การปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการของธุรกิจไทย
.png)
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการของธุรกิจไทย มุ่งตอบคำถามในระดับมหภาคและจุลภาคว่า ประเทศไทยและภาคธุรกิจมีวิธีการและกระบวนการปรับโครงสร้างหนี้และฟื้นฟูกิจการผ่านศาลและนอกศาลอย่างไร วิธีการแก้ปัญหาผ่านศาลล้มละลายกลางแตกต่างกับ วิธีการอื่นๆ อย่างไร ประสบความสำเร็จเพียงไร แค่ไหน หลังจากที่ประเทศประสบภาวะวิกฤติในปี 2540 ธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินและในความเป็นเจ้าของมากน้อยเพียงไร ในภาพรวมการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการประสบความสำเร็จหรือไม่ ผลการศึกษาพบว่าในระดับบุคคลและองค์กรธุรกิจ ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงสถาบัน เช่น มีการออกกฎหมายและมีการตั้งองค์กรเพื่อให้การแก้ปัญหาระดับบริษัทเป็นไปโดยสะดวก รัฐบาลและศาลได้ออกมาตรการหลายอย่างเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้รวมทั้งการประนอมหนี้ ประเทศไทยเลือกการแก้ปัญหาบริษัทระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ โดยการแก้ปัญหาทางการเงินเป็นส่วนใหญ่ โดยใช้วิธีการที่เจ้าหนี้กับลูกหนี้ตกลงกันเองและผ่านสถาบันกลางที่เป็นตัวเชื่อมอันเป็นกระบวนการนอกศาล ตลอดจนกระบวนการฟื้นฟูผ่านศาลล้มละลายกลาง การปรับโครงสร้างหนี้เน้นการยืดหนี้ แต่การลดหนี้แปลงหนี้เป็นทุนมีความสำคัญในกรณีของการฟื้นฟูกิจการผ่านศาลล้มละลายกลาง กฎหมายที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการที่เพิ่งมีการใช้หลังวิกฤตปี 2540 มีส่วนช่วยให้บริษัทขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในสภาพล้มละลายทางบัญชีหรือทางการเงิน ได้รับการฟื้นฟูกิจการหรือประนอมหนี้ที่เป็นระบบ แม้กฎหมายไทยจะให้อำนาจกับที่ประชุมเจ้าหนี้ในการตัดสินขี้ขาดในเรื่องของการฟื้นฟูกิจการ เช่น การทำแผน การเลือกผู้บริหารแผน การเห็นชอบกับแผน แต่ลักษณะสิ่งแวดล้อมหลายประการทำให้พบว่าในทางปฏิบัติกว่า 80% ของบริษัทได้รับอนุมัติจากที่ประชุมเจ้าหนี้ให้เป็นผู้บริหารแผน และการศึกษาในเชิงเศรษฐมิติ พบว่าบริษัทที่บริหารโดยลูกหนี้มีผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงทางการเงินดีกว่ากรณีที่บริษัทที่บริหารโดยเจ้าหนี้ วิกฤตที่เกิดขึ้นทั้งระบบทำให้ครอบครัวเดิมลดการถือครองหุ้นเป็นจำนวนมาก มีการเปลี่ยนแปลงความเป็นเจ้าของชัดเจน โดยเฉพาะกรณีบริษัทที่ผ่านศาลล้มละลายกลาง อย่างไรก็ตามเจ้าของกิจการเดิมจำนวนมากยังได้บริหารบริษัท ในภาพรวมการปรับโครงสร้างหนี้และการฟื้นฟูกิจการถือว่าได้ประสบความสำเร็จพอสมควร แม้ปัญหาต่าง ๆ ที่ให้เป็นบทเรียนจะมีอยู่บ้าง
Abstract
The focus of this research is to final out at the macro and micro level how the Thai business sector financial distress is remedied then in court and out of court channels or methods and how each method differs from one another. How 1997 economic crisis affect the ownership and management status of major inside owners of Thai family firms. On the while is corporate financial restructuring successful. The study found that crisis has definitely increased personal and corpord bankruptcy or liquidation. Various institutional changer that torch place helped to facilitate and entail system solution to firms financial distress. The Thai experience have utilized various incrust & ont of cerate in all equal proportion while debt rescheduling and maturity lengthening is predominant, debt, egmty conversion is importaty for bankruptcy court reorganized firms. Onasi chaptu in which debtors managed the plan is overwhelming and performed better then creditor managed firm as evidenced in statistical testing. Original owners lite considerable ownership status but ligh proportion of them retained management status. Overall corporate restructuring can be said to fairly successful.
นักวิจัย : รศ. ดร. ไพโรจน์ วงศ์วิภานนท์, นายณัฐนันท์ วิจิตรอักษร
สังกัด : สถาบันวิจัยสังคมและเศรษฐกิจ
คำสำคัญของโครงการ :
ปีที่เสร็จ : 2549