การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง การศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ มีวัตถุประสงค์  3  ประการ คือ  1) เพื่อศึกษาการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยระดับปริญญาตรีในกรุงเทพฯและปริมณฑล  2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษา  3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศกับผลการเรียนภาษาของนักศึกษา ตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ คือนักศึกษาชั้นปีที่ 4  ระดับปริญญาตรีสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษาญี่ปุ่น ปีการการศึกษา 2558 ของมหาวิทยาลัยในกรุงเทพและปริมณฑลจำนวน 455 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ที่ดัดแปลงจาก Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning version 7.0 มีค่าความเชื่อมั่น .9425 และแบบสัมภาษณ์การใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One –way ANOVA) และ การทดสอบไคสแควร์ (Chi-square Test)

                ผลการศึกษา พบว่า

1. การใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษา 3  สาขาวิชา คือ สาขาภาษาอังกฤษภาษาจีน และภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. นักศึกษาที่เรียนภาษาต่างประเทศที่แตกต่างกันมีการใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาที่ไม่แตกต่างกัน

3. การใช้กลยุทธ์การเรียนภาษาต่างประเทศของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับผลการเรียนทางภาษาของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงจะใช้กลยุทธ์การนำไปสู่ความสำเร็จมากที่สุด

4. กลยุทธ์การเรียนมีความสำคัญและจำเป็นต่อการเรียนภาษาต่างประเทศและจะใช้ในการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศในระดับและสถานการณ์การเรียนที่แตกต่างกัน

5. กลยุทธ์การเรียนส่งผลต่อความสำเร็จในการเรียนภาษาต่างประเทศ เมื่อเรียงลำดับจากความสำคัญมากไปหาน้อยเป็นดังนี้ คือ กลยุทธ์การจำ กลยุทธ์การนำไปสู่ความสำเร็จ กลยุทธ์การแก้ไขข้อบกพร่อง กลยุทธ์ทางสังคม กลยุทธ์ความรู้ ความเข้าใจ และกลยุทธ์ทางอารมณ์และความรู้สึก

Abstract

The objectives of the research entitled “The Study of Foreign Language Learning Strategies of Under-graduate Students in Bangkok and Surroundings” were as follows: 1. to study the use of foreign language learning strategies of under-graduate students in Bangkok and surroundings, 2 to compare the differences in using the foreign language learning strategies of under-graduate students, and 3. to study the relationship between the use of foreign language learning strategies and learning outcome of students.  The sample used in the study was 455 fourth year students studying in English, Chinese, and Japanese majors in under-graduate level of universities in Bangkok and surroundings.  The research instruments consisted of rating scale questionnaires adapted from Oxford’s Strategy Inventory for Language Learning Version 7.0 with reliability at .9425 and interview form of foreign language learning strategies.  The data were analyzed by mean, standard deviation, One-way ANOVA and Chi-square Test.

The results of the study found that:

1. The use of foreign language learning strategies of under-graduate students in English, Chinese, and Japanese majors was at the moderate level in overall.

2. The students in different majors used language learning strategies indifferently.

3. The use of foreign language learning strategies had a significant relation with language learning outcomes of students with a significantly statistical figure at 0.05. The students having high language learning outcomes used metacognitive strategies the most.

4. The language learning strategies were significant and necessary to foreign language learning, and they were used in different language learning levels and situations.

5. The most valid strategy to language learning success was Memory Strategies, followed by Metacognitive Strategies, Compensation Strategies, Social Strategies, Cognitive Strategies, and Affective Strategies respectively.