ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพอิสระของบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพอิสระและทัศนคติต่อการประกอบอาชีพอิสระของบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยมีสมมติฐานการวิจัยได้แก่ ปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยครอบครัว และปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพอิสระ
ระเบียบวิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามปลายปิดและมาตราส่วนประมาณค่า ประชากร คือ บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจ ปีการศึกษา 2541-2545 ได้แก่ สาขาการเงิน การจัดการทรัพยากรมนุษย์ การตลาด การจัดการทั่วไป การบริหารสำนักงาน คอมพิวเตอร์ธุรกิจ ธุรกิจระหว่างประเทศ การจัดการอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่าง คือ บัณฑิตที่ประกอบอาชีพอิสระจำนวน 235 คน จัดกลุ่มอาชีพอิสระออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้ ค้าขาย ผู้ผลิต บริการ ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ใช้เทคนิคการสุ่มแบบโควต้า การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าไคสแคว์ การทดสอบทางสถิติ ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปคอมพิวเตอร์
ผลการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่า ปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยครอบครัวและปัจจัยด้านจิตวิทยา มีความสัมพันธ์กับการประกอบอาชีพอิสระที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทัศนคติของบัณฑิต ต่อการประกอบอาชีพอิสระเกี่ยวกับลักษณะงาน แรงจูงใจ และทัศนคติ พบว่าใหญ่อยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51-4.50 เหตุผลที่บัณฑิตประกอบอาชีพอิสระคือ ต้องการมีประสบการณ์ทางธุรกิจ สามารถนำความรู้จากการศึกษาไปใช้อยู่ในระดับมาก บัณฑิตจะประกอบอาชีพค้าขาย ผู้ผลิตและจำหน่าย ผู้ผลิต และบริการ ตามลำดับ เนื้อหาวิชาในหลักสูตรที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้คือ ศึกษาจากกรณีศึกษาจริง แนวทางที่เหมาะสมมากที่สุดในการส่งเสริมให้บัณฑิตประกอบอาชีพอิสระคือ การปลูกฝังทัศนคติและค่านิยมประกอบอาชีพอิสระ

Abstract

This research aims to study the factors related to entrepreneurship and the attitude toward self employment of undergraduate in Business Administration of Dhurakij Pundit University. The research’s hypothesis is private factors, family factors and psychological factors have related to self employment.
This research methodology is a survey research and its instruments are closed-end and rating scales questionnaires. The population is bachelor degree students who finished from Administration Faculty Dhurakij Pundit University between year 1998-2002 in the department of financial, human resources management, marketing, general management, office management, business computer, international business, industrial and technology management, with 235 samples are divided into 4 categories such as merchant, producer, services, producer and distributor. The sampling technique is quota sampling. Statistical methods used in analyzing data are percentages, frequency, mean, standard deviation, chi-square and statistical testing by using computer programming package.
These finding indicate that private factors, family factors and psychological factors are related to self employment at the significant level of 0.05. The attitude of undergraduated toward self employment with work characteristics, motivation and attitude show in the high level at the average point 3.51-4.50. The main reason to be entrepreneur is business experience, and the capability to use knowledge application from classroom to their business is at high level. Most of them are merchant, producer, services, producer and distributor. They agree that the contents of curriculum to enhance the student to be entrepreneur is a case study and the most appropriate thing to be entrepreneur is to create their values and attitudes toward self employment.