แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดตาก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะเชิงลึกของเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษา 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษา โดยใช้ทฤษฎีระบบนิเวศวิทยาเป็นกรอบแนวคิดของงานวิจัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาจำนวน 38 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยพบว่า

  1. คุณลักษณะเชิงลึกพบว่า เด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาส่วนใหญ่อยู่ร่วมกับบิดามารดาแต่ไม่มีความผูกพันภายในครอบครัว ขาดการสื่อสารในครอบครัว ระดับการศึกษาของสมาชิกภายในครอบครัว วิถีชีวิต ความเชื่อ และวัฒนธรรมของคนในชุมชนมีอิทธิพลกับการตัดสินใจออกนอกระบบการศึกษา และส่งผลต่อการประกอบอาชีพภายหลังออกนอกระบบการศึกษา ปัจจุบันเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษาทุกคนมีครอบครัวและทำงาน ด้านอนาคตทางการศึกษาเด็กและเยาวชนส่วนใหญ่จะไม่กลับไปศึกษาต่ออีก
  2. ปัจจัยที่ส่งผลให้เด็กและเยาวชนออกนอกระบบการศึกษาแบ่งเป็น 2 ปัจจัยคือ 1) ปัจจัยจากกลุ่มเป้าหมาย เช่น ทัศนคติที่มีต่อการเรียน การปรับตัว การแต่งงาน และ 2) ปัจจัยจากครอบครัว ชุมชน และสิ่งแวดล้อม เช่น ทัศนคติของครอบครัวที่มีต่อการศึกษา ปัญหาด้านเศรษฐกิจของครอบครัว ความลำบากในการเดินทางไปโรงเรียน

แนวทางการจัดการศึกษาสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบการศึกษามีแนวทางที่สำคัญ    คือ 1) การจัดการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นตามบริบทของผู้เรียน 2) การจัดการศึกษาที่เน้นความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน 3) การจัดการศึกษาเพื่อการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ  4) การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการศึกษา 5) การจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน

Abstract

This research aims to 1) study the in-depth characteristics of out of school children (OOSC) 2) to analyze the factors that influence their dropouts and 3) to propose educational provision guidelines for out-of-school children. The Bronfenbrenner's ecological theory of human development was applied as a conceptual framework for this research. Purposive sampling technique was employed and the snowball technique was used to select the subjects. Data were collected by in-depth interviews of 38 secondary school dropouts, their family representatives, and community representatives, and professional at Tak Province. The results were as follows.

   1. The in-depth characteristics of the subjects were that most of them lived with their parents. However, lacks of communication were common among their families. In addition, the level of family members' education, their way of life, the beliefs and culture of the people in the community also influenced their choices of whether to remain in the schooling system or to drop out school. At the time of study, all of the subjects were married, had a family and work and affect to the career after their out of the education system. As for their education in the future, most of them would not return to school. However, if they wanted to continue their study, they would resort to both the Office of Non-Formal and Informal Education.

  1.  As for the factors affecting their dropout decisions, it was found that there were divided into two factors: (1) their personal factors, for example, their attitudes toward education, adjustability, marriage, etc., and (2) their family, community, and environmental factors, for example, their parental attitudes towards the target group, family economic condition, and difficulties in traveling to school.
  2. The proposed educational provision guidelines for out of school children are the following: 3.1) educational management should be flexible based on the context of the learners; 3.2) educational management should emphasize individual differences among learners; 3.3) educational provision should aim for the development of life skills and careers; 3.4) participation of all sectors in educational management is required; and 3.5) alternative education should be provided to promote lifelong learning.