คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
.png)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 3) ศึกษาลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดการทำงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 5) ศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ปฏิบัติงานในปี 2557 สถานภาพการทำงานในตำแหน่ง คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ผู้อำนวยการหลักสูตรหัวหน้าหมวด หัวหน้ากลุ่ม หัวหน้าหน่วย และอาจารย์ประจำ จำนวน 205 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที ( t – test ) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ( One -Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1.บุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 3.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน.66
2.บุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีคุณภาพชีวิต การทำงานโดยรวมไม่แตกด่างกัน
3.บุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในลำดับที่ 2
4.บุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันจัดลำดับความสำคัญของตัวชี้วัดคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน
5.บุคลากรในมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรมมากที่สุด
Abstract
The objectives of this research were 1) to study quality of working life of personnel at Dhurakij Pundit University (DPU); 2) to compare quality of working life of personnel at DPU; 3) to study the order of indicators of working life of personnel at DPU; 4) to compare the order of indicators of working life of personnel at DPU; and 5) to study commentation and suggestion of working life of personnel at DPU.
The samples were 205 personnel at DPU and worked in Academic year 2014.They status were Dean, Vice Dean, Assistant Dean, Director, Program Head, Section Head, Unit Head and Instructor. The instrument was questionnaire. Statistics were frequency, percentage, average, standard deviation ,where as the statistics test were t-test and One-Way ANOVA.
The results showed that :
1. the overall quality of working life of personnel at DPU was good level with the average of 3.60 and standard deviation 0.66.
2. the comparison of the overall quality of working life based on different personnel
characteristics at DPU had no significant difference.
3. the overall order of indicators of quality of working life at DPU was important at level 2.
4. the order of indicators of quality of working life based on different personnel characteristics at DPU were not different.
5. the most frequent comment and suggestion quality of working life of personnel at DPU was Adequate and Fair Compensation.
นักวิจัย : รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ ชาติไทย
สังกัด : วิทยาลัยครุศาสตร์
คำสำคัญของโครงการ :
คุณภาพชีวิตการทำงาน
ปีที่เสร็จ : 2557