การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาที่สอง ระหว่าง มหาวิทยาลัยในประเทศไทย กับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นในฐานะภาษาที่สองของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย และมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น และเพื่อเปรียบเทียบวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นเริ่มต้นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และผู้สอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยและมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น ดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น โดยใช้เครื่องมือ 4 ชนิด คือแบบสอบถามผู้เรียน แบบสอบถามผู้สอน แบบสำรวจและสังเกตการสอนภาษาญี่ปุ่นในชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์ผู้สอน ได้ข้อมูลกลับคืนจากแบบสอบถามผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย 100 ชุด ผู้เรียนในประเทศญี่ปุ่น 75 ชุด จากแบบสอบถามผู้สอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทย 18 ชุด ผู้สอนในประเทศญี่ปุ่น 15 ชุด จากแบบสำรวจและสังเกตการสอนภาษาญี่ปุ่นในชั้นเรียนของผู้สอนในประเทศไทย 18 ชุด ผู้สอนในประเทศญี่ปุ่น 15 ชุด และจากแบบสัมภาษณ์ผู้สอนในประเทศไทย 18 ชุด ผู้สอนในประเทศญี่ปุ่น 15 ชุด ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่าที (T-Test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. วัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยที่เป็นลักษณะเด่นคือ มีแนวคิดเกี่ยวกับการสอนโดยใช้ภาษาอื่น (ภาษาไทย)ช่วยอธิบายให้ผู้เรียนเข้าใจ เน้นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างภาษา หลักสูตรเป็นแบบเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ เนื้อหาวิชาจะเน้นให้มีสาระครบถ้วนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ใช้รูปแบบการสอนแบบบรรยาย สอนแบบซักถามและสอนแบบทบทวนเป็นหลัก ใช้วิธีการสอนแบบให้รู้และเข้าใจกฎเกณฑ์ของภาษา ใช้ภาษาอื่นช่วยสื่อสารและให้อ่านแล้วแปลความ ใช้เทคนิคการสอนแบบสอนจากเรื่องพื้นฐานไปหาเรื่องที่ซับซ้อน ทักษะทางภาษาจะเน้นทักษะการฟังก่อน ตามด้วยการพูด อ่านและเขียน ไม่ค่อยมีกิจกรรมการสอนในชั้นเรียนที่หลากหลาย ไม่ค่อยใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน มีสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอนอยู่ในระดับพอใช้ นิยมวัดและประเมินผลแบบอิงเกณฑ์ ผู้สอนส่วนใหญ่จบสาขาภาษาญี่ปุ่น แต่ไม่มีวุฒิการสอน มีพฤติกรรมการสอนในเกณฑ์ทำบ่อย พฤติกรรมก่อนเข้าสอนอยู่ในเกณฑ์ทำประจำ พฤติกรรมระหว่างสอน และหลังเลิกสอนอยู่ในเกณฑ์ทำบ่อย แต่พฤติกรรมเสริมการสอนไม่ค่อยทำ ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พฤติกรรมก่อนเข้าเรียน และพฤติกรรมหลังเลิกเรียนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง พฤติกรรมขณะเรียนในห้องเรียนอยู่ในเกณฑ์ทำบ่อย ส่วนพฤติกรรมเสริมการเรียนรู้ไม่ค่อยทำ ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับปานกลาง ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับพอใจ ปัญหาของผู้สอนอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่พบคือปัญหาไม่มีโอกาสเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการสอน และขาดผู้สอนที่มีความรู้และประสบการณ์สอนที่ตรง ส่วนปัญหาของผู้เรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัญหาที่พบมากคืออ่านตัวคันจิไม่ค่อยได้ กลัวใช้ภาษาผิดจึงไม่กล้าพูด
2. วัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น ที่เป็นลักษณะเด่น คือ มีแนวคิดเกี่ยวกับการสอนโดยเน้นสอนภาษาพูดให้ผู้เรียนสื่อสารได้ก่อน ไม่พูดภาษาอื่นในการสอนจะพูดเฉพาะภาษาญี่ปุ่น เน้นการสอนแบบธรรมชาติที่ไม่เป็นรูปแบบ หลักสูตรเป็นแบบเน้นการสื่อสาร เนื้อหาวิชาจะเน้นประโยชน์ต่อผู้เรียนให้สามารถพูดสื่อสารได้จริง ใช้รูปแบบการสอนแบบแสดงบทบาทสมมุติ แบ่งกลุ่มมอบงาน และสอนแบบศูนย์การเรียนรู้เป็นหลัก ใช้วิธีการสอนแบบใช้ภาษาญี่ปุ่นอย่างเดียว ให้ผู้เรียนฟังแล้วพูดตาม และใช้การปฏิบัติและกิริยาอาการประกอบ ใช้เทคนิคการสอนแบบสอนจากเรื่องใช้บ่อยไปหาเรื่องที่ไม่ค่อยใช้ สอนจากเรื่องที่สัมผัสได้ไปหาเรื่องที่สัมผัสไม่ได้ ทักษะทางภาษาจะเน้นทักษะการพูดก่อน ตามด้วยการฟัง อ่านและเขียน มีกิจกรรมการสอนในชั้นเรียนที่หลากหลาย มีการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและเกมคอมพิวเตอร์ในการสอน ใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบการสอนหลากหลาย มีสิ่งแวดล้อมในการเรียนการสอนอยู่ในระดับพอใช้ นิยมการวัดและประเมินผลทั้งแบบอิงกลุ่มและอิงเกณฑ์ ผู้สอนส่วนใหญ่จบสาขาการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยตรง มีพฤติกรรมการสอนในเกณฑ์ทำบ่อย พฤติกรรมก่อนเข้าสอนอยู่ในเกณฑ์ทำประจำ พฤติกรรมระหว่างสอน และหลังเลิกสอนอยู่ในเกณฑ์ทำบ่อย แต่พฤติกรรมเสริมการสอนไม่ค่อยดี ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง ทั้งพฤติกรรมก่อนเข้าเรียน หลังเลิกเรียน และพฤติกรรมเสริมการเรียนรู้ ส่วนพฤติกรรมขณะเรียนในชั้นเรียนอยู่ในเกณฑ์ทำบ่อย ผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับปานกลาง ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนในระดับพอใจ ปัญหาของผู้สอนอยู่ในระดับน้อยจนแทบไม่มีปัญหา ส่วนปัญหาของผู้เรียนอยู่ในระดับน้อยเช่นกัน
3. เปรียบเทียบวัฒนธรรมการสอนภาษาญี่ปุ่นของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยกับมหาวิทยาลัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ในเรื่อง แนวคิดเกี่ยวกับการสอนภาษาญี่ปุ่น รูปแบบการสอนภาษาญี่ปุ่น วิธีการสอนภาษาญี่ปุ่น กิจกรรมการสอน การใช้อุปกรณ์และสื่อประกอบการสอน การประเมินผล พฤติกรรมของผู้เรียน และปัญหาของผู้เรียน นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างเรื่องคุณวุฒิของผู้สอนคือ ผู้สอนในประเทศไทยส่วนใหญ่จบการศึกษาสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นแต่ไม่มีวุฒิทางการสอน ขณะที่ผู้สอนในประเทศญี่ปุ่นส่วนใหญ่จบการศึกษาสาขาการสอนภาษาญี่ปุ่นโดยตรง และพบความแตกต่างในเรื่องหลักสูตรและเนื้อหาวิชา คือ หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยเน้นโครงสร้างไวยากรณ์ ขณะที่หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเน้นการสื่อสาร เนื้อหาวิชาภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยเน้นให้มีสาระครบถ้วนนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ขณะที่เนื้อหาวิชาภาษาญี่ปุ่นในประเทศญี่ปุ่นเน้นประโยชน์ต่อผู้เรียนให้สามารถพูดสื่อสารได้จริง

 

 

Abstract

This survey was aimed at studying the culture of teaching Japanese as a second language of the universities in Thailand and the universities in Japan and to compare the culture of teaching Japanese between the universities of Thailand and those of Japan. The sample are the beginners of Japanese in the universities in Thailand and Japan and the instructors teaching Japanese in both countries. The research was conducted and the data were collected in Thailand and Japan using four kinds of instruments which were student questionnaire, instructor questionnaire, questionnaire for survey and observation of teaching and learning Japanese in classroom including interview of instructors. 100 questionairs were collected back from the students studying Japanese in Thailand, 75 from the students in Japan, 18 from Japanese instructors in Thailand, 15 from instructors in Japan , 18 from survey and observation of teaching and learning Japanese in classroom in Thailand,15 from survey and observation in Japan, 18 from interviewing instructors in Thailand and 15 from instructors in Japan. The data were analyzed by using percentage, means, standard deviation and t-test.
It was found out that the culture of teaching Japanese in Thai universities had remarkable characteristics, the instructors had an idea of teaching Japanese by using other languages (e.g. Thai) to explain to students. The teaching procedure emphasized grammar and linguistic structures. The curriculum concentrated on application of Japanese in everyday communication. The teaching model mainly comprised lecture, inquiry and revision of lessons. The teaching procedure aimed at giving knowledge and understanding grammatical rules of language is used. It included how to use other language to communicate, and to read then translate. The consequence of the lessons ranged from simplicity to complexity. Listening skill was taught first and then followed by speaking, reading and writing respectively. However, there were not diverse classroom activities and the instructors rarely used teaching and learning materials. The learning environment was at the moderate level. The popularly used method of evaluation was criterion-referenced. Most instructors majored in Japanese but had no teaching certificate. Teaching behaviour is at high level while behaviour before teaching was at regular level. Behaviour between teaching and after class were at high level but supplementary teaching behaviour was rarely done. The students’ satisfaction level was at a high level while that of the instructors was at the moderate level. The problems of the instructors found were not having an opportunity in enhancing knowledge concerning teaching Japanese and lack of qualified and experienced instructors in this subject. The problems of the students found in the survey were not being able to read Japanese Kanji letters and being afraid of making mistakes which impeded their learning.
The culture of teaching Japanese in Japan had a remarkable characteristics, the teaching procedures put much emphasis on teaching spoken language first to encourage learners to be able to communicate and using only Japanese in class. The curriculum concentrated on communication based on natural teaching which had no farm. It emphasized the learners to have communication skill. Classroom activities such as role-playing, group work and learning center were used to enhance student. Listening only Japanese and repeating were another way of teaching procedure apart from practice and body language. Teaching techniques started from topics often used to those rarely used, touchable topics to untouchable ones. Speaking skill was emphasized first, followed by listening, reading and writing. Various teaching activities were used in classroom. Including computer –assisted instruction were used to enhance students’ proficiency in Japanese. Many forms of instrument and teaching materials were used. The learning environment was at the moderate level. The Japanese instructors used both norm referenced and criterion - referenced types of evaluation . Most instructors majored in Japanese teaching. Teaching behaviour was at high level while behaviour before teaching was at regular level. Both behaviour between teaching and after class were at high level. But supplementary teaching behaviour was rarely done. The students were moderately satisfied with their learning the language. The instructors’ level of satisfaction was also at the moderate level. Both instructors and students rarely had problems concerning teaching and learning Japanese.
The comparison of the culture of teaching Japanese in the universities in Thailand and Japan indicated that there were significant differences at 0.5 level in ideas of teaching, teaching style, teaching method, using teaching materials, evaluation method, learner behavior, and problems. Moreover, there were differences in qualifications of the instructors, in Thailand, most instructors majored in Japanese but they didn’t have teaching qualifications whereas those in Japan graduated directly in teaching Japanese. The Japanese curriculum of Thai universities put much emphasis on Japanese grammar and sentence structures while that of Japan emphasized proficiency in using Japanese to communicate. The Japanese curriculum and contents in Thailand concentrated on details for daily used whereas that in Japan emphasized on communication.