ปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
.png)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหาและแนวทางในการแก้ปัญหาการเรียนการสอน
วิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และเปรียบเทียบปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ของนักศึกษาชายกับ นักศึกษาหญิง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ระหว่างกลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ของนักศึกษาทั้ง 9 คณะ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จำนวน 310 คน ผู้วิจัยได้เก็บแบบสอบถามด้วยตนเอง ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาจำนวน 310 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 100 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มโดยใช้ค่าที ( t – test )
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ รวม 5 ด้าน พบว่าปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ในภาพ รวมทุกด้าน มีปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่ามีปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลาง คือด้านอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก ส่วนด้านที่อยู่ระดับน้อยโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้คือด้านตัวผู้เรียน รองลงมาคือ ด้านครูผู้สอน และการสอน และด้านหลักสูตร โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา ตามลำดับ ส่วนที่อยู่ในระดับน้อยที่สุดคือด้านการวัดผลและประเมินผล ตามลำดับ
(1)
2. การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าที ( t - test ) ของนักศึกษาเพศชายและเพศหญิงมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต รวม 5 ด้าน
พบว่านักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชา
พลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต รวมทุกด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่านักศึกษาเพศชายและเพศหญิง มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล และด้านตัวผู้เรียน ยกเว้นด้านครูผู้สอน และการสอน ด้านหลักสูตร โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา ด้านอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวกที่ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. การเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ ค่าที ( t - test ) ระหว่างกลุ่มสาขา สังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต รวม 5 ด้าน พบว่า ระหว่างกลุ่มสาขา สังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต รวมทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้านปรากฏว่าระหว่างกลุ่มสาขา สังคมศาสตร์ และกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาเพื่อคุณภาพชีวิต แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ด้านการวัดผลและประเมินผล ด้านตัวผู้เรียน ด้านอุปกรณ์และเครื่องมืออำนวยความสะดวก ยกเว้นด้านครูผู้สอน และการสอน ด้านหลักสูตร โปรแกรมและกิจกรรมทางพลศึกษา ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Abstract
นักวิจัย : อาจารย์อธิพัชร์ ดาดี
สังกัด : สำนักกิจการนักศึกษา
คำสำคัญของโครงการ :
ปีที่เสร็จ : 2553