แนวทางในการพัฒนาศักยภาพการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้าย: กรณีศึกษาชุมชนทอผ้าฝ้ายไทลื้อบ้านเฮี้ย อ.ปัว จังหวัดน่าน

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อค้นหาแนวทางพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้ายทอมือของชุมชนทอผ้าฝ้ายบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน ซึ่งการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาลักษณะเด่นของลายผ้าฝ้ายทอมือที่ชุมชนมีอยู่โดยการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลจากชุมชนแม่เหี้ย ขั้นตอนที่ 2 การศึกษาปัญหาและความต้องการในการขยายกลุ่มลูกค้า โดยการสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชนและตัวแทนจำหน่าย จำนวน 100 คน และขั้นตอนที่ 3 การนำหลักการออกแบบเครื่องแต่งกายไปใช้วิเคราะห์ปัญหาจากลักษณะตัวอย่างเครื่องแต่งกายที่ชุมชนมีอยู่ ด้วยการศึกษาผ้าฝ้าย, การสัมภาษณ์ตัวแทนชุมชน และการวิเคราะห์ตัวอย่างเครื่องแต่งกายจากผ้าฝ้าย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการสังเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

          จากการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการวิจัยได้ว่า ลักษณะของผ้าทอมือที่ชุมชนมีอยู่คือ ผ้าทอลายน้ำไหล และผ้าทอลายขิด รูปแบบเครื่องแต่งกายที่ชุมชนมีอยู่ไม่ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายใหม่ ชุมชนไม่มีความรู้ในการใช้หลักและกระบวนการในการออกแบบเครื่องแต่งกาย  และจากการวิเคราะห์ทำให้ได้แนวทางพัฒนาการออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีจากผ้าฝ้ายที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย โดยใช้หลักในการออกแบบเครื่องแต่งกาย

Abstract

The main objective of this Mixed-Methods research is to find out proficiency development in fashion design made of hand-made woven cotton : A case study of Thai-lue hand-woven fabric cotton at Baan Hia, Pua district, Nan province, Thailand which has successfully been done and divided into three steps; the first step, a study of outstanding cotton’s features in the existing patterns by studying community’s cotton at ‘Baan Hia’, the second step, an investigation of problems and needs for expanding to new targets and customer groups by interviewing 100 stakeholders consisted of community representatives and cotton distributors and the third step, an implementation of fashion design principle to analyze those problems from the existing cotton clothing of Baan Hia with the study of woven cotton, interview of community representatives and analysis the clothing samples of woven-fabric cotton in the community ‘Baan Hia’. Frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis are statistically employed for data analysis.

The research findings revealed that information.

                After analysis and synthesis all data and information, it can lead into the findings and can be concluded that the existing cotton’s features and patterns are ‘Num Lai textile woven pattern and Khit textile woven pattern’. The present attires and community’s clothing styles are not meet the needs of new target groups. The community has no knowledge of principles and process of costume design. And from those analyses made its design possible and the proficiency development of women's suitable cotton design through the principles of clothing and fashion design are found respectively.