ผลการสอนโดยใช้เทคนิควิธีสอนแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
.png)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาด้านความคิด โดยใช้เทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ที่มีผลต่อความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1/2556 จำนวน 12 คณะวิชา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 และปีที่ 2 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์ ในภาคเรียนที่ 1/2556 จาก 2 คณะวิชา คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และคณะการบัญชี โดยผู้วิจัยพิจารณาคะแนนผลสัมฤทธิ์ของการเรียนที่ผ่านมาของนักศึกษา ลักษณะหลักสูตรที่ศึกษา และคัดเลือกเฉพาะห้องที่มีความสามารถคละกัน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) สร้างแบบวัดความคิดสร้างสรรค์ที่ใช้ในการวัดการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ก่อนและหลังการทดลองอ้างอิงตามแบบการวัดความคิดสร้างสรรค์ของ พอล อี ทอรแรนซ์ 2) สร้างแผนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบและแผนการสอนแบบปกติ
ผลการวิจัยพบว่า
1. นักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบในวิชาการคิดเชิงวิจารณญาณและสร้างสรรค์คะแนนความคิดสร้างสรรค์สูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ
2. คะแนนของความคิดริเริ่ม ความคิดคล่อง ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบไม่แตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ ความคิดยืดหยุ่นของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบแตกต่างกันกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบปกติ
3. คะแนนของความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยเทคนิคการสอนแบบหมวกความคิดหกใบของกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง
4. คะแนนของความคิดริเริ่มและความคิดคล่อง ของกลุ่มทดลองหลังการทดลองและก่อนการทดลองมีความแตกต่างกันความคิดริเริ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ความคิดคล่องหลังการทดลองน้อยกว่าก่อนการทดลอง ส่วนความคิดยืดหยุ่นไม่แตกต่างกัน
Abstract
นักวิจัย : อาจารย์วิไลลักษณ์ สายเสน่ห์
สังกัด : คณะศิลปศาสตร์
คำสำคัญของโครงการ :
ปีที่เสร็จ : 2556