การศึกษาสาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
บทคัดย่อ
รายงานการวิจัยเรื่องการศึกษาสาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลัง ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สำหรับงบการเงินปี พ.ศ. 2557-2558 เป็นการวิจัยประยุกต์เชิงคุณภาพ และเชิงปริมาณ มุ่งศึกษาเพื่อ 1) ให้ทราบสาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนฯ 2) เปรียบเทียบขนาดและผลประกอบของการบริษัทที่ปรับงบการเงินจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และความผิดพลาด 3) วิเคราะห์ลักษณะข้อมูลที่มีการปรับงบการเงินย้อนหลังที่เกิดจากความผิดพลาดของบริษัทจดทะเบียนฯ และ 4) เสนอแนะแนวทางการตรวจสอบสาเหตุที่แท้จริงในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนฯ 3 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ กลุ่มทรัพยากร กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มธุรกิจการเงิน รวมบริษัทประชากร 139 บริษัท และพบว่าบริษัทกลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 45 บริษัท งานวิจัยนี้ผู้วิจัยใช้บัตรตรวจสอบรายการเพื่อตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและลักษณะข้อมูลในการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัท และใช้ตัวแแบบจำลองงานวิจัยเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร โดยใช้ Regression Model ตลอดจนการสัมภาษณ์ผู้สอบบัญชี ที่มีประสบการณ์ในการตรวจสอบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ผลการวิจัยสาเหตุการปรับงบการเงินย้อนหลังของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 3 กลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า สาเหตุการปรับมากที่สุด ทั้ง 2 ปี คือสาเหตุจากการปรับใช้มาตรฐานใหม่ รองลงมาเกิดจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และเมื่อศึกษาขนาดและผลประกอบของการบริษัทที่ปรับงบการเงินย้อนหลังซึ่งเกิดจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และความผิดพลาด พบว่าบริษัทขนาดใหญ่ที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน มีสัดส่วนการปรับย้อนหลังมากกว่าบริษัทที่มีกำไร จากการวิเคราะห์ลักษณะข้อมูลที่มีการปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุความผิดพลาดพบว่าส่วนใหญ่ความผิดพลาดลักษณะข้อมูลเกิดจากบริษัทย่อย สำหรับผลการตรวจสอบหาสาเหตุที่แท้จริง เพื่อเสนอแนะแนวทางการตรวจสอบพบว่า ผลกำไรจากการดำเนินงานส่งผลต่อการ
เติบโตของกิจการ และกิจการที่มีการเติบโตสูงจะมีการปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุความผิดพลาดลดลง อาจกล่าวได้ว่า กิจการที่มีผลการดำเนินงานขาดทุน อาจเป็นสาเหตุที่แท้จริงให้มีการปรับงบการเงินย้อนหลังสาเหตุจากความผิดพลาดดังกล่าว ซึ่งสอดคล้องกับผลการศึกษาขนาดและผลประกอบการที่ว่า กิจการขนาดใหญ่และมีผลขาดทุนจากการดำเนินงานจะปรับงบการเงินย้อนหลังมากกว่ากิจการที่มีขนาดเล็กและมีผลกำไรจากการดำเนินงาน
จากการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยพบว่า “สาเหตุการปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุการปรับใช้มาตรฐานบัญชีของบริษัทขนาดเล็กมากกว่าขนาดใหญ่” และ “สาเหตุการปรับงบการเงินย้อนหลังที่เกิดจากความผิดพลาดของบริษัทขนาดเล็กมีมากกว่าบริษัทขนาดใหญ่” นอกจากนี้ยังพบว่า “ บริษัทกลุ่มตัวอย่างที่มีผลประกอบการขาดทุนมีการปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนโยบายบัญชี และความผิดพลาด มากกว่าบริษัทที่มีผลประกอบการที่มีกำไร” ตลอดจนพบว่า “ลักษณะข้อมูลของบริษัทที่ปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุความผิดพลาดมีลักษณะข้อมูลมีลักษณะแตกต่างกันแต่ส่วนใหญ่เกิดจากบริษัทย่อย
จากผลการศึกษา สาเหตุและลักษณะของข้อมูลการปรับงบการเงินย้อนหลังพบว่า สาเหตุจากความผิดพลาด 4 บริษัท และจากข้อค้นพบในบริษัทขนาดเล็กเท่านั้นที่ แสดงให้เห็นว่าบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีระบบการกำกับดูแลที่ส่งผลให้งบการเงินให้มีคุณภาพสูง อย่างไรก็ตาม สาเหตุความผิดพลาดที่ค้นพบส่วนใหญ่มาจากบริษัทย่อย ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะต่อฝ่ายต่างๆที่เกี่ยวข้องได้แก่ ผู้สอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน หน่วยงานภาครัฐ- กรมสรรพากร และคณะกรรมการตรวจสอบ ควรจะให้ความสำคัญกับการสอดส่องดูแลองค์กรที่ลงทุนในบริษัทย่อยมากขึ้น งานวิจัยในอนาคตควรจะมีการตรวจสอบว่านักลงทุนตอบสนองต่อการปรับงบการเงินย้อนหลังจากสาเหตุ ทั้ง 3 แตกต่างกันหรือไม่ อย่างไร
Abstract
This research which is both quantitative and qualitative studies the reasons and data attributes of Thai companies listed in the Stock Exchange of Thailand during the period of 2014-2015. The purpose of this study is to examine why companies restated their financial statements and the data profile of such companies. A comparison is made between companies that restate due to policy change and error correction in terms of size and profitability. In addition, it analyzes the underlying cause of companies that restate due to error corrections. Further, it provides recommendation to examine the real cause of the error in financial statements in three industries: Resources, Technology, and Finance. Altogether there are 45 companies in these three industries during the period of 2014-2015 constituting a sample population of 139 firm years. Research methodology includes analyses of financial statements and a regression model determining correlation of pertinent variables, and conducting an interview with a certified public accountant having experience in auditing Thai listed companies.
Research findings attribute the primary reason during the past two years for the restatement of the sample companies to change in accounting standards, followed by the change in accounting policy as the second most frequently found reason. Upon analyzing the association between size and profitability on firms that restate due to change in accounting policy and error correction, more large firms with operating loss than profitable large firms restate their financial statements. Error correction was relatively pervasive in companies with large operating losses. Such information was most prevalent in the financial information of the subsidiaries. The operating profit gives rise to higher growth. A firm with high growth will lessen restatement due to error. Hence, firms with operating loss tend to give rise to restatement owing to error correction. This finding is consistent with previous studies that suggest an inverse correlation between size and profitability. Larger firms with operating loss tend to have more error corrections than smaller firms with operating profit.
The result of this study indicates that smaller firms were found more frequently than larger firms in restatement due to change in accounting standard. In addition, more small firms than large firms were found to restate because of error correction. Furthermore, firms with operating loss were found to have more financial restatement due to change in accounting policy and error correction than firms with operating profit. Also, attributes of data in financial restatement because of correction of error vary with the majority from the subsidiaries.
This research on the reasons and data attributes finds that four companies restated because of error correction and these are small companies. The result indicates that the listed companies in the Thai Stock Exchange have high quality of financial statements. However, the companies with restatement due to error corrections are mostly from the subsidiaries. The researcher would like to suggest to the related parties involved which include auditors, internal auditors, government agencies, audit committee to monitor the subsidiaries more closely. Future research will study whether the investors react to the three different causes of restatements differently,
นักวิจัย : ดร.สุฏิกา รักประสูติ
สังกัด : วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี
คำสำคัญของโครงการ :
การปรับงบการเงินย้อนหลัง
ปีที่เสร็จ : 2559