กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการจัดการธุรกิจชุมชน : ศึกษากรณีธุรกิจกะลาของตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

บทคัดย่อ

การศึกษา “กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการจัดการธุรกิจชุมชน : ศึกษากรณีธุรกิจกะลา ของตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการวิเคราะห์การบริหารจัดการธุรกิจกะลาชุมชน โดยเฉพาะการหาปัจจัยสำคัญและลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการธุรกิจกะลาชุมชน ทั้งนี้ เพื่อเสนอแนะรูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ที่เหมาะสม และเเพื่อการพัฒนาหลักสูตรการอบรมเกี่ยวกับการบริหารจัดการธุรกิจชุมชน
เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับดังกล่าวข้างต้น จึงกำหนดระเบียบวิธีการศึกษาภายใต้กรอบแนวความคิด การบริหารเชิงกลยุทธ์ ซึ่งประกอบด้วยหลักการสำคัญ ๆ 4 ประการ คือ การกำหนดทิศทางขององค์กร การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การจัดทำกลยุทธ์ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ โดยมีวิธีการเก็บข้อมูลจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ตำรา และงานวิจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเชิงกลยุทธ์และธุรกิจชุมชน ซึ่งเผยแพร่ทั่วไป ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่ม คณะกรรมการบริหารกลุ่ม และสมาชิกกลุ่มธุรกิจกะลาด้วยการใช้แบบสัมภาษณ์ที่กำหนดประเด็นในการสัมภาษณ์ ภายใต้กรอบการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้วยการสัมภาษณ์แนวลึกกับกลุ่มตัวอย่าง ทั้งที่เจาะจง คือผู้นำกลุ่มและกรรมการบริหารกลุ่ม และที่สุ่มตัวอย่าง คือ สมาชิกกลุ่ม รวมทั้งหมด 37 คน
ผลจากการศึกษาพบว่า กลยุทธ์สู่ความสำเร็จของการจัดการธุรกิจกะลาชุมชนของตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง มิได้ประสบความสำเร็จเพราะปัจจัยการบริหารเชิงกลยุทธ์ในด้านการกำหนดทิศทางขององค์กร การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ การจัดทำกลยุทธ์ และการปฏิบัติตามกลยุทธ์ เนื่องจากหลักการดังกล่าวมีความเหมาะสมกับธุรกิจ หรือองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการลงทุนสูง มีบุคลากรมาก และมีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ซึ่งตรงกันข้ามกับธุรกิจกะลาชุมชน ซึ่งเป็นเพียงธุรกิจขนาดเล็ก ปัจจัยหลักที่ทำให้สมาชิกกลุ่มต้องรวมกลุ่มทำธุรกิจกะลา คือ ต้องการสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว และเมื่อมีผู้นำทำให้ปรากฎเป็นตัวอย่างในการสร้างรายได้เพิ่มให้กับครอบครัว ความศรัทธา และมั่นใจในตัวผู้นำจึงเกิดขึ้น และกลายเป็นการทำธุรกิจกะลาชุมชนขึ้นในเวลาต่อมา เพราะฉะนั้นปัจจัยหลักที่นำไปสู่ความสำเร็จในการบริหารธุรกิจกะลาชุมชน คือความเชื่อมั่นและศรัทธาต่อผู้นำในรุ่นบุกเบิกที่เป็นผู้จัดทำกลยุทธ์เกี่ยวกับวิธีการทำงานที่มีความยืดหยุ่นในทุก ๆ ด้าน โดยเฉพาะการจ่ายผลประโยชน์จากการขายผลิตภัณฑ์ที่เป็นรูปธรรมโดยจ่ายวันต่อวันหรือทุกครั้งที่ได้รับเงินมา และจ่ายให้สมาชิกทุกคนที่ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดของตนขายได้ จึงทำให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เสริมเป็นประจำทุกวันอย่างเป็นรูปธรรมกับทุกคน จนกลายเป็นความโปร่งใสในการบริหารงานกลุ่ม สมาชิกก็มีเงินทุนหมุนเวียนสม่ำเสมอ กลุ่มก็สามารถรวบรวมผลิตภัณฑ์ส่งจำหน่ายทั้งปลีกและส่งได้ตลอดเวลา ธุรกิจกะลาชุมชนจึงประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องอาศัยหลักการบริหารเชิงกลยุทธ์
เพื่อให้ธุรกิจกะลาชุมชน ตำบลชัยบุรี อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ซึ่งนำโดย นายปลื้ม ชูคง มีการจัดการธุรกิจกะลาชุมชนประสบความสำเร็จยิ่งขึ้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนะการวางแผนในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยไม่ต้องใช้เงินทุนของกลุ่ม หรือสมาชิกกลุ่ม ด้วยการออกร้านขายผลิตภัณฑ์หรือแสดงผลิตภัณฑ์ ตามกิจกรรมการเคลื่อนไหวของหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ให้มากขึ้น หรือใช้ผู้นำกลุ่มออกไปสาธิต สอน ฝึกปฏิบัติ ตามสถาบันการศึกษา สถาบันฝึกหัดอาชีพ หรือภาคเอกชน ในลักษณะของการให้ฟรีให้มากขึ้น นอกจากนั้นควรใช้คอมพิวเตอร์ของกลุ่มที่มีอยู่ สร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นของกลุ่ม สำหรับการเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ละชนิด ตลอดจนการสั่งซื้อ และการจำหน่ายของกลุ่มให้ชัดเจน จะทำให้ธุรกิจกะลาชุมชนของกลุ่มประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น

The study of “The Strategy to Achievement of Community Enterprise. : Coconut Shell Business in Tambon Chaiburi, Ampur Muang, Pattalung Province” was aimed at analyzing the management of coconut shell business especially finding out essential factors and priorities of factors affecting the success of community coconut shell enterprise in order to propose an appropriate strategic management model and to develop the training course design concerning community enterprise.
To get the right answer for the purposes and the expected benefits mentioned above, the framework for the strategic management was developed. It consisted of four main principles : determining of the organizational direction, strategic analysis, formulating strategies and implementing strategies. The collection of data was accomplished through the study of documents, journals, publications, textbooks and researches dealing with strategic management and community enterprise - including interviews of group leaders, the governing board of the group and the group members of the coconut shell business. One community enterprise leader and 7 members of the executive board were purposively selected for the interview, while 29 members of the group were accidentally selected.
The results showed that the strategy to the achievement of the community coconut shell enterprise in Tambon Chaiburi, Ampur Muang, Pattalung Province did not succeed because of the strategic management factors in determining the organizational direction, the strategic analysis, the strategy formulation and the implementation of the strategy. The reasons were that those principles were suitable for the business or the large organization with costly investment, a large number of skillful resource persons in each aspects. On the contrary, the community coconut shell enterprise carried out by Mr. Pluem Chukong was only a small-scale business. The main factor motivating the members to collaborate in the community coconut shell enterprise was to increase the family income and the group leaders were the model of the family which brings out faith and confidence in the group leaders and then became the community coconut shell enterprise later. Moreover, the main factors leading to the achievement of the community coconut shell business were the benefits from the sales of the products which were paid day by day or whenever the money received and it was paid to every member whose products were sold. Therefore, the group member has supporting income everyday. This was the transparency of the management and the members had the rotation of income and were able to collect the products to be sold in both retail and wholesale. The community coconut shell enterprise was then successful without depending on the principles of the strategic management.
In order to make the community coconut shell enterprise in Tambon Chaiburi, Ampur Muang, Pattalung Province carried out by Mr. Pluem Chukong more successful, the researcher suggested the plan for PR campaign without using money of the group or the group members by organizing goods outlets or exhibition like “One Tambon One Product” or the demonstration by the group leaders who could teach at educational and occupational institutions or private sectors in the form of free service. Moreover, the use of computer technology should be encouraged to create the internet network of the group. For proposing the model of each kind of the products including ordering and distribution would make the community coconut shell enterprise much more successful.

Abstract