การศึกษาปัจจัยที่กำหนดรายได้ของนักจัดรายการวิทยุ
.png)
บทคัดย่อ
อาชีพการเป็นนักจัดรายการวิทยุเป็นอาชีพที่มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะวัยรุ่น ภาพลักษณ์ซึ่งปรากฏออกมาสู่สังคมของผู้ประกอบอาชีพนี้คือ ความสนุกสนาน เป็นกันเอง และมีชีวิตอิสระสะดวกสบาย แต่ภาพที่ปรากฏออกมานั้นเป็นเพียงด้านเดียว น้อยคนจะคิดถึงมิติทางเศรษฐศาสตร์ จึงละเลยต่อประเด็นสำคัญหลายประการของการประกอบอาชีพนี้ เช่น ปัจจัยกำหนดระดับรายได้ โครงสร้างรายจ่ายและวิถีการดำเนินชีวิต ระยะเวลาประกอบอาชีพนี้และการเตรียมความพร้อมสำหรับการประกอบอาชีพอื่นๆ ในภายหลัง
งานวิจัยชิ้นนี้จึงมุ่งนำเอา แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยการกำหนดระดับรายได้ของแรงงานและเครื่องมือทางเศรษฐมิติมาวิเคราะห์ความเป็นอยู่ ตลอดจนถึงวิถีชีวิตของนักจัดรายการวิทยุ
จากการศึกษาพบว่า โดยเฉลี่ยแล้ว นักจัดรายการวิทยุส่วนใหญ่จะทำงานในอาชีพนี้เพียง 4-6 ปี จากนั้นจะผันตัวไปประกอบอาชีพอื่นซึ่งส่วนใหญ่มักเกี่ยวข้องกับสายงานเดิม เช่น พิธีกร ครีเอทีฟ เจ้าหน้าที่และผู้บริหารของสถานี เป็นต้น
ผลการวิเคราะห์โดยใช้เศรษฐมิติพบว่ารายได้ต่อชั่วโมงเพิ่มขึ้นตามอายุการทำงาน แต่เป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราที่ลดลง รายได้ต่อชั่วโมงของนักจัดรายการวิทยุในกรุงเทพและนักจัดรายการวิทยุที่เปิดเพลงไทยสากลได้รับค่าตอบแทนสูงกว่านักจัดรายการวิทยุในต่างจังหวัดและนักจัดรายการวิทยุที่เปิดเพลงประเภทอื่นๆ อย่างไรก็ดี ความแตกต่างของระดับรายได้ระหว่างเพศมีไม่ จากการสัมภาษณ์พบว่า คุณสมบัติส่วนบุคคล เช่น ความซื่อสัตย์ ความตรงต่อเวลา มนุษย์สัมพันธ์ ตลอดจนถึงไหวพริบปฏิภาณ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการกำหนดระดับผลตอบแทน และความสำเร็จในอาชีพไม่น้อยไปกว่าทักษะทางวิชาชีพ เช่น การใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ การออกเสียง การใช้นำเสียง เป็นต้น
ข้อมูลจากแบบจำลองทางเศรษฐมิติถูกนำมาใช้ในการสร้างสถานการณ์จำลองเพื่อประมาณการผลตอบแทนจากการศึกษาและระยะเวลาในการใช้คืนเงินต้นที่ลงทุนไปในการศึกษา โดยพบว่านักจัดรายการวิทยุในกรุงเทพและปริมณฑลและนักจัดรายการวิทยุในต่างจังหวัดมีระยะเวลาในการชำระหนี้ประมาณ 6 ปี
Disk Jockey (DJ) is one of the most popular careers for the young. One of the most influential factors that give rise to such popularity is the contemporary teenager lifestyle which is surrounded by various forms of entertainment media. There is no exact figure to inform us about how many teenagers have chosen DJ as their preferred future career; however, given the increasing number of DJ training academies, the number should be considerable.
This study applies the Hedonic Wage Equation to analyze quantitatively factors that are important in determining income of a DJ. In addition, the quantitative study is supplemented by qualitative analysis obtained from interview with DJs.
It has been found that income per hour increases at a decreasing with experience. DJs in Bangkok enjoys higher income than DJs in other provinces. Eduation does not have a statistically significant impact on income per hour. The is no evidence to support wage discrimination between female and male DJs.
In addition to experience and location, personal qualities such as punctuality, honesty, voice, ability to work in team, and ability to use electronics equipment are also important in determining the success of a DJ.
Abstract
นักวิจัย : เกียรติอนันต์ ล้วนแก้ว
สังกัด :
คำสำคัญของโครงการ :
ปีที่เสร็จ : 2549