ศึกษาและวิเคราะห์การบังคับใช้กฎหมายเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษาอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ของต่างประเทศและประเทศไทย ศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบันและบรรลุวัตถุประสงค์การนำเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์มาใช้ในสังคมไทย
จากการศึกษากฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศเครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐอินเดีย อังกฤษ พบว่าทุกประเทศให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธ์ในการบำบัดรักษามนุษย์ที่ไม่สามารถมีบุตรได้ หรือมีบุตรได้ยากกว่าปกติตามธรรมชาติของระบบสืบพันธ์ แต่ประเทศไทยนั้น พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็กที่เกิดจากเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ. 2558 เป็นกฏหมายที่จำกัดสิทธิในการเข้ารับบริการบำบัดรักษาเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ไว้เฉพาะแต่คู่สมรสหรือสามีภริยาโดยชอบด้วยกฏหมายเท่านั้น สิทธิของชายหญิงที่อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยานั้นกฏหมายฉบับนี้ไม่รับรองการเข้ารับบริการ ในขณะเดียวกันกฏหมายของต่างประเทศที่กล่าวมาข้างต้นนั้นส่วนใหญ่จะยังคงให้สิทธิอย่างเท่าเทียมในคู่รักทุกประเภท แต่ประเทศส่วนใหญ่จะมีมาตรการรองรับหรือมีการพิจารณาถึงความเหมาะสม ในขณะเดียวกันบางประเทศก็ไม่ได้บัญญัติถึงมาตรการแต่ก็ได้ความสำคัญกับคู่รักที่ประสบปัญหาภาวะการมีบุตรยากในทุกคู่
จากการศึกษาคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะ กล่าวคือ ควรมีการแก้ไขบทบัญญัติหลักเกณฑ์การให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ อย่างน้อยควรให้สิทธิคู่รักประเภทชายหญิงที่
อยู่กินกันฉันท์สามีภรรยา มีสิทธิที่จะเข้ารับการบำบัดรักษาโดยใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์โดยวิธีผสมเทียม ซึ่งปัจจุบัน การผสมเทียมต้องกระทำต่อหญิงที่มีสามีที่ชอบด้วยกฎหมาย และเป็นไปตามมาตรฐานการให้บริการเกี่ยวกับการผสมเทียมที่แพทยสภาประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ และควรเพิ่มมาตรการตรวจสอบความเหมาะสมในการเข้าใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อไม่ให้มีการใช้เทคโนโลยีในการที่ผิด โดยควรเพิ่มอำนาจของคณะกรรมการในการตรวจสอบความเหมาะสมในการเข้าใช้เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ เพื่อให้เป็นไปตามความเหมาะสมในการใช้เทคโนโลยีชนิดนี้ให้ไปเป็นไปโดยความเป็นธรรมและจำเป็นตามภาวะการมีบุตรยาก เป็นต้น
Abstract
This Research aims for the study of the Assisted Reproductive Technologies in Thailand and other countries. Contains the legal problems and improvements of the application of the Child Born via Assisted Reproductive Technologies Protection Act B.E.2558.
According to the study, the legislative of the Federal Republic of Germany, Republic of France, Australia, Republic of India and the United Kingdom pay attention to the use of Assisted Reproductive Technologies for helping the difficulty having a baby person. In Thailand the Child Born via Assisted Reproductive Technologies Protection Act B.E.2558 is one of the law that limit the rights to health services which allows only the licensed marriage couples and unlicensed others are not. However, the laws of many countries support the unlicensed couples to have this kind of rights that represents the equality of the rights to health service amongst all kind couples, in contrary, some countries do not support such thing.
Finally, we suggest that the existing Assisted Reproductive Technologies in Thailand legislations must be edit to let the unlicensed couples could have the chance to access the rights to health service via means of Biotechnology. Moreover, the Medical Council Committee Allowance of the procedures must be presented for preventing wrong applications and promote the equality of such rights eventually
นักวิจัย : ผศ.ดร.ธานี วรภัทร์ และคณะ
สังกัด : คณะนิติศาสตร์ปรีดีพนมยงค์
คำสำคัญของโครงการ :
กฎหมาย เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ ,สิทธิ
ปีที่เสร็จ : 2561