การพัฒนาชนบทในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
.png)
บทคัดย่อ
ในการศึกษาการพัฒนาชนบทในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทยนั้นมีวัตถุประสงค์ เพื่อ
1. ศึกษาวิธีการพัฒนาชนบทในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
2. ศึกษาปัญหา อุปสรรคของการพัฒนาชนบทในแต่ละวิธีการในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
3. วิเคราะห์วิธีการพัฒนาชนบทที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของประชาชนชนบท ในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย
4. เพื่อค้นหาวิธีการสำหรับการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาชนบทในเขตพื้นที่ ต่าง ๆ ของประเทศไทย
สำหรับระเบียบวิธีการศึกษานั้น คณะผู้วิจัยเน้นข้อมูลจากเอกสาร วารสาร งานวิจัย และตำรา ผสมผสานกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้นำชุมชนทั้งที่เป็นทางการ ไม่เป็นทางการ และเกี่ยวข้องกับการพัฒนาในพื้นที่ของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นต้นแบบของแต่ละจังหวัด เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ เนื้อหาอย่างเป็นระบบภายใต้กรอบแนวคิดของการพัฒนาชนบทในหลาย ๆ แนวคิด
ผลจากการศึกษาพบว่า การพัฒนาในแต่ละพื้นที่ของแต่ละองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็น ต้นแบบของแต่ละจังหวัดดำเนินการภายใต้ระเบียบของราชการที่เรียกว่าแผนพัฒนาตำบล ซึ่งต้องจัดทำเป็นข้อบังคับเกี่ยวกับงบประมาณรายจ่ายประจำปี โดยมีหลักการของแผนพัฒนาที่สำคัญ ๆ เหมือนกัน ยกเว้นกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละแผนพัฒนาหมู่บ้าน ตำบล จะแตกต่างกันตามความต้องการของประชาชน ตำบล นั้น ๆ ส่วนวิธีการพัฒนาทุกองค์การบริหารส่วนตำบลใช้หลักการเดียวกัน คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนโดยยึดความต้องการของประชาชนเป็นหลักในทุกขั้นตอนของการพัฒนา ตั้งแต่การจัดทำแผนพัฒนา การปฏิบัติตามแผนพัฒนา และการตรวจสอบติดตามและประเมินผลการพัฒนา โดยเน้นการใช้สื่อความเข้าใจซึ่งกันและกันในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่ปากต่อปากชักชวน การใช้จดหมายเชิญ และหอกระจายข่าวของประชาคม จึงทำให้รูปแบบและวิธีการพัฒนา ดังกล่าวเป็นลักษณะของการพัฒนาจากระดับล่างขึ้นสู่เบื้องบนที่แท้จริง
เพื่อให้แนวทางการพัฒนาชนบทดังกล่าวมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไป คณะผู้วิจัยเห็นควรเสนอแนะให้มีการฝึกอบรมให้มีความรู้ในด้านต่าง ๆ แก่ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกระดับ อย่างกว้างขวาง เป็นระบบ โดยเฉพาะความเข้าใจต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกภายนอกชุมชน เพื่อนำกลับไปพัฒนาชุมชนให้ยั่งยืน ยิ่ง ๆ ขึ้นไป
Abstract
Rural Development Approaches in the Central Region of Thailand
There are 4 objectives in the research on the rural development in the central region of Thailand, such as,
1. To study methods of rural developments in the Central
Region of Thailand.
2. To study problems and obstructions of each method in developing
the rural area of central region Thailand.
3. To analyze proper methods that suit the development of
the environment of the rural people in the region of central Thailand.
4. To seek for the proper methods to be the procedure of
rural development in other regions of Thailand.
According to the research methodology, researchers provide information from documents, journals, research ‘s publication and text books. Moreover, data integration has been done by in-depth interview of the communities leaders; both formal and informal: who involve in developing of good governance of Tambon Administration Organizations (TAOs) of each province of central Thailand region. Then, information was systematically analysized under conceptual framework of thought of rural developing.
The result of the research reveals that the development of each good governance Tambon Administration Organization in each province operates under the regulations of the central government’s Tambon development plan. The Plan has to be managed according to the regulations of a fiscal year. Each TAO was responsible for similar principles. However, activities of each Tambon’s development plan could be operated differently depending on the desire of the community. And on the part of methods of community development, every TAO employs the principle of community participation as the same procedure and recognize every steps of the need of community to be the basis of Tambol development by the way of projecting, implementing, examining and evaluating the development plans. Each Tambon inclines to use all kinds of media to be the tools of public relations, such as by word of mouth, invitation letters and village broadcasting tower. By all these models and methods of development , it is the characteristic of procedure of entire developing from bottom up.
For more potential of the rural development in the future, the researchers think that all groups of people in community should be supported to be trained in all kinds of knowledge useful to them to understand the changing of the world outside their community, then brining them back to be the instructor to develop their community sustainability.
นักวิจัย : อาจารย์นพดล สุตันติวณิชย์กุล
สังกัด : คณะศิลปศาสตร์
คำสำคัญของโครงการ :
การพัฒนาชนบท
ปีที่เสร็จ : 2549