การวิเคราะห์การอ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาวิชานิติศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาทรัพยากรสารสนเทศที่อ้างถึงในวิทยานิพนธ์สาขาวิชานิติศาสตร์ ปีการศึกษา 2544 จำนวน 216 ชื่อเรื่อง ด้านรูปแบบ ภาษา ประเภท อายุ เนื้อหา และ ทรัพยากรสารสนเทศที่อ้างถึงที่มีอยู่ในศูนย์สนเทศและหอสมุด
ผลการวิจัยพบว่า วิทยานิพนธ์ 216 ชื่อเรื่อง เป็นวิทยานิพนธ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับกฎหมายส่วนบุคคลมากที่สุด 61 ชื่อเรื่อง รองลงมาได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ 34 ชื่อเรื่อง กฎหมายระหว่างประเทศ 32 ชื่อเรื่อง กฎหมายแรงงาน สังคมสงเคราะห์ การศึกษาและวัฒนธรรม 28 ชื่อเรื่อง กฎหมายทหาร ทรัพย์สินสาธารณะ การคลัง ภาษี การค้าและอุตสาหกรม 24 ชื่อเรื่อง กฎหมายอาญา 23 ชื่อเรื่อง และกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กระบวนการทางแพ่ง ศาลแพ่ง 14 ชื่อเรื่อง มีรายการอ้างถึง 11,482 รายการ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ 10,787 รายการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ 695 รายการ คิดเป็นร้อยละ 93.95 และ 6.05 ตามลำดับ ภาษาไทย 7,781 รายการ ภาษาต่างประเทศ 3,701 รายการ คิดเป็นร้อยละ 67.77 และ 32.23 เมื่อจำแนกตามประเภทพบว่าเป็นหนังสือมากที่สุด 6,845 รายการ คิดเป็นร้อยละ 59.62 รองลงมาได้แก่ วารสาร วิทยานิพนธ์และวิจัย ฐานข้อมูลออนไลน์ สิ่งพิมพ์อื่นๆ 2,449 993 690 500 และ 5 รายการ คิดเป็นร้อยละ 21.33 8.65 6.01 4.35 และ 0.04 ตามลำดับ ส่วนใหญ่คือร้อยละ 56.12 อยู่ในช่วงอายุไม่เกิน 9 ปี มีในศูนย์สนเทศและหอสมุด 4,208 รายการ คิดเป็นร้อยละ 36.65 เป็นหนังสือ 2,664 รายการ รองลงมาได้แก่วารสาร วิทยานิพนธ์และวิจัย สิ่งพิมพ์อื่นๆ และโสตทัศนวัสดุ 1,296 215 32 และ 1 รายการ ตามลำดับ ส่วนฐานข้อมูลออนไลน์ ไม่มีในศูนย์สนเทศและหอสมุด
จากการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าจำนวนรายการอ้างถึงในวิทยานิพนธ์ที่มีและไม่มีในศูนย์สนเทศและหอสมุดมีความสัมพันธ์กันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 วิทยานิพนธ์สาขานิติศาสตร์มีจำนวนรายการอ้างถึงต่อชื่อเรื่อง 53 รายการต่อชื่อเรื่อง จากการทดสอบสมมุติฐานโดยใช้ Chi-Square พบว่า จำนวนรายการอ้างถึงต่อชื่อเรื่องในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทสาขาวิชานิติศาสตร์แต่สถาบันการศึกษาไม่แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 โดยมีค่า Chi-square 7.06

 

 

Abstract

This study provided an analysis of citations in 216 master theses written by academic year 2001 graduate students in the faculty of law. The objective of this research were to study formats, language, types, age and subject of materials cited and to compare the materials cited with library resource in The Library and Information Center Dhurakijpundit University. The subject areas for 216 theses mainly covered 61 titles of private law follow by 34 titles of constitutional and administrative law , 32 titles of international law , 28 titles of labor, social service, education and culture law , 24 titles of military, defense, public property, public finance, tax, trade and industrial law , 23 titles of criminal law and 14 titles of civil procedure and courts.
The 216 theses generated a total of 11,482 citations. Printed media were cited most 93.95 percent and the rest were electronic media 6.05 percent. Thai language materials were cited most 67.77 percent. The type of materials cited most were books 59.62 percent follow by journal 21.33 percent, theses and research 8.65 percent, others printed materials 6.01 percent, online database 4.35 percent and audio visual 0.04 percent. The age of materials cited most (56.12 percent) were not over than 9 years. There were 4,208 citation entries or 36.65 percent available in The Library and Information Center of Dhurakijpundit University. These entries include books (2,664 entries), journals (1,296 entries), theses and research (215 entries), other printed material (32 entries) and audio-visual material (1 entry) respectively. There is no online database entry available at The Library and Information Center. From testing relation, a number of the citation entries cited in theses available and not available at The Library and Information Center are relatively at the 0.05 implied level significant to the statistics. The number of citations averaged 53 entries per title. According to testing hypotheses by Chi-square the result support hypotheses that there were not significant differences (p< 0.05) among the average numbers of citations per title in theses of each university with chi-square 7.06.