สิทธิผู้ต้องขังระหว่างพิจารณา

บทคัดย่อ

ประเทศไทยมีหลักการเกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาที่ว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าศาลจะพิพากษาว่าเป็นผู้กระทำความผิด เมื่อศาลยังมิได้พิพากษาว่าบุคคลใดเป็นผู้กระทำความผิด ย่อมเป็นการมิชอบที่จะคุมขังบุคคลนั้นไว้อันเป็นการลิดรอนเสรีภาพ แต่ถ้าจำเป็นจะต้องเอาตัวบุคคลไว้ในอำนาจรัฐ จะต้องมิใช่การเอาตัวไว้เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติหน้าที่ แต่ต้องเป็นการเอาตัวไว้เพราะความจำเป็นตามกฎหมายเท่านั้น เพราะหากรัฐไม่อาจใช้มาตรการบังคับกับผู้ถูกกล่าวหาได้เลยแล้ว การดำเนินคดีอาญาของรัฐย่อมไม่อาจกระทำได้ หรือยากต่อการที่รัฐจะดำเนินคดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหานั้น แต่ในสภาวะปัจจุบันพบว่า พนักงานสอบสวน อัยการ ศาล และราชทัณฑ์ ยังคงใช้อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาโดยไม่เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งกฎหมายปรากฏให้เห็นอยู่ในประเทศเรา โดยอ้างเหตุเพื่อความรวดเร็วและสะดวก ในการสอบสวนและเพื่อมิให้ผู้ต้องหาหลบหนีการพิจารณาคดี
ด้วยเหตุนี้ จึงต้องมีการศึกษาวิเคราะห์ในเรื่องการบังคับใช้กฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการใช้อำนาจของเจ้าพนักงานของรัฐในการนำบุคคลไว้ในที่คุมขัง และการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังประการอื่นๆ อันได้แก่ การแจ้งสิทธิที่จะไม่ให้การ การแจ้งสิทธิในการมีทนาย การใช้อำนาจควบคุมตัวผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาจะต้องมีเหตุอันสมควร สิทธิได้รับคำปรึกษาทางด้านกฎหมาย สิทธิได้รับการปล่อยตัวชั่วคราวทั้งที่มีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน การต้องจำแนกประเภทผู้ต้องขังและต้องไม่ขังผู้ต้องขังรวมกับนักโทษเด็ดขาด สิทธิได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติมิตร รวมไปถึงสิทธิที่จะได้รับการศึกษาและฝึกวิชาชีพระหว่างต้องขัง และจะต้องประเมินว่าแต่ละหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมได้มีการดำเนินการเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาดังกล่าวมากน้อยเพียงใด โดยจะประเมินจากความคิดเห็นของเจ้าหนักงานของรัฐและภาคประชาชนในประเด็นต่างๆ ว่ามีความเห็นเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในการคุ้มครองสิทธิของหน่วยงานรัฐอยู่ในระดับใด และนำผลจากการประเมินความเห็นมากำหนดแนวทางที่เหมาะสมและข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์ในการพัฒนาการปฏิบัติงานเพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องขังระหว่างพิจารณาให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้นและบรรลุวัตถุประสงค์แห่งหลักนิติธรรม และถือเป็นการพิทักษ์สิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนตามรัฐธรรมนูญด้วย อันเป็นการยกระดับของการคุ้มครองสิทธิของประชาชนผู้ต้องหาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของไทยให้สูงขึ้น

Abstract

Thai Criminal Procedure Law provided the rights of the inmates states that any person before the judgment must be presumed to be innocent. The unsuitable and seizures and incarcerations shall not be applicable. The incarceration of person is not for convenience but necessity, unless the investigating quality control would be diminished. Nowadays, in many countries, the officers’ actions in this area still remain violence and abuse the fundamental rights of the people.
According to this, This research will study and analyze of the doctrines of laws provide the power of incarceration should be attended. These doctrines are the right to say nothing during investigation, the right to lawyer and legal advice, the right to suitable and reasonable search and seizure, the right to temporally release, the right not to treat inmates as prisoners, the right to communication and the right to rehabilitation and education. The study contains the review of people’s opinions through the officers’ actions that affect the quality of protection of the inmates by questionnaires. And the result shall be used to state the best suggestions for officers to improve their actions and upgrade the protection of the inmates under the constitutional law and other bill of rights in the nations.
Thus, the result of analysis suggests that the protection of the inmates under criminal procedure in Thailand is below the minimum standard of the United Nations’ doctrines and many other foreign legislations. So, the revision of Thai Legislations and Thai Officers’ Action Plans to provide more protection of Thai Inmates must be concerned and applied strictly in order to improve the quality of the right of the inmates in Thai Criminal Justice.