มาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : ศึกษาเฉพาะกรณีอุทยานแห่งชาติ
บทคัดย่อ
อุทยานแห่งชาติของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ตามที่ได้บัญญัติไว้ในมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 คือ เป็นพื้นที่ที่มีสภาพธรรมชาติน่าสนใจในการพิทักษ์รักษาให้คงอยู่ในสภาพเดิม เพื่อสงวนไว้ให้เป็นประโยชน์แก่การศึกษาและความรื่นรมย์ของประชาชน จากวัตถุประสงค์จึงเห็นได้ว่า อุทยานแห่งชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่อุดมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ มีทิวทัศน์สวยงามเหมาะสำหรับการพักผ่อน มีคุณค่าทางการศึกษาในการหาความรู้ค้นคว้าและวิจัย และเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิดและพันธุ์พืชหายาก ดังนั้น รูปแบบและกิจกรรมการท่องเที่ยวที่พึงมีและเหมาะสมสำหรับอุทยานแห่งชาติ จึงควรเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ในการบริหารจัดการพื้นที่อุทยานแห่งชาติเพื่อรองรับการท่องเที่ยวเชิงนิเวศนั้น ปรากฏว่าในปัจจุบัน อุทยานแห่งชาติของไทยยังประสบปัญหาในการบริหารจัดการ ทั้งในด้านกฎหมายที่ใช้บังคับแก่อุทยาน ฯ ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ และปัญหาด้านพฤติกรรมของผู้เข้ามาใช้ประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติ ที่ไม่เป็นไปตามหลักการของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ผู้วิจัยขอชี้ประเด็นของปัญหาและมาตรการการแก้ไข ดังนี้
1. ปัญหาทางกฎหมาย มีการบังคับใช้กฎหมายหลายฉบับในพื้นที่อุทยานแห่ง
ชาติ ที่สำคัญได้แก่ พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 จึงทำให้มีการกระทำความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบท บทบัญญัติของกฎหมายเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์พื้นที่ป่าและทรัพยากรธรรมชาติไว้เป็นสำคัญ มากกว่าที่จะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายยังไม่เต็มที่ เนื่องจากขาดบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ที่เพียงพอสำหรับป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด และปัญหาความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ที่เคยอาศัยและทำกินมาก่อน มาตรการแก้ไขปัญหาคือ รัฐควรประกาศแยกพื้นที่ของอุทยานแห่งชาติที่อนุญาตให้ เข้าไปท่องเที่ยวได้ออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์ทุกประเภท เพื่อแยกใช้กฎหมายให้ถูกต้องตามลักษณะความต้องการในพื้นที่ และควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการให้ข้อคิดเห็นแนะนำ และบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ โดยการจัดตั้งคณะกรรมการประจำอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง และให้ผู้แทนชุมชนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการ ควรเพิ่มเพดานโทษตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติให้สูงขึ้น และให้รางวัลนำจับ ตลอดจนปรับแก้บทบัญญัติให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น โดยให้สามารถออกกฎกระทรวงกำหนดรูปแบบความผิดใหม่ ๆ ได้ นอกจากนี้ ควรมีการรวบรวมกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ใช้บังคับแก่อุทยานแห่งชาติ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องให้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการใช้บังคับ และเป็นการแก้ปัญหาความซ้ำซ้อนและกระจัดกระจายกันของกฎหมาย
2. ปัญหาอันเกิดจากราษฎรและนักท่องเที่ยว การไม่เคารพกฎระเบียบของ
อุทยานแห่งชาติ การขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การสร้างความเสื่อมโทรมให้แก่ อุทยาน ฯ ด้วยการทำลายทรัพยากรสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
ในการแก้ไขปัญหา รัฐควรใช้มาตรการป้องกันโดยการปลูกสร้างจิตสำนึกในการ
อนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน โดยเริ่มตั้งแต่เยาวชนและแทรกเข้าไปในระบบการศึกษา ควรส่งเสริมให้ใช้ระบบฉลากเขียว และควรจัดให้มีการปฐมนิเทศนักท่องเที่ยวก่อนเข้า อุทยาน ฯ ทุกครั้ง นอกจากนี้ ควรใช้มาตรการส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติ และจัดตั้งพื้นที่แนวกันชนป่าอนุรักษ์เพื่อพัฒนาเป็นป่าชุมชนในอนาคต
3. ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความ
หนาแน่นของนักท่องเที่ยวในอุทยาน ระบบการให้บริการแก่นักท่องเที่ยวยังไม่มีประสิทธิภาพ การจัดเก็บและกำจัดขยะ และปัญหาด้านบุคลากรและงบประมาณที่ไม่เพียงพอ ในการปรับปรุงระบบการบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ รัฐควรกำหนดความสามารถ
ในการรองรับนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติแต่ละแห่ง ปรับรูปแบบกิจกรรมการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติให้เป็นการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเท่านั้น ปรับขึ้นค่าธรรมเนียมการเข้าใช้ประโยชน์ในอุทยานแห่งชาติให้เหมาะสม และประสานงานกับองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในการจัดเก็บและกำจัดสิ่งปฏิกูล ให้ถูกต้องเหมาะสมตามวิธีการ เพื่อไม่ให้กระทบต่อสิ่งแวดล้อม
มาตรการทั้งหลายดังกล่าวมานี้ จะเป็นการสร้างความสมดุลระหว่างการส่งเสริมการท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ และการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติภายในอุทยาน ฯ เป็นการยกระดับอุทยานแห่งชาติของไทยไปสู่มาตรฐานสากล สามารถรองรับนักท่องเที่ยวนานาชาติจากทั่วโลก และเป็นการสร้างรายได้ให้แก่ประเทศชาติอย่างยั่งยืน
Abstract
Thailand’s National Parks were established with the objectives as specified in Section 4 of the National Parks Act of B.E. 2504 (1961 A.D.) which were to preserve the area having interesting natural resources in its natural state for education and recreation of the people. The national parks therefore are areas of tourist attraction, having unspoiled national resources, natural beauty suitable for recreation and of educational interests. The national parks are also the natural habitat of wild animals and rare plants. The types and activities of tourism suitable for the national parks should be those of Ecotourism.
The management of the National Parks to cater for Ecotourism encounters in
any problems at the present time. The causes of the problems are the laws and regulations applicable to national parks are not conducive to Ecotourism and the behaviors of the tourists themselves which do not comply with the principle of Ecotourism. The researcher would like to point out the problems and the possible solutions as follows:
1. Legal Problem: There are many laws applicable to the national parks, of which the important ones are the National Parks Act B.E. 2504 (1961 A.D.), the Forests Act B.E. 2484 (1941 A.D.), the National Reserved Forests Act B.E. 2507 (1964 A.D.) and the Wildlife Preservation and Protection Act B.E. 2535 (1992 A.D.), any one wrongful act may constitute various offences under various Acts. Moreover, the objectives of these Acts are to preserve the forest areas and natural resources in their natural state and not the promotion of tourism. However, the enforcement of the laws is not effective as there is a lack of personnel, budget and equipment and there are also conflicts with the local people who have been living and making their livelihood in these areas before the laws are enacted.
The solution to the problems would be for the government to separate the areas of the national parks permitted for tourism from other forest areas intended for conservation, so that each area will be subject to the laws intended to achieve the objectives of the area, and the local people should be given opportunity to air their views on the management of the national parks by establishing a committee for each national park and local people are entitled to have their representatives in the committee. The penalty imposed for offences under the National Parks Act B.E. 2504 (1961 A.D.) should be revised upwards and the various provisions of the said Act should be more flexible to enable the Ministry to issue Ministerial Regulations quickly to meet any needs that may arise, and all the laws and regulations applicable to the national parks should be compiled and arranged systematically to facilitate the publication and enforcement.
2. Problems from the local people and tourists: These stem from disrespect for the laws and regulations applicable to the national parks, lack of awareness and understanding of the need to conserve natural resources causing the national parks to deteriorate by destroying wildlife and plants.
The solution to the problems would be for the government to inculcate the awareness of the need to conserve nature and the environment in the people, starting from young children by making it part of the school education. The tourists should be given orientation on the need to preserve the resources in the national parks before allowing them access to the area. The local people should be encouraged to take part in the development of the national parks, to set up a buffer zone for conservation of the forests which could be developed into community forest later.
3. Problems relating to the management of the national parks: These stem from the overcrowding of tourists in the national parks, inefficient services provided to tourists, the collections and disposal of garbage and the inadequacy of personnel and budget.
The government, in making improvement in the management of the national parks, should prescribe the capacity of each national park in relation to the number of tourists, the Ecotourism as the only permissible type of tourism with respect to national parks, higher fees for access to national parks and co-ordinate the work on collection and disposal of garbage with local authority in such a way as not to have any adverse effect on the environment.
The above – mentioned measures will lead to the balance between the
promotion of tourism in the national parks and the preservation of natural resources in the national parks, and to put Thailand’s national parks on international level as areas of tourist attraction capable of catering for tourists from any and parts of the world and generating sustainable income for the country.
นักวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อภิญญา เลื่อนฉวี
สังกัด : คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
คำสำคัญของโครงการ :
กฎหมาย , การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ปีที่เสร็จ : 2551