ปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
.png)
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดกับลักษณะส่วนตัวของนักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ด้านผลการเรียนปัจจุบัน ผลการเรียนที่คาดหวัง และระดับการศึกษาที่คาดหวัง เก็บรวบรวมจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม กลุ่มแรกเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์กลุ่ม ประชากรของกลุ่มนี้ ได้แก่นักศึกษาที่มีสถิติการยืมคืนทรัพยากรสารสนเทศตั้งแต่ 40 ครั้งขึ้นไป มีนักศึกษาทั้งสิ้น 75 คน สุ่มอย่างง่ายและส่งจดหมายเชิญเข้าร่วมประชุมกลุ่มและสัมภาษณ์ 40 คน ได้รับการตอบกลับจากนักศึกษา 18 คน เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 10 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท 8 คน กลุ่มตัวอย่างกลุ่มที่ 2 เลือกตัวอย่างแบบโควต้า เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี 300 คน นักศึกษาระดับปริญญาโท 200 คน และเป็นนักศึกษามีผลการเรียนสูง 220 คน ผลการเรียนปานกลาง 160 คน และผลการเรียนต่ำ 120 คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างนี้โดยแจกแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และมีความเชื่อถือได้ 0.96 จำนวน 500 ชุด ได้รับคืนแบบสอบถามฉบับสมบูรณ์จำนวน 407 ชุด คิดเป็นร้อยละ 81.40 ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไคสแคว์โดยใช้โปรแกรม SPSS
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดมีค่าเฉลี่ยความสำคัญ 3.63 ปัจจัยจูงใจด้านนักศึกษา ปัจจัยจูงใจด้านศูนย์สนเทศและหอสมุด และปัจจัยจูงใจด้านการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยความสำคัญ 3.72 3.65 และ 3.52 ตามลำดับ ซึ่งเป็นความสำคัญในระดับมาก
2. ปัจจัยจูงใจที่มีค่าเฉลี่ยความสำคัญสูง 3 อันดับแรก ได้แก่ ความต้องการที่จะประสบผลสำเร็จด้านการศึกษาตามเป้าหมายที่กำหนด ความคาดหวังที่จะประสบผลสำเร็จในการทำงานตามสาขาวิชาชีพ และความคาดหวังที่จะมีตำแหน่งงานตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งเป็นปัจจัยจูงใจด้านนักศึกษาทั้ง 3 อันดับ มีค่าเฉลี่ย 4.10 4.08 และ 4.01 ตามลำดับ และมีความสำคัญในระดับมาก
3. ผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่าปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดไม่มีความสัมพันธ์กับผลการเรียนปัจจุบัน และผลการเรียนที่คาดหวัง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีค่าไคสแคว 12.425 และ 14.770 ตามลำดับ
ปัจจัยจูงใจในการใช้ศูนย์สนเทศและหอสมุดมีความสัมพันธ์กับระดับการศึกษาที่คาดหวัง ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีค่าไคสแคว 21.405
Abstract
This research aims to study motivating factors of students of Dhurakij Pundit University in using Library and Information Center and to study the relationship between motivating factors and personality traits with currently grade point average, expected grade point average and expected educational level. There were 2 sampling groups. The first group was selected 40 students from 75 students who had borrowed information resources 40 times or more in academic year 2005. Data were collected from the first group by Focus Group methodology. There were 18 students for jointing Focus Group. The second group was selected by quota sampling method to get 300 undergraduate students and 200 graduate students which were 220 students with high grade point average, 160 students with medium grade point average and 120 students with low grade point average. The questionnaires with five scales rating and a reliability of 0.96 were distributed to 500 students for collecting data from the second group. There were 407 complete questionnaires (81.40 %) returned. Data analysis was carried out using percentage, mean and Chi-square using SPSS program.
The research results were as follows:
1. Mean of motivating factors in using Library and Information Center was 3.63 relatively high. Mean of motivating factors with 3 facets of motivating factors; personality traits; Library and Information Center, and teaching were 3.72, 3.65 and 3.52 relatively high.
2. Three keys factors for motivating students to use Library and Information Center are (1) Needs educational success according to the goal, (2) Success expectancy in professional working and (3) Expectancy of working position according to the goal. Their means were 4.10, 4.08 and 4.01 relatively high.
3. Motivating factors did not relate to two facets of personality traits with currently grade point average and expected grade point average which were rejected the hypotheses at 0.05 statistical significant level (Chi square = 12.425 and 14.770 ). Motivating factors related to personality trait with expected educational level which was accepted the hypothesis at 0.05 statistical significant level (Chi square = 21.405)
นักวิจัย : อาจารย์สุกานดา ดีโพธิ์กลาง, อาจารย์พรเทพ ยอแสงรัตน์
สังกัด : ศูนย์สนเทศและหอสมุด
คำสำคัญของโครงการ :
ปีที่เสร็จ : 2549