หลักเกณฑ์มาตรการคุ้มครองทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ผู้เยาว์
บทคัดย่อ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ให้การรับรองสิทธิของบุคคลในทรัพย์สิน และยังให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการสืบมรดก (มาตรา 48) แต่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 6 ว่าด้วยมรดก กลับไม่สามารถคุ้มครองสิทธิในการสืบมรดกของผู้เยาว์ได้อย่างสมบูรณ์ จากการทำวิจัยพบว่า แม้ผู้เยาว์จะเป็นผู้มีสิทธิในทรัพย์มรดกที่ตกทอดแก่ตนในฐานะทายาท แต่ผู้เยาว์ก็ไม่สามารถจัดการทรัพย์สินอันเป็นมรดกของตนเองได้โดยลำพัง เป็นเหตุให้บุคคลผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทน ผู้เยาว์ในฐานะต่างๆ ซึ่งได้แก่ ผู้ใช้อำนาจปกครอง ผู้ปกครอง ผู้จัดการทรัพย์สิน ผู้ปกครองทรัพย์ และผู้จัดการมรดก อาศัยช่องว่างแห่งกฎหมายใช้อำนาจจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ไปในทางเสียหาย ประมาทเลินเล่อ ยักยอกทรัพย์มรดกของผู้เยาว์เป็นของตน จำหน่าย จ่ายโอน เป็นเหตุให้ทรัพย์มรดกของผู้เยาว์ลดน้อยถอยลงจนกระทั่งบางรายแทบไม่มีทรัพย์มรดกหลงเหลืออยู่เลย ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากผู้เยาว์ไม่มีโอกาสรู้ ถึงรู้ก็ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ เพราะฝ่ายที่เป็นผู้ทำความเสียหาย อาจเป็นบิดามารดา ญาติพี่น้องของตนเอง ถึงแม้จะใช้สิทธิเรียกร้อง บางครั้ง คดีก็ขาดอายุความ หรือทรัพย์สินโอนเปลี่ยนมือไปนานแล้ว ยากที่จะนำกลับคืนมาได้ นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่กระทบต่อสิทธิในการสืบมรดกของผู้เยาว์ ทั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อสังเกตเกี่ยวกับปัญหาต่างๆ และข้อเสนอแนะ ดังนี้
1) ปัญหาสถานะของผู้เยาว์ที่ถูกจำกัดความสามารถในการจัดการทรัพย์สินอันเป็นมรดก ซึ่งหากพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายในกรณีของผู้ปกครองตามมาตรา 1598/5 ต้องปรึกษาหารือกับผู้อยู่ในปกครองก่อนจะทำกิจการใดที่สำคัญ แต่ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องปรึกษาผู้เยาว์ในเรื่องของการจัดการทรัพย์สินของผู้เยาว์ แต่กฎหมายกลับบัญญัติให้ผู้เยาว์แสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้เมื่อมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์
เช่นนี้จึงควรปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ผู้เยาว์ได้มีโอกาสใช้สิทธิในการให้ความคิดเห็น ติดตามตรวจสอบและใช้สิทธิในทางศาลเพื่อคุ้มครองสิทธิในมรดกที่ตกทอดแก่ตน โดยการเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ให้ผู้ใช้อำนาจปกครองต้องปรึกษาผู้เยาว์ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ หากจะกระทำกิจการใด
เกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ นอกจากนั้น ยังควรให้สิทธิผู้เยาว์ที่มีอายุกว่า 15 ปี ยื่นคำร้องขอให้อัยการใช้สิทธิฟ้องคดีเรียกทรัพย์มรดกแทนตนได้
2) ปัญหากระบวนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกที่กระทำได้โดยง่าย ไม่เคร่งครัด ไม่มีการพิสูจน์พินัยกรรมและจำนวนทรัพย์มรดก ขาดมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ของผู้เยาว์ในฐานะทายาท เพราะ ผู้จัดการมรดกอาจมีฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง ซึ่งในการจัดการทรัพย์สินบางกรณีต้องขออนุญาตต่อศาล (มาตรา 1574) แต่หากจัดการในฐานะผู้จัดการมรดกสามารถใช้สิทธิได้กว้างขวางกว่า ทั้งนี้ควรจำกัดสิทธิของ ผู้จัดการมรดกหากมีฐานะเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองหรือผู้ปกครองในเวลาเดียวกัน
กรณีนี้เห็นสมควรเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โดยให้นำมาตรา 1574 มาใช้บังคับหากผู้ใช้อำนาจปกครองผู้เยาว์มีฐานะเป็นผู้จัดการมรดกด้วย นอกจากนั้นกระบวนการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกควรเคร่งครัดในการให้ความคุ้มครองหากบัญชีเครือญาติมีผู้เยาว์เป็นทายาทและควรมีหน่วยงานในการตรวจพิสูจน์พินัยกรรมรวมทั้งจำนวนทรัพย์มรดกที่แน่นอนอีกด้วย
3) ปัญหาการใช้อำนาจของบุคคลผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ โดยเฉพาะขอบเขตอำนาจหน้าที่ ผู้จัดการมรดกที่ไม่มีบทบัญญัติในการติดตาม ตรวจสอบ เพราะแม้จะมีบทบัญญัติให้ผู้จัดการมรดกต้องทำบัญชีทรัพย์มรดกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 เดือน (มาตรา 1729) และจัดการแบ่งปันมรดกให้เสร็จสิ้นภายใน 1 ปี (มาตรา 1732) แต่ผู้จัดการมรดกหลายคนก็ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งคำสั่งศาลตั้งผู้จัดการมรดก แม้จะเกิน 1 ปีก็ยังใช้ได้ตลอดไป ไม่มีระยะเวลาแห่งการสิ้นสุด ถือเป็นช่องว่างแห่งกฎหมายที่ควรปรับปรุง มาตรการติดตามการดำเนินงานตามอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดกให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
กรณีนี้เห็นสมควรแก้ไขโดยเพิ่มบทบัญญัติในการติดตามและตรวจสอบอำนาจหน้าที่ผู้จัดการมรดกโดยให้คำสั่งศาลที่แต่งตั้งใครเป็นผู้จัดการมรดกแล้วควรกำหนดระยะเวลาสิ้นสุดภายใน 1 ปีนับแต่ศาลแต่งตั้ง เว้นแต่จะร้องขอขยายเวลา และควรมีการรายงานการปฏิบัติหน้าที่ของผู้จัดการมรดกไปยังศาลเป็นระยะๆ
4) ปัญหาการได้มาซึ่งทรัพย์สินอันเป็นมรดกของผู้เยาว์ แม้กฎหมายว่าด้วยมรดกจะถือว่ามรดกตกทอดแก่ทายาททันทีเมื่อเจ้าของมรดกถึงแก่ความตาย (มาตรา 1599) แต่ในความเป็นจริง ตราบใดที่ผู้จัดการมรดกยังไม่ดำเนินการจัดการรับโอนสิทธิให้แก่ทายาทที่เป็นผู้เยาว์ (กฎหมายมิได้กำหนดกรอบระยะเวลาให้ต้องดำเนินการ) แล้ว เช่นนี้อาจเป็นช่องทางให้มีการยักยอกหรือเบียดบังเอาทรัพย์มรดกของผู้เยาว์ได้ ด้วยเหตุนี้ จึงควรปรับปรุงกฎหมายโดยกำหนดระยะเวลาให้ต้องโอนทรัพย์สินเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เยาว์ภายในระยะเวลาที่กำหนด เพื่อ ควบคุมกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของผู้เยาว์ อีกทั้งควรปรับปรุง กฎ ระเบียบ หน่วยงานของรัฐและองค์กรที่ดูแลทรัพย์สินให้เพิ่มประสิทธิภาพในการตรวจสอบและควบคุมการรับโอนทรัพย์มรดกของผู้เยาว์ให้รัดกุมขึ้น เช่น สำนักงาน ที่ดิน หรือธนาคาร เป็นต้น
นอกจากนั้นควรปรับปรุงกฎหมายให้ยกเว้นค่าภาษีและค่าธรรมเนียมต่างๆ ในกรณีผู้จัดการมรดกจัดการโอนกรรมสิทธิในทรัพย์สินให้แก่ทายาทผู้เยาว์เพราะหากต้องเสียภาษีหรือค่าธรรมเนียมจะเป็นช่องทางให้ผู้จัดการมรดกปฏิเสธการดำเนินการรับโอนมรดกของผู้เยาว์
5) ปัญหาอายุความเกี่ยวกับการฟ้องคดีเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินระหว่างผู้เยาว์กับผู้ใช้อำนาจปกครอง ตามมาตรา 1581 และกับผู้ปกครองตามมาตรา 1598/11 รวมทั้งอายุความฟ้องคดีมรดก ตามมาตรา 1754 วรรค 2
อายุความ 1 ปีดังกล่าวถือว่าสั้นเกินไป หากผู้เยาว์มาทราบถึงการจัดการทรัพย์สินที่เสียหายเมื่อพ้นระยะ เวลา 1 ปี แล้วคดีขาดอายุความ เช่นนี้เห็นว่าควรขยายอายุความในการฟ้องคดีจาก 1 ปีออกไปเป็น 2 ปี เพื่อให้มีระยะเวลา เพียงพอในการตรวจสอบทรัพย์สินและการจัดการทรัพย์สินอันเป็นการป้องกันสิทธิอันพึงมีพึงได้ของผู้เยาว์
จากการที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆ พบว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวเกิดจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มีข้อบกพร่องในการให้ความคุ้มครองแก่ผู้เยาว์ในกรณีที่กองมรดกมีผู้เยาว์เป็นทายาท นอกจากนั้นกฎหมายยังเปิดช่องให้บุคคลผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินแทนผู้เยาว์ แสวงหาประโยชน์และ เอาเปรียบผู้เยาว์โดยอาศัยการหย่อนความสามารถของผู้เยาว์ รวมทั้งกระบวนการจัดตั้งผู้จัดการมรดกและขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ไม่มีระบบการติดตาม ตรวจสอบและควบคุมการทำหน้าที่ผู้จัดการมรดก โดยเฉพาะการจัดการทรัพย์มรดกของผู้เยาว์ อีกทั้งยังขาดหน่วยงาน องค์กรของรัฐในการทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้เยาว์
โดยสรุปผู้วิจัยเห็นว่าสมควรปรับปรุงกฎหมายให้มี “หลักเกณฑ์มาตรการในการคุ้มครองทรัพย์มรดก ที่ตกทอดแก่ผู้เยาว์” ซึ่งสมควรปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องทั้ง หลักเกณฑ์ตัวบทกฎหมายและแนวทางปฏิบัติ ตลอดจนบทบาทองค์กรของรัฐให้มีขอบข่ายอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบ ติดตามผล ให้ความช่วยเหลือ ซึ่งจะนำมาถึงแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อคุ้มครองผลประโยชน์ตลอดจนทรัพย์สินของผู้เยาว์ในฐานะทายาทกองมรดกได้ทั้งในปัจจุบันและอนาคตและยังสร้างความเป็นธรรมแก่สังคม ต่อไปด้วย
Abstract
The Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2540 has endorsed the rights of persons in properties and also protected the rights of persons in succeeding the estates (Section 48). However, the Civil and Commercial Code, Book VI, entitled “Succession” cannot perfectly protect the rights of minors in succeeding the estates
Researches were conducted and found that though minors are entitled to the estates devolving on them as the statutory heirs but the minors cannot manage alone by themselves the estate properties.. This causes persons who have power to manage properties on behalf of the minors in various status such as persons exercising parental power, guardians, property managers, custodians and administrators of estates exercising the rights by using loop hole of law and thus causing damage to the properties of the minors or carelessly exercising the rights or misappropriating the estates of the minors or disposing or selling the estates which resulting reduction of the minors’ estates or in some cases, there are no estates left to the minors. This is because the minors do not have an opportunity to know or if they know, they are not in the position to support themselves since the party causing damage may be their fathers, mothers, or relatives. The prescription of law may be expired despite the minors exercise their rights to claim for their estates or the properties were transferred to other persons for long time which is difficult to claim back. This problem is material affecting the rights of the minors in succeeding the estates. The researcher would like to present below the problems and suggestions to the above issues as follows:-
1) Problem relating to the status of the minors whose capabilities in managing the estate properties are restricted. Considering enforcement of law in exercising the rights of the guardians under Section 1598/5, there is no provision of law empowered the persons exercising parental power have to consult with minors regarding management of minors’ properties. On the contrary, the provisions of law provide that the minors can express their intention to make wills when they complete 15 years old. The law should be amended to grant opportunities to minors in expressing their ideas, pursuance, inspection and exercising legal right to courts so as to protect their estates. For the reasons stated above, the law should be amended to have additional provisions in the Civil and Commercial Code to prescribe that persons exercising parental power shall consult with minors whose ages are less than 15 years concerning any acts with respect to properties of the minors. In addition, the law should confer the rights to the minors whose ages are less than 15 years to submit petitions to prosecutors in exercising the rights on their behalf to claim back the estates.
2) Problem with respect to the process in appointing an administrators of the estates which presently is made easily without strict compliance nor any proof of the will and how much of the estates. Further, measurement of law is lacking to protect interests of the minors as the statutory heirs since the administrators of the estates may be the persons exercising the parental power which in managing properties for some cases, shall obtain permission from court (Section 1574) but if the management of the properties is performed solely by the administrators of the estates, they can exercise the power broader. The rights of the administrators of the estates should be restricted if they stand in the status of the persons exercising parental power or the guardians at the same time.
For the above problem, the provisions of the Civil and Commercial Code should be amended to prescribe that Section 1574 be enforced if persons exercising parental power are also the administrators of the estates. Moreover, the process in appointing administrators of the estates should have strict measurement for protection if the minors as the statutory heirs are named in the lists of relatives and there should be a department in charge of inspecting and proving wills and ascertain number of estates.
3) Problem regarding the persons exercising the power in managing properties of the minors especially the scope of power of the administrators of the estates which there is no provision of law to enforce their duties to follow up or take inspection despite there are provisions of law prescribe that the administrators of the estates shall make and complete list of estates within 1 month (Section 1729) and shall completely distribute the estates within 1 year (Section 1732) but many administrators of the estates do not perform their duties according to the provisions of the law. In addition, the court’s order appointing the administrator of the estate though exceeding 1 years, such order is valid forever without expiry period. This is also the loop hole of the law. The following up process in pursuing powers and duties of the administrator of the estate should be improved to make the process more efficiently.
For the above problem, the provisions of law should be amended to add additional provisions relating to pursuing and inspecting powers and duties of the administrators of the estates by prescribing the expiry period in appointing the administrators of the estates ordered by the court except there is a request for extension and the administrators of the estates should submit their reports to the court from time to time.
4) Problem regarding acquisition of the estate properties of the minors, though the law relating to succession provides that when a person dies, his estate devolves on the heirs (Section 1599) but in fact so long as the administrators of the estates have not proceeded to accept transfer of rights for the minors who are the heirs (the law does not prescribe the time frame for such proceedings). This may induce misappropriation or embezzlement of the minors’ estates. For this reason, the law should be amended by prescribing the time frame to transfer the properties owned by the minors in order to control ownership of minors’ properties. In addition, the rules, regulations of the governmental departments and organizations taking care of properties e.g. land departments or banks etc. should be improved to increase efficiency and strict compliance in inspecting and controlling acceptance of transferring estates of minors.
Further, the law should be amended to grant tax exemption and fees in case the administrators of the estates transfer ownership of the estate properties to the minors.
If the taxes and fees are imposed, this will pave way for the administrators of the estates to deny accepting transfer of the estates to the minors.
5) Problem relates to prescription in filing a suit on managing properties between minors and persons exercising the parental power under Section 1581 and also the guardians under Section 1598/11 including a one year prescription concerning a legacy under Section 1754 paragraph 2 is too short. If the minors know the damage in managing their estate properties beyond one year which the prescription is over, in this case, the prescription in filing the suit should be extended from on year to 2 years so as to have sufficient time in inspecting properties and managing the properties which can protect the legitimate rights of the minors.
The researcher studied, analyzed problems and found that causes of these problems arising from the discrepancy of the provisions of the Civil And Commercial Code in providing protection to the minors in case the minors are the statutory heirs. In addition, the law provides loop hole to persons exercising the rights in managing properties on behalf of the minors to exploit interests and take advantage on the minors due to their incapacity under the law and also the process in appointing administrators of the estates including scope of powers and duties of the administrators of the estates which currently there is no system to pursue, inspect and control the duties of the administrators of the estates especially in managing the estates of the minors. Besides, there is no any governmental organization to take charge in protecting the rights of the minors’ estates.
In summary, the researcher is of the opinion that the law should be amended to incorporate “Principals for Protection of Estates of Minors’. Thus, not only the Civil and Commercial Code, other relevant laws including their substances and practices but also roles of governmental organization should be improved and amended so that the powers be extended to inspecting, pursing and assisting which will lead to conceptual idea in solving problems to protect interests of the estates of the minors as the statutory heirs both at present and in future and this will create fairness to the so-called society as a whole.
นักวิจัย : รองศาสตราจารย์นุชทิพย์ ป.บรรจงศิลป์
สังกัด : คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
คำสำคัญของโครงการ :
ทรัพย์มรดก , การคุ้มครอง
ปีที่เสร็จ : 2551