาประการที่สาม ระบบจะมีนิติกรคอยให้ความช่วยเหลือก็ตามช่วยร่างฟ้องและดำเนินคดีปกครอง ประชาชนส่วนใหญ่ในคดีปกครองอาจไม่มีเงินจ้างทนายความช่วยร่างฟ้องช่วยดำเนินคดีจึงไม่มีความรู้และศักยภาพเพียงพอ   ในการทำหน้าที่ในการดำเนินการใด ๆ เพื่อนำข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานมาสู่ศาลปกครองอีกทั้งคดีปกครองส่วนใหญ่ประชาชนจะเป็นผู้ฟ้องหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐและหน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐจะมีพนักงานอัยการเข้ามาช่วยดำเนินคดีให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำให้ประชาชนเสียเปรียบไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างเสมอภาคและเป็นธรรม อันส่งผลให้ขัดต่อแนวคิดเรื่องหลักความยุติธรรม และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวกับหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักความมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ กับหลักความคุ้มค่า ทั้งไม่เกิดสัมฤทธิผลในเรื่องประชาชนไม่มีทนายความ ญหาประการที่สาม ระบบจะมีนิติกรคอยให้ความช่วยเหลือก็ตามช่วยร่างฟ้องและดำเนินคดีปกครอง จึงจำต้องพิจารณาและแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ในเรื่องการจัดให้ปัญหาประการที่สาม  ระบบจะมีนิติกรคอยให้ความช่วยเหลือก็ตามมีการแต่งตั้งทนายความอาสาหรือทนายความขอแรงเพื่อช่วยร่างฟ้องและดำเนินคดีปกครอง

ในเรื่องระบบการพิจารณาพิพากษาคดีปกครอง การที่ระยะเวลาการฟ้องคดีเป็นการตัดสิทธิและจำกัดสิทธิของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมระยะเวลาการฟ้องคดีปกครองนั้นระยะเวลาสั้นเกินไปก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม ระยะเวลาการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุดภายในระยะเวลา 30 วัน นับแต่วันฟังคำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยไม่สามารถขยายระยะเวลาในการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นต่อศาลปกครองสูงสุด ก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการดำเนินคดีเป็นอย่างมากและการที่ศาลปกครองมีคำสั่งไม่รับฟ้องก่อนพิจารณาคดีทำให้ประชาชนไม่ได้รับความคุ้มครองสิทธิเท่าที่ควรจะเป็นก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรม อันส่งผลให้ขัดต่อแนวคิดเรื่องหลักความยุติธรรม และหลักธรรมาภิบาลที่เกี่ยวกับหลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความรับผิดชอบกับหลักความคุ้มค่า ทั้งขัดกับเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 จึงจำต้องพิจารณาและแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครอง และวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542  ในเรื่องระยะเวลาการฟ้องคดี การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่ง การให้ศาลปกครองรับฟ้องมาพิจารณาคดีก่อนมีคำพิพากษา หรีอคำสั่งไม่รับฟ้อง

Abstract

This research aims to (1) The concept of principles and development of the establishment of the Administrative Court of Thailand. (2) To study the state of law and administrative proceedings of the current Administrative Court. (3) To study the opinions of experts on the reform of the administrative court system.

          The results of the research show that the Administrative Court has problems in reformation the Administrative Court system in four issues.

In matters relating to the administrative structure. The division of the court that ruled the case is governed by two courts, and the parties have the right to appeal the judgment or order in matters of fact and in legal matters, without limiting the right of appeal to the Supreme Administrative Court, which has limited jurisdiction. The lawsuit has increased. The number of lawsuits pending at the Supreme Administrative Court is increasing every year. The result is contrary to the concept of justice. And good governance principles. With the main value It is contrary to the intent of the Act establishing the Administrative Court. And the judicial process in 1999 on the structure of the Administrative Court relating to the appeal. And the class of the court to appeal in the ruling. Modifications can be made by setting up an Administrative Court of Appeal. Or the Administrative Court of Appeal

In the judicial system, the court ruled. Appointment of Judge of the Administrative Court According to the Act on the Establishment of the Administrative Courts and Judicial Procedures BE 2542 (1999), the judges of the Administrative Courts, both the Judiciary in the Administrative Court and the Judiciary in the Supreme Administrative Court, are from those who have graduated from other fields of law. This may cause problems with the quality of judgment of the Administrative Court. Appointment of Judge of the Administrative Court Postponement of the judicial hierarchy from the Administrative Court to the Judiciary of the Supreme Administrative Court must be reconsidered, resulting in lack of continuity. At the present time, the selection of judges for the Administrative Courts takes a long time. The problem of delays in the selection of the judiciary to judge judicial cases, as opposed to the concept of justice. Principles of Judicial independence And good governance principles related to the rule of law, morality, principle, transparency Principle of participation Accountability Principles of Value The judicial system of the Administrative Court is not fulfilled. Therefore, the judicial selection system must be developed. In determining the system of selection of judges, the criteria for determining the suitability, suitability, and necessity It is important to be a member of the tribunal.

On the Rights of the People in Administrative Litigation. The lawsuit does not require a lawyer. Help draft and prosecute. Most people in the lawsuit may not have the money to hire a lawyer to help draft the lawsuit, so there is no knowledge and sufficient potential. In most cases, the public will file a lawsuit against a state agency or government official and a government agency or state official will file a lawsuit. The prosecutor's office assisted in prosecuting state agencies or state officials, making people unfavorable, unable to fight the case evenly. The result is contrary to the concept of justice. And good governance principles related to the rule of law, morality, principle, transparency Principle of participation Accountability With the main value I do not have a lawyer. Help draft and prosecute. The need to consider and amend the Act establishing the Administrative Court. And the method of judicial domination in 1999 on the appointment of a lawyer, volunteer or lawyer to work to help draft and prosecute the case.

In the case of the judicial system. The length of the lawsuit is a disqualification and restricts the right of the people to access the judicial process. The length of the lawsuit is too short to be unfair. The appeal period of the judgment or the order of the Supreme Administrative Court to the Supreme Administrative Court within 30 days from the date of the hearing of the judgment or order can not be extended by the extension of the appeal period or the order of the Supreme Administrative Court to the Supreme Administrative Court. The lawsuit is very unfair and the court has not ordered to file a lawsuit before the trial, so people are not protected as it should be unfair. The result is contrary to the concept of justice. Good Governance Principles, Moral Principles, Responsibilities and Principles of Value. It is contrary to the intent of the Act establishing the Administrative Court. And the judicial process, 2542(1999), must consider and amend the Act establishing the Administrative Court. And the judicial process in 1999 on the length of the lawsuit. Permission to extend the appeal period, sentence or order. The court ruled in favor of the case before the court ruling was not filed.