ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

บทคัดย่อ

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เมื่อเลิกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างไม่ได้กระทำความผิดใดอันเป็นข้อยกเว้นตามกฎหมาย และให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยพิเศษ ในกรณีที่ลูกจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อนายจ้างย้ายสถานประกอบการไปตั้ง ณ สถานที่อื่นโดยที่ลูกจ้างไม่ สามารถย้ายตามไปทำงานด้วยได้และกรณีที่นายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเพราะปรับปรุงกิจการโดยนำ เครื่องจักรหรือเทคโนโลยีเข้ามาใช้ และจากผลการศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายในเรื่องดังกล่าวจะเห็น ได้ว่ามีข้อบกพร่องและช่องว่างหลายประการ ทำให้นายจ้างใช้เป็นช่องทางเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่จ่าย ค่าชดเชย นอกจากนี้ในบทบัญญัติดังกล่าว ยังมีถ้อยคำคลุมเครือไม่ชัดเจนทำให้เกิดปัญหาในการตีความ ว่าการกระทำความผิดของลูกจ้างในบางกรณีมีขอบเขตแค่ไหนเพียงใดที่นายจ้างจะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดย ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย จากการศึกษาบทบัญญัติของกฎหมายแรงงานในส่วนที่เกี่ยวกับค่าชดเชยของประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ เกาหลี เวียดนาม รวมทั้งอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ แล้วพบว่ามี มาตรการให้ความคุ้มครองลูกจ้างกับนายจ้างอย่างเพียงพอและเป็นธรรมในลักษณะที่แตกต่างกันไป ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายคุ้มครองแรงงานในเรื่องค่าชดเชยให้ สามารถนำมาบังคับใช้เพื่อให้การคุ้มครองอย่างเป็นธรรม แก่ลูกจ้างและนายจ้างอย่างเพียงพอเช่นเดียวกับ กฎหมายของทั้งสี่ประเทศ และอนุสัญญาขององค์การแรงงานระหว่างประเทศด้วย โดยแก้ไขกฎหมายลด ค่าชดเชยให้เหลือในอัตราที่เหมาะสม และแก้ไขความหมายของการเลิกจ้างให้มีความครอบคลุมและ คุ้มครองลูกจ้างได้อย่างเพียงพอ อีกทั้งควรปรับถ้อยคำข้อยกเว้นตามกฎหมายที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย ให้มีขอบเขตที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ของการวินิจฉัย ตีความเมื่อเกิดข้อพิพาทในเรื่องดังกล่าว นอกจานี้ควร แก้ไขกฎหมายเพิ่มโทษสำหรับนายจ้างที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติของกฎหมายไว้สถานหนักทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อไม่ให้นายจ้างกล้าเสี่ยงกระทำความผิดอีกด้วย

Abstract