ผลกระทบของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร
.png)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 2 ประการ คือ 1. เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 2. เพื่อทดสอบโมเดลอิทธิพลระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการระหว่างกลุ่มประชากร โดยประชากรกลุ่มเป้าหมาย คือ เจ้าของกิจการหรือตัวแทนระดับผู้จัดการในสถานประกอบการธุรกิจท่องท่องเที่ยวในกรุงเทพ ฯ จำนวน 9,134 แห่ง ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บตัวอย่างได้จำนวน 400 คน การวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้างด้วยโปรแกรม AMOS ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า (1) โมเดลการวิเคราะห์มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 8.78, df = 10, p = 0.55, RMSEA = 0.00, GFI = 0.99, CFI = 1.00, NFI = 0.99, RMSEA = 0.00) แสดงว่าโมเดลเชิงสาเหตุของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการในสถานประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครมีความเหมาะพอดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี (2) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีอิทธิพลต่อการเพิ่มระดับความเป็นผู้ประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (3) สถานประกอบการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่เป็นคนไทยและชาวต่างชาติมีโมเดลเชิงสาเหตุและผลระหว่าง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการ ที่เหมือนกันทั้งรูปแบบและขนาดอิทธิพลทุกค่าที่ทดสอบ
Abstract
The objectives of this research were 1) to develop the transformation leadership and Entrepreneurship causal model of the firms in tourism and guide business, and 2) to study validate the developing structural equation modeling between groups with empirical data. The target population was entrepreneur or manager who worked on tourism and guide business in 9,134 firms. The questionnaire was used as a research instrument. A total of 400 completed questionnaires were returned. Structural Equation Model (SEM) by AMOS was used to analyze the data. The results of this study shows that: (1) the measurement model is valid and well fitted to empirical data (X2 = 8.78, df = 10, p = 0.55, RMSEA = 0.00, GFI = 0.99, CFI = 1.00, NFI = 0.99, RMSEA = 0.00). This model exhibits acceptable levels of fit suggested by Byrne (1998), (2) it was found that transformational leadership had positive effects on the entrepreneurship. (3) the causal model of transformation leadership indicated invariance of the model formation and all parameters.
นักวิจัย : ผศ.ดร.ศิวะนันท์ ศิวพิทักษ์
สังกัด : คณะบริหารธุรกิจ
คำสำคัญของโครงการ :
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง , ความเป็นผู้ประกอบการ , ธุรกิจท่องเที่ยว
ปีที่เสร็จ : 2557