ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช

บทคัดย่อ

การศึกษา “ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลา และจังหวัดนครศรีธรรมราช”
จากการรวมตัวกันของประชาชนในชนบท เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองและสังคม โดยเน้นการรู้จักประหยัดและการเก็บออมเงินจากการสะสมกันประจำทุกเดือน จนกลายเป็นสัจจะออมทรัพย์ในลักษณะของกลุ่มที่ไม่เป็นนิติบุคคล ที่มีทั้งจำนวนคน จำนวนเงินสะสมทรัพย์ ระยะเวลาในการดำเนินงานเป็นระยะเวลานาน โดยมีผลสำเร็จจากการจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่อง และสามารถช่วยเหลือสมาชิกกลุ่มทั้งในด้านการลงทุนประกอบอาชีพ และการช่วยเหลือ สวัสดิการต่างๆ ทำให้การศึกษาครั้งนี้ต้องกำหนดวัตถุประสงค์อย่างชัดเจนว่าต้องศึกษาการบริหารในเชิงกลยุทธ์ การวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหาร เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อนำข้อมูลสรุปไปสร้างองค์ความรู้ด้านการบริหาร จัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ผู้วิจัยได้เจาะจงเฉพาะกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ที่ประสบความสำเร็จในการบริหาร โดยพิจารณาจากระยะเวลาในการดำเนินงานมานาน มีสมาชิกและจำนวนเงินสะสมทรัพย์เป็นจำนวนมาก โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่ายของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดละ 11 กลุ่ม รวมจำนวนประชากรที่ตอบคำสัมภาษณ์เชิงลึกที่ได้กำหนดโครงสร้างไว้ และตอบแบบสอบถามที่วัดระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จจำนวน 212 คน โดยมาจากประธาน กรรมการ และสมาชิกกลุ่มทั้ง 22 กลุ่มออมทรัพย์ เพื่อนำไปวิเคราะห์กับข้อมูลจากเอกสาร วารสาร สิ่งพิมพ์ ตำรา และงานวิจัยในประเทศในลักษณะของการวิเคราะห์จากการตีความกับการแปลข้อมูลของคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่า เบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ของกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์แล้วมีปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จที่สำคัญเหมือนกัน โดยเน้นปัจจัยที่ประธานกลุ่ม หรือกรรมการบริหารกลุ่มที่ต้องรู้จักการทำงานเป็นทีม มีความเสียสละในการทำงาน มีความสามารถด้านการบริหารองค์กร เพื่อการสร้างกำไร และสร้างความเชื่อมั่นต่อสมาชิกในกลุ่มควบคู่กับปัจจัยด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตและโปร่งใส ทำให้กลุ่มมีกำไรและจ่ายเงินปันผลอย่างสม่ำเสมอ คำนึงถึงชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของกลุ่ม และความรู้สึกของสมาชิกที่มีความ ผูกพันกับกลุ่ม
นอกจากนั้น เมื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์ตามหลักการ SWOT ในด้านของสภาพ แวดล้อมที่เป็นโอกาส และอุปสรรคต่อกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ พบว่า ไม่มีปัจจัยที่อยู่ในระดับสำคัญมากที่จะมีผลต่อความสำเร็จหรือไม่สำเร็จในการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ ส่วนในด้านการวิเคราะห์องค์กรที่เป็นจุดแข็ง จุดอ่อน ของบุคลากร องค์กรโครงสร้างองค์กร และการบริหารองค์กร พบว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากทั้งสิ้น โดยเฉพาะบุคคลที่เป็นประธานกลุ่ม ต้องมีความสามารถในหลายๆ ด้าน และต้องมีความซื่อสัตย์ สุจริต และโปร่งใส มีความเสียสละ สร้างความเชื่อมั่นต่อสมาชิกกลุ่ม ในด้านของความเชื่อถือ และผูกพันต่อกลุ่ม จนกลายเป็นจุดแข็งที่เด่นชัดที่สุดของปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จ ส่วนจุดอ่อนอาจกล่าวได้ว่ามีน้อยมากหรือไม่มีเลย เพราะเกิดจากสมาชิกบางคนที่ทำผิดระเบียบกติกากลุ่ม ซึ่งก็ได้รับการแก้ไขจนลุล่วงไปด้วยดี
ผลจากการศึกษาดังกล่าว ได้นำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สำคัญ 2 ประเด็น กล่าวคือ ในด้านกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ โดยบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการริเริ่มในการจัดตั้งกลุ่มออมทรัพย์ในแต่ละพื้นที่ ควรคัดเลือกประธาน กรรมการที่ก่อตั้ง ต้องเป็นที่เชื่อถือ เชื่อมั่นในความสามารถจากชุมชน หรือบุคคลที่จะเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มอย่างแท้จริง และชัดเจน จากการพิจารณาความซื่อสัตย์ สุจริต และโปร่งใส เสียสละที่เป็นรูปธรรม ส่วนวัตถุประสงค์ของกลุ่มต้องสามารถสร้างประโยชน์ให้แก่สมาชิกอย่างเป็นรูปธรรมในระยะสั้น หรือไม่นานจนเกินไปอีกประเด็นหนึ่ง ในการวิจัยครั้งต่อไป สำหรับผู้ที่จะทำวิจัย คือ การศึกษา และเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการ เชิงกลยุทธ์ของกลุ่มธุรกิจออมทรัพย์ โดยเน้นสหกรณ์ออมทรัพย์ ซึ่งเป็นนิติบุคคล เพื่อหาข้อสรุปว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร หรือไม่ และเพราะเหตุใด

 

 

Abstract

The study on “Factors Influencing the Success of Strategic Management of Sajja Savings Group in Songkla and Nakorn Sri-Thammarat Provinces”
Owing to the gathering to people in the community in order to promote learning and self-development of community members, emphasizing how to be economical and monthly money saving, this fruitful activity became “Sajja Savings Group”. This money savings group consisted of group members and accumulation of money. The duration of its management was long-termed with the savings group succeeded in regularly paying dividend to its members and, in addition, was able to financially support its members in terms of the capital for business including offering welfare. This research, therefore, determined a clear purpose that the strategic management of Sajja Savings Group had to be investigated. Furthermore, the study was focused on analyzing various factors having an effect on the success in the group’s management comparing the strategic management between Sajja Savings Group in Songkla and that in Nakorn Sri-Thammarat.
In order to achieve the goal mentioned above, the research purposively studied the Sajja Savings Groups successfully managed their business by considering the duration of management, number of group members and the amount of money savings. By means of the simple random sampling, Sajja Savings Groups in Songkla and Nakorn Sri-Thammarat were selected as the research sample which comprised 11 Sajja Savings Groups in each province. There were 212 repondents answering in-depth structured questions and giving replies to the questionnaire measuring the significance of factors influencing the success of the savings groups. These 212 respondents included the president, the committee and the members of 22 savings groups. By the percentage, the arithmetic mean and the standard deviation, the data collected were analyzed together with the information from documents, journals, publications, textbooks and the studies conducted in Thailand.
The result of the study revealed that the factors having an effect on the success of the strategic management of Sajja Savings Groups in Songkla and Nakorn Sri-Thammarat, when compared and analyzed, were the same in both provinces. The influential factors found included the president of the group or the committee, team-work, devotion to the duty, competence in administration to make profits and build up the member’s confidence in the group, transparency of management and honesty. These factors enabled the group to earn a lot of profits and to regularly pay dividend to the savings group members. Moreover, the group’s good reputation, image and the member’s commitment to the group were also the factors help the management of the business attain its goal.
In addition, when comparing and analyzing using SWOT in terms of environment opportunity and obstacles for Sajja Savings Groups’ management, it was found out that there were no factors at the significant level which had an effect on the success in managing Sajja Savings Group. With respect to the analysis of strength and weakness of the personnel, the organization, the corporate structure and administration of the savings groups, it was found out that the person who was the president of the group was the most important factor. The president must be capable in various aspects, honest, transparent in management, devoted to the job, excellent at creating the members’ confidence which gained their commitment to the savings group and this was the predominant strength which have a great effect on the success of Sajja Savings Group. Minor weakness such as the member’s violation of the rules was found, but it was resolved and did not have any effect on the management of the group.
The study results mentioned above lead to two important suggestions. With regard to Sajja Saving Group, the local people and authorities concerned with the initiative of setting up the savings group in each area should select the president and the committee who were reliable and capable or those who intentionally to become the member working for the group. Honesty, transparency in management and devotion were the most important requirements for the savings group personnel. Besides, the aims of the group must take a short period of time to concretely bring profits to the member. Finally, for the follow –up study, the research and comparison of the factors having an effect on the success of the strategic management of savings groups with an emphasis on cooperative savings to draw a conclusion of the question : whether they are different and why they are and what the reasons are.