ผลกระทบของฝายกักเก็บน้ำที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของหมู่บ้านดอนไชย อำเภอปัว จังหวัดน่าน
.png)
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นกรณีศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของฝายกักน้ำในหมู่บ้านชนบทในจังหวัดน่าน เป็นการศึกษาโครงการระยะยาว 3 ปี ที่มีการก่อสร้างฝายกักน้ำจำนวน 98 ฝายในป่าชุมชนของหมู่บ้านดอนชัย อำเภอปัว จังหวัดน่าน โครงการนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของชาวบ้านที่จะเก็บน้ำที่มีมากและไหลรุนแรงในฤดูฝนเพื่อไว้ใช้ในฤดูแล้ง และได้รับแรงบันดาลใจจากหลักการเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเป็นความร่วมมือช่วยกันระหว่างชาวบ้าน และ “กลุ่ม มธบ.รักษ์ป่าต้นน้ำ”
การเก็บรวบรวมข้อมูลกระทำโดยใช้แบบสอบถามจากทุกครัวเรือนในหมู่บ้านและสัมภาษณ์เพิ่มเติมจากผู้นำชุมชนในช่วงเวลาตั้งแต่มกราคม – พฤษภาคม 2554 ซึ่งผลการศึกษาได้แสดงให้เห็นความคิดเห็นและความเชื่อถึงประโยชน์อย่างสูงของฝาย ในด้านเศรษฐกิจ ฝายทำให้ชาวบ้านมีโอกาสที่จะดำรงชีวิตได้อย่างประหยัดและพอเพียงมากกว่าเดิม ในด้านสังคม ความรู้สึกเป็นเจ้าของฝายร่วมกันทำให้เกิดความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกันขึ้นในชุมชน ในด้านสิ่งแวดล้อม ฝายทำให้ป่าชุมชนของหมู่บ้านอุดมสมบูรณ์ขึ้น
ความรู้ที่ได้ในการศึกษาครั้งนี้นำไปสู่ข้อเสนออย่างจริงจังให้ผนวกการสร้างฝายกักน้ำเข้าไว้เป็นส่วนสำคัญในการบริหารจัดการต้นน้ำในทุกภาคของประเทศไทย ยิ่งมีจำนวนฝายกักน้ำบริเวณต้นน้ำมากเท่าไร ก็จะเกิดประโยชน์มากขึ้นเท่านั้นกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในช่วงกลางน้ำและปลายน้ำ และการป้องกันวิกฤติน้ำท่วมเช่นที่เกิดในปี 2554
Abstract
This is a case study of the economic, social and environmental impacts of check dams in a rural village in Nan, Thailand. The study is longitudinal in nature, lasting for three years with 98 check dams constructed in the community forest of the Donchai Village, Pua District, Nan Province. The project was motivated by the villagers’ need to preserve water, abundantand violent in the rainy season, for use in the dry season and inspired by His Majesty the King’s principle of sufficient economy. The project was jointly conducted as a social and environmental preservation activity ofthe villagersand the “DPU Watershed Forest Reservation Club”.
Data are collected from all the households in the Donchai villageduring the period of January – May 2011, which demonstrate beneficial impacts of the dams. Economically, the dams have given the villagers an opportunity for a more economical and sufficient livelihood. Socially, a sense of co-ownership of the dams have led to a closer tie within the community. Environmentally, the dams have contributed to a more fertile community forest.
With the knowledge gained in this project, it is strongly recommended that check dams be an integral part in the watershed management in all parts of Thailand. The more check dams there are in the upstream areas, the more benefit there is for the water resource management of the mid-stream and the down-stream areas andthe flood crisis such as the one in 2011 can be prevented.
นักวิจัย : อาจารย์ปรีชา วุฒิการณ์
สังกัด : คณะรัฐประศาสนศาสตร์
คำสำคัญของโครงการ :
ผลกระทบ,ด้านเศรษฐกิจ, สังคม,สิ่งแวดล้อม,ฝายกักน้ำ
ปีที่เสร็จ : 2554