ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

บทคัดย่อ

รายงานการวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) มุ่งศึกษาให้ทราบถึง ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ และ ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะกับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการเปิดตารางสำเร็จรูปของทาโร่ยามาเน่ (Taro Yamane) ที่ระดับความเชื่อมั่น 95 % โดยให้เกิดความคลาดเคลื่อนได้ไม่เกิน + 5 % โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเก็บตัวอย่างจำนวน 455 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโค้วต้า (Quota Sampling) ที่จำแนกตามอาชีพและการศึกษา
ผลจากการวิจัยพบว่า ตัวอย่างมีความรู้ต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะค่อนข้างมาก (3.88) มีทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ เฉลี่ยอยู่ในระดับค่อนข้างดี ( 3.66 ) และให้ความสำคัญกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะด้านต่างๆที่มีต่อการตัดสินใจซื้อค่อนข้างมาก (3.72) ส่วนปัจจัยมีผลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด คือ คุณภาพของสินค้าหรือบริการ คิดเป็นร้อยละ 36.1 รองลงมาคือ ราคาคิดเป็น ร้อยละ 32.1 และ การสื่อสารการตลาด เช่น โฆษณา ประชาสัมพันธ์ กิจกรรมเพื่อสังคมฯ คิดเป็น ร้อยละ 21.1 ตามลำดับ
จากการทดสอบสมมุติฐานที่ 1 ที่ว่า ลักษณะทางประชากรศาสตร์มีผลต่อทัศนคติที่มีต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะแตกต่างกัน พบว่า เพศไม่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ ,ช่วงอายุไม่มีผลต่อความรู้ และการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ แต่มีผลต่อทัศนคติเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ,รายได้ไม่มีผลต่อความรู้ และทัศนคติเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ แต่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อในด้านที่เกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ, การศึกษาไม่มีผลต่อความรู้ ทัศนคติและการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ และอาชีพไม่มีผลต่อทัศนคติและการตัดสินใจซื้อเกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ แต่มีผลกับความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ
จากการทดสอบสมมติฐานที่ 2 พบว่าทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะมีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค,ความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตาม กับทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะ
ส่วนทัศนคติต่อการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะมีความสัมพันธ์แบบแปรผันตามกับ การตัดสินใจซื้อ และความรู้เกี่ยวกับการสื่อสารการตลาดด้วยจิตสำนึกสาธารณะมีความสัมพันธ์แบบ แปรผันตาม กับการตัดสินใจซื้อ

Abstract

The research of The relationship between the attitude of marketing communication with the public conscious and consumers’ purchasing decision is the survey research which focus on the consumers’ attitude to the marketing communication and the relationship between the attitude to the marketing communication with the public conscious and the purchasing decision of the consumers by using questionnaires as a tool to collect the information from the people in Bangkok. The size of the samples, based on Tara Yamane’s table at the confidence level at 95% and the degree of variability less than 5%, is 455 people. The researcher used quota sampling, classified by occupation and education as the method to collect the samples.
The study shows that the samples have quite well knowledge about the marketing communication (3.88), have the attitude about marketing communication with the public conscious at the good level (3.66) and pay well attention to the marketing communication with the public conscious that affect the purchasing decision. The most influence factors to the purchasing decision are quality of products and services (36.1%), prices (32.1%) and the marketing communication such as advertising, public relations, special event (21.1%)
The result of the first hypothesis testing, “the different in demography would affect to the attitude of the marketing communication with the public conscious” has shown that sex does not affect the knowledge, the attitude and the purchasing decision that related to the marketing communication with the public conscious. Age does not affect the knowledge and purchasing decision that related to the marketing communication with the public conscious but does the attitude. Income does not affect the knowledge and attitude that related to the marketing communication with the public conscious but does the purchasing decision that related to the marketing communication with the public conscious. Education does not affect the knowledge, attitude and purchasing decision that related to the marketing communication with the public conscious. And the occupation does not affect the attitude and the purchasing decision but does the knowledge that related to the marketing communication with the public conscious.
Additionally, the second hypothesis has shown that the attitude of marketing communication has correlation with the consumers’ purchasing decision. The knowledge about the marketing communication with the public relation has correlation with attitude of marketing communication with the public conscious. The attitude of marketing communication with the public conscious has correlation with purchasing decision and the knowledge of marketing communication with the public relation has correlation with purchasing decision.