การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น : การเปรียบเทียบด้วยวิธีการเรียนที่ต่างกัน

บทคัดย่อ

รายงานวิจัยเรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น : การเปรียบเทียบด้วยวิธีการเรียนที่ต่างกัน เป็นงานวิจัยในชั้นเรียน วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา ระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยวิธีการใช้แบบฝึก (กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2) กับวิธีให้นักศึกษาตั้งคำถามพร้อมทำเฉลย (กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 1) โดยเก็บข้อมูลจาก นักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเศรษฐศาสตร์เบื้องต้น (EC 201) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 ซึ่งเป็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ สาขาโฆษณา และสาขาสื่อสารการตลาด รวมทั้งสิ้น 127 คน
ผลจากวิจัยพบว่า นักศึกษากลุ่มที่ 1 มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสอบทั้ง 3 ชุดของข้อมูลต่ำกว่านักศึกษากลุ่มที่ 2 แต่ความแตกต่างดังกล่าวได้ลดลงหลังจากที่นักศึกษากลุ่มที่ 1 ได้ทำกิจกรรมการตั้งคำถามเองพร้อมเฉลยส่งผู้สอน ทำให้ค่าเฉลี่ยของนักศึกษากลุ่มที่ 1 ค่อยๆ ปรับเข้าหานักศึกษากลุ่มที่ 2 มากขึ้น
ผู้วิจัยจึงขอสรุปว่า การที่ให้นักศึกษาหรือผู้เรียนได้ฝึกการตั้งคำถามด้วยตนเอง และหาคำตอบ มีผลทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ ได้อ่านทบทวนเนื้อหาที่ได้เรียนมา และนักศึกษามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปคือ ให้ความร่วมมือ เอาใจใส่ ตั้งใจ ในการทำกิจกรรมมากขึ้น นอกจากนี้ผลจากการที่นักศึกษาทำแบบฝึกหัดหรือการตั้งคำถามส่งผู้สอนเพิ่มมากขึ้นส่งผลต่อคะแนนสอบทั้งกลางภาคและปลายภาคเพิ่มสูงขึ้น

Abstract

The objective of this classroom research is to investigate and compare the learning outcomes of 2 different groups of student in the principal of economics (EC 201) classes. We hypothesize that the different in learning process between these groups will lead to different in the learning outcomes (the test score). This research considers 127 students from faculty of communication arts. The students are divided into 2 groups. In the first group, the researcher uses the question which mainly came from the student as a learning process. In the second group, we use the traditional method.
The result confirms our hypothesis. An average score from both pre-test and midterm examination of student from group 1 is significantly below group 2. However, as the first group obtains the different learning process, we observe the convergent of the score between the groups in the final examination.