การออกแบบข้อมูลเชิงภาพสำหรับสื่อการเรียนรู้ เรื่อง ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ สำหรับ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การออกแบบข้อมูลเชิงภาพสำหรับสื่อการเรียนรู้เรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ สำหรับศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้เรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ อำเภอดอนพุด จังหวัดสระบุรี 2) ศึกษาองค์ประกอบที่เหมาะสมในการออกแบบ 3) การออกแบบข้อมูลเชิงภาพสำหรับการออกแบบสื่อการเรียนรู้เรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ และที่สำคัญคือการพัฒนาการออกแบบข้อมูลภาพสำหรับสื่อการเรียนรู้เรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ เพื่อเผยแพร่แนวทางให้กับกลุ่มเป้าสามารถรับรู้และเข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนากลุ่มชุมชนผู้ปลูกข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์จ.สระบุรี

      ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ความรู้สำคัญที่แสดงบนข้อมูลเชิงภาพ เรื่องการปลูกข้าวเจ๊กเชย เสาไห้มากที่สุด ได้แก่ ขั้นตอนการปลูกข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ รองลงมาเป็นความสำคัญของข้าวที่ได้เครื่องหมาย GI  และประวัติความเป็นมาของข้าว ตามลำดับ  2) แรงบันดาลใจในการออกแบบข้อมูลเชิงภาพ เรื่องการปลูกข้าวเจ๊กเชยเสาไห้มากที่สุด ได้แก่ อุปกรณ์ การทำนา รองลงมาพืชพรรณธรรมชาติในพื้นที่และประเพณีวัฒนธรรมสำคัญในท้องถิ่น ตามลำดับ 3) ลักษณะอารมณ์และบุคลิกภาพการสื่อสารของข้อมูลเชิงภาพ เรื่องการปลูกข้าวเจ๊กเชยเสาไห้มากที่สุด ได้แก่ ดูสะอาด สดชื่น รองลงมาเป็นเรียบและดึงดูด ดูลูกทุ่ง/ดูเป็นท้องถิ่น และมีวัฒนธรรมและธรรมชาติ ตามลำดับ 4) ต้นแบบของข้อมูลเชิงภาพที่ผลิตจริงเป็นสื่อการเรียนรู้เรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชนได้มีการทำผลการประเมินก่อนและหลังรับรู้ข้อมูลเรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรี โดยสอบถามกับกลุ่มผู้นักเรียนนักศึกษา พบว่า สื่อการเรียนรู้นี้สามารถสร้างการรับรู้ข้อมูลได้ง่ายขึ้น คือ สามารถรับรู้ข้อมูลมากที่สุดในเรื่องข้าวเจ๊กเชยเสาไห้เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ และมีคุณลักษณะเฉพาะถิ่น ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์และเมื่อต้นข้าวโตเต็มที่จะสูงประมาณ 2 เมตร รองลงมา คือการปลูกข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ มีหลายวิธีด้วยการ หว่านน้ำตม หว่านแห้ง(สำรวย) รวมถึงทำนาดำ และสมัยก่อนชาวนาปลูกข้าวมาแลกสินค้าจำพวก กะปิ น้ำปลา หัวหอม กับพ่อค้าคนจีน ตามลำดับ

 ผลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการออกแบบ พบว่า การออกแบบข้อมูลเชิงภาพ ที่สามารถสื่อสารและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ดีนั้นควรมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจ มีความเป็นท้องถิ่น เรียบง่าย เป็นภาพประกอบแบบการ์ตูนที่แสดงถึงการดำรงชีวิตของชาวนาที่เหมือนจริง และสื่อสารข้อมูลออกมาได้อย่างเป็นขั้นตอน เริ่มจากขั้นตอนการปลูกข้าว ประโยชน์ของข้าว ประวัติข้าว ที่ดูมีความเป็นธรรมชาติและควรออกแบบข้อมูลเชิงภาพให้เหมาะสำหรับการผลิตจริงได้ในสื่อนิทรรศการเพื่อพัฒนาต่อยอดงานออกแบบร่วมกับพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน เพื่อเผยแพร่ให้กับบุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชมรับรู้และเข้าใจเนื้อหาของข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ จังหวัดสระบุรีได้ต่อไป

Abstract

The research on Designing Image as Learning Media of Khao Jek Chuey Sao Hai for the Community Learning Center. The purpose of this research is to learn about Khao Jek Chuey Sao Hai in Don Put, Saraburi. The research will focus on relevant composition in designing image as learning media of Khao Jek Chuey Sao Hai and most importantly is to develop the designing of image as learning media. This is to disseminate the concept to the target audience to have better understanding. This is part of developing the community of Khao Jek Chuey Sao Hai,   a local rice found in Saraburi province which should be retain.

                The research found that the most important knowledge as image presented on Khao Jek Chuey Sao Hai is the step in planting Khao Jek Chuey Sao Hai followed by rice that has received the GI mark and then the history of the rice sequentially. The inspiration that most effected in designing the image of Khao Jek Chuey Sao Hai is the equipment used in planting followed by local crops that are grown in the community and tradition and culture within the community sequentially. The personality and passion in designing the image of Khao Jek Chuey Sao Hai are clean and fresh, simple but attractive and local natural look sequentially. The prototype of designing image as learning media of Khao Jek Chuey Sao Hai for the community learning center has been evaluated both before and after receiving the information of Khao Jek Chuey Sao Hai of Saraburi province by questioned the learners which found that learners can better recognize and receive information through image. The most recognizable information from the image are the quality and local trait of rice full grown to be 2 meters high when ripe of Khao Jek Chuey Sao Hai, the methods of planting Khao Jek Chuey Sao Hai such as sow in mire, sow on dry land including transplant. Back in the old days, farmers grow rice to trade with other produce such as fish paste, fish sauce and shallot from the Chinese traders.

                An interview with the expert in designing found that designing image that can well communicate to the target audience must have an interesting identity, simply contains the local traits, cartoon image that communicate the living style of a farmer and communicate the information in stages starting from planting the rice, benefits of rice and history of rice naturally. The design of the image should be realistic in terms of producing whether for exhibition or for continuous development with the community and disseminate for visitors to recognize and understand the content of Khao Jek Chuey Sao Hai of Saraburi province thereafter