การศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอบวัดระดับภาษาจีนของนักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่องการศึกษาผลสัมฤทธิ์การสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนของนักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมุ่งศึกษาให้ทราบผลสัมฤทธิ์การสอบวัดระดับภาษาจีนที่เกิดจากรูปแบบการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ ชั้นปีที่ 1- 4 ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/ 2558  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1.แบบสอบถามรูปแบบการเรียนของกราชาและไรส์แมน( Grasha and Riechmann) 2. แบบทดสอบวัดระดับภาษาจีนระดับ 4 (HSK4) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(SD)  ค่าที(t-test)  และค่าความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) 

                ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เมื่อจำแนกตามชั้นปี พบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 -4 มีรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ โดยมีระดับการปฏิบัติเฉลี่ยในระดับมาก มีค่าระหว่าง 3.78-4.03 เมื่อจำแนกตามเพศ เพศชายมีระดับการปฏิบัติเฉลี่ยในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยที่ 3.258 ขณะที่เพศหญิงมีระดับการปฏิบัติเฉลี่ยในระดับปานกลาง ค่าเฉลี่ยที่ 3.243

                2.  นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่เรียนต่างชั้นปี มีผลสัมฤทธิ์การสอบแตกต่างกัน

                3. นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่มีเพศต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์การสอบที่ไม่ต่างกันทางสถิติ

                4. นักศึกษาสาขาภาษาจีนธุรกิจ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน มีคะแนนสอบวัดระดับความรู้ภาษาจีนต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่สถิติระดับ 0.05 

Abstract

This research aims to study the achievement score’s Chinese Proficiency of Chinese Business Program students at Dhurakij Pundit University. The students were grouped based on gender and class levels. The sample consisted of students who were studying Chinese Language during the 2015 academic year at the Faculty of Arts, Dhurakij Pundit University.The research instrument used 1. Questionnaires that emphasize on the learning style developed by Grasha and Riechman. 2. Chinese Proficiency Test Level 4 (HSK ) The statistical techniques for data analysis are percentage, mean, standard deviations, t-test and One-Way ANOVA.

                The findings are as follows:

                1. Chinese Business Program students were grouped based on class levels, the majority of respondents chose Collaboration style the levels ranged from 3.78 to 4.03. When grouped by gender, learning style of male students chose Collaboration style ( ),learning style of female students chose Collaboration style ( )

                2. Chinese Business Program students learning styles who had been grouped by class levels were not significantly different.

                3. Chinese Business Program students learning styles who had been grouped by gender were not significantly different.

                4. Chinese Proficiency Test scores of students who had been grouped by Learning stlye were different at statistical significant of 0.05.