ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง “ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน” มีวัตถุ ประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน (2) เพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน
งานวิจัยนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยวิธีการสนทนากับชาวบ้านใน 3 ชุมชน คือ ชุมชนบ้านแลง ชุมชนบ้านแกลง และชุมชนบ้านตะพง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ซึ่งในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้นำชุมชน ผู้รู้ชุมชนที่อยู่อาศัยในพื้นที่และที่อพยพเข้ามาด้วยวิธีการทำมาหากินใน 3 ชุมชน รวมมีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 21 คน
ผลการศึกษา พบว่า ปัญหาการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีผลกระทบต่อวิถีชีวิตของทุกชุมชนมี 3 ประเด็น คือ (1) ปัญหาการใช้ดิน (2) ปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และ (3) ปัญหาเกี่ยวกับป่าไม้ นอกจากนี้ ยังพบว่าปัญหาอื่น ๆ ที่ปรากฏอยู่ในวิถีชีวิตชุมชนใน 4 ช่วง ดังนี้
1. ช่วงบุกเบิก : ปัญหาการตัดไม้ในพื้นที่ที่เป็นต้นน้ำของคนพื้นเมือง ส่งผลให้ดินไม่สามารถเก็บกักน้ำทำให้เส้นทางน้ำเปลี่ยนทิศทาง การปลูกพืชเชิงเดี่ยวซ้ำ ๆ กันเป็นระยะเวลายาวนานทำให้ดินเปรี้ยว หน้าดินเสื่อมสภาพไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก และในพื้นที่ที่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมีสภาพเค็ม
2. ช่วงขยายตัว : ปัญหาการบุกรุกพื้นที่ป่าซึ่งเป็นต้นน้ำเพื่อเพิ่มพื้นที่ทำกินส่งผลให้น้ำไหลเปลี่ยนทิศทางทำกินของชุมชน และที่อยู่อาศัยก็เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามจำนวนของประชากร นอกจากนี้การนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวยังทำให้ธาตุอาหารในดินเสื่อมคุณภาพ
3. ช่วงปรับเปลี่ยน : ทุกชุมชนต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการทำนามาทำสวน และการค้าขาย การใช้ปุ๋ยเคมีแทนปุ๋ยชีวภาพ การใช้สารเคมีสำหรับเร่งดอก และผล จึงทำให้สารตกค้าง นอกจากนี้ยังไม่สามารถนำน้ำมาบริโภคได้ดังแต่ก่อน สิ่งที่พบอีกประการ คือ โรงงานอุตสาหกรรมได้ก่อให้เกิดปัญหา ดิน น้ำ และป่าไม้เสื่อมสภาพและลดน้อยลงไป ส่วนกลุ่มนายทุนและชาวบ้านบางส่วนก็ยังตัดไม้ทำลายป่าอยู่เป็นระยะ ๆ


4. ช่วงสร้างเครือข่าย : ทั้ง 3 ชุมชนยังไม่มีเครือข่ายที่เป็นองค์กรชุมชนที่จะเข้ามาดูแลดิน น้ำ และป่าไม้ ในขณะนี้มีการพึ่งพิงองค์กรจากภาครัฐและองค์กรส่วนท้องถิ่น มากกว่าที่จะมีองค์กรที่เกิดจากชุมชนซึ่งเห็นความสำคัญของการดูแลดิน น้ำ และป่าไม้
ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา คือ (1) ชุมชนควรสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทย (2) ชุมชนควรสร้างองค์กรของชุมชน ในเรื่องการดูแลดิน น้ำ และป่าไม้ โดยวิธีธรรมชาติ (3) ควรรักษาสิทธิการดูแลป่าชุมชนโดยคนในชุมชนเป็นสำคัญ (4) กรมวิทยาศาสตร์การเกษตรควรให้คำแนะนำแก่ชุมชนในด้านผลดีและผลเสียจากการใช้สารเคมีหรือปุ๋ยชีวภาพ

Abstract

The objectives of this research were 1) to study the problems in the use of natural resources that affect community ways of life, and 2) to determine the guidelines in order to solve the problems.
This methodology of the research is qualitative. The data collection in this study was carried out in group discussions with the 21 local people in 3 communities namely: Ban Lang, Ban Klang, and Ban TaPong in Muang District, Rayong Province. Each group discussion consisted of a local leader and knowledgeable people who have lived in the community and migrated to the community in order to work in that area.
The results revealed that in each community there were 3 problems which resulted from of the use of natural resources: namely: soil problem, water resource problem, and forest problem. Moreover, these problems could be seen 4 in the time of the communities’ ways of life and culture as follows.
1) Beginning stage : The problems arise from destroying forest in the area that is the source of water. The soil cannot keep water any longer. The repetition of cultivating is also one of the factors making soil salty.The surface of soil is not suitable for cultivating.
2) Expansion stage: The problems arising from using forest that is the source of water caused water run in the wrong way. The number of people living in this area increased guickly. Moreover, the repetition of cultivating damaged value of soil.
3) Changing stage: The people of each community have changed their living from growing rice to gardening and trading. For gardening, they use chemical fertilizer in place of using organic biofertilizer. The use of chemical fertilizer to support the flowers and fruits caused the problem to the soil and drinking water. Another problem that has been found in the community is that the factories have damaged soil, water and forest and some capitalists and willagers cut dawn the trees in that area.
4) Network stage : 3 communities have not had their own organization network to look after soil, water and forest. They are helped by the government and some local organizations.
The suggestions are 1) communities should build their learning networks about Thai wisdom, 2) organizations should be established by communities in order to preserve their soil, water, and forest,3) local people should have the forest protection rights. 4) Department of science field should advice communities about advantages and disadvantages of chemical substance or organic fertilizer.