แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และการมีเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่เข้าร่วมโครงการสานฝันมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และเปรียบเทียบการมีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้าร่วมโครงการสานฝันมุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ จำนวน 400 คน โดยแบ่งออกเป็น  2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00 และ กลุ่มนักศึกษาที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01  ผู้วิจัยสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling)  โดยใช้แบบสอบถามเป็นแบบ Rating Scale (Questionnaire) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการในการเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

               ผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 68  และเป็นนักศึกษาเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 32  และพบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00  ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสายสังคมและมนุษย์ คิดเป็นร้อยละ 78.50  และสายวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 21.50  นักศึกษากลุ่มที่ 2  ที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01  ส่วนใหญ่ศึกษาอยู่ในสายสังคมและมนุษย์  คิดเป็นร้อยละ 72 และสายวิทยาศาสตร์ คิดเป็นร้อยละ 28          

              ผลจากการเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนและการมีเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการ พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00  มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน  นักศึกษากลุ่มที่ 2  ที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01  มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน  และ พบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 ที่มีผลการเรียนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 1.00  มีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน และนักศึกษากลุ่มที่ 2  ที่มีผลการเรียนสูงกว่าหรือเท่ากับ 1.01            มีเป้าหมายในชีวิตก่อนและหลังจากการเข้าร่วมโครงการแตกต่างกัน 

Abstract

The research aimed to compare students’ achievement motivation and their life goals before and after the participation in the Pursuing Your Goal Program. The study was conducted with a sample group of 400 Dhurakij Pundit University students who participated in the program. The samples were divided into two groups according to the students’ GPA.  The first group of students had the GPA lower than or equal to 1.00 and the other had the GPA higher than 1.00.  Purposive sampling was used and the research instrument was a questionnaire with rating scale questions, distributed before and after the program. Data was analyzed using percentage, mean and standard deviation.

 

            The study revealed that the 68 percent of the participants were male and 32 percent were female.  Both groups of participants were mainly from the field of humanities and social sciences, 78.50 percent in the first group and 72 percent in the second group.  Only 21.50 percent of participants from the first group and 28 percent from the second group studied in the field of science.   

 

            The students’ achievement motivation and their life goals before and after the participation in the program were compared.  The findings revealed that there was a difference between the levels of achievement motivation of the students from both groups.  Similarly, there was a difference between the participants’ life goals from both groups before and after the program.