เกษตรอินทรีย์ภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทรา

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ 1. ศึกษาสภาพพื้นที่ในการทำการเกษตร 2. การใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านในการผลิตเกษตรอินทรีย์ 3. การถ่ายทอดความรู้เกษตรอินทรีย์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ได้ออกแบบการวิจัยออกเป็น 2 แบบ คือ 1. การวิจัยเชิงปริมาณโดยเจาะจงพื้นที่ในอำเภอสนามชัยเขต อำเภอแปลงยาว และอำเภอบ้านโพธิ์ เจาะจงเกษตรกรที่ทำการเกษตรตามแนวเกษตรวิถีที่เน้นความปลอดภัยเป็นหลัก จำนวน 104 คน           2.การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีเจาะจงปราชญ์ชาวบ้านและผู้ที่ได้รับการถ่ายทอดภูมิปัญญาจากปราชญ์ชาวบ้าน          ทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นจำนวน 6 คน ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่เกษตรกรรมในจังหวัดฉะเชิงเทราแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. เป็นที่ราบลูกฟุกเหมาะแก่การทำไร่และการปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์  2. เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำบางปะกง ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นพื้นที่ติดกับระบบชลประทาน มีการประกอบเกษตรกรรม ทีไม่ได้เป็นไปตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบสากลแต่เป็นการเกษตรที่มีความปลอดภัยและมุ่งเน้นการดูแลสุขภาพและสิ่งแวดล้อมตามเกษตรวิถีแบบดั้งเดิม ทั้งนี้ พบว่า จังหวัดฉะเชิงเทรามีโรงงานอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่การใช้น้ำและสิ่งแวดล้อมร่วมกับภาคเกษตรกรรมจึงไม่สามารถที่จะพิจารณาได้ในเกษตรมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และรัฐบาลทุกสมัยส่งเสริมให้เกษตรกรทำเกษตรเชิงเดี่ยวโดยอาศัยปัจจัยทางด้านปุ๋ยเคมี สารเคมีที่ปรับปรุงบำรุงดินมากกว่าที่จะสนับสนุนการทำเกษตรตามวิถีชีวิตแบบดั้งเดิมอันเป็นภูมิปัญญา 

ของบรรพบุรุษ  ส่วนปราชญ์ชาวบ้านมีความพยายามในการถ่ายทอดภูมิปัญญาเบื้องต้นในการปรับปรุงบำรุงดินตามเกษตรวิถี

Abstract

This study was conducted in an attempt to investigate 1) the conditions of agricultural areas, 2) the use of an indigenous knowledge for the production of organic agriculture, and 3) the transmission of an indigenous knowledge about organic agriculture. The study involved a quantitative approach with the focus on areas in Sanam Chai Ket District, Plaeng Yao District, and Ban Pho District, as well as on 104 farmers specifically adopted safety-based agricultural practice. They study also involved a qualitative approach with the purposive sampling of 6 people from local wisdom members and those who were given the transmission of local wisdom nationally and locally. The study revealed that the agricultural terrain in Chachoengsao is divided into two areas. The first one is rolling plains which are suitable for crop farming and grazing. The second one is plains with the Bangpakong River flowing, located in the western part of Chachoensao, sited next to an irrigation system, and involving the agriculture which does not conform to universal measures in organic agriculture but is safe and concerned about the healthiness and the environment, based on traditional agriculture. It was found that Chachoengsao has industrial plants which share water and the environment with the agricultural sector. Thus, the universal measures in organic agriculture cannot be taken into account. In addition, Thai governments have been encouraging farmers to do monoculture farming and rely on such factors as chemical

fertilizers and chemical substances which help improve soil condition rather than traditional farming derived from ancestors’ local wisdom. As for local wisdom members, they have been trying to disseminate their knowledge. Unfortunately, the practice is restricted to basic guidance on natural soil improvement.