ประกาศความเป็นส่วนตัวสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
(Privacy Notice for DPU Employee)


1. บทนำ

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (“มหาวิทยาลัยฯ”) ตระหนักและให้ความสำคัญในการคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรและลูกจ้างโดยที่มหาวิทยาลัยฯ จะทำการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลของ บุคลากรและลูกจ้างมหาวิทยาลัยฯ ให้คำมั่นในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรและลูกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

เพื่อเป็นการปฏิบัติตามหน้าที่ในการแจ้งให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบถึงวัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลตามฐานทางกฎหมาย (Lawful basis) ระยะเวลาการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล และสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วน บุคคลตามมาตรา 23 ของพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงได้ออกประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวฉบับนี้ ซึ่งจะอธิบายถึงลักษณะและเหตุผลของการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรและลูกจ้าง

มหาวิทยาลัยฯ ขอแนะนำให้ท่านอ่านและทำความเข้าใจประกาศนี้ก่อนให้ข้อมูลส่วนบุคคลกับมหาวิทยาลัยฯ หากท่านมีข้อกังวล ข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับประกาศนี้ตลอดจน ถึงประกาศและนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โปรดติดต่อมหาวิทยาลัยฯ ตามช่องทางการติดต่อที่ปรากฏท้ายประกาศนี้

2. ข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อมูลส่วนบุคคล คือ ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ชื่อ นามสกุล หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หมายเลขโทรศัพท์ วันเดือนปีเกิด รหัสส่วนตัว รูปภาพ หรือวิดีโอที่บันทึกจากกล้องวงจรปิด (CCTV) เป็นต้น แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรม

โดยทั่วไป มหาวิทยาลัยฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลจากการที่ท่านเป็นผู้ให้ข้อมูลนั้นกับมหาวิทยาลัยฯ โดยตรง เช่น กรอกข้อมูลบนแบบฟอร์มรับสมัครงาน การให้ข้อมูลผ่านโทรศัพท์ หรืออื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยฯ จัดให้มีขึ้น เป็นต้น เว้นแต่บางกรณีมหาวิทยาลัยฯ อาจได้รับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากบุคคลที่สาม โดยมหาวิทยาลัยฯ เชื่อโดยสุจริตว่าบุคคลที่สามดังกล่าวมีสิทธิเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่านและเปิดเผยกับมหาวิทยาลัยฯ และมหาวิทยาลัยฯ จะเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเท่าที่จำเป็น และใช้ข้อมูลดังกล่าวตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการตามข้อกำหนดของกฎหมายที่ให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องจัดเก็บข้อมูลดังกล่าว

ทั้งนี้ ในกรณีที่ท่านมีการติดต่อหรือใช้บริการผ่านเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยฯ มีความจำเป็นต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายซึ่งกำหนดให้มหาวิทยาลัยฯ ต้องเก็บรวบรวมข้อมูลของท่านจากการเข้าใช้งานดังกล่าว เช่น หมายเลข IP Address เป็นต้น นอกจากนี้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้บริการเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยฯ อาจมีการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติในการเก็บรวบรวมข้อมูลการใช้งานของท่าน ซึ่งอาจรวมถึง คุกกี้ เว็บบีคอน พิกเซลแท็ก และเทคโนโลยีการติดตามอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน โดยมหาวิทยาลัยฯ ขอเรียกรวมกันว่า “คุกกี้ (Cookie)” ซึ่งท่านสามารถอ่านรายละเอียดการใช้คุกกี้ได้บนเว็บไซต์ มหาวิทยาลัยฯ

ข้อมูลอ่อนไหว (Sensitive Data) ด้วยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลได้มีการกำหนดข้อมูล บางประเภทให้เป็นข้อมูลอ่อนไหว เช่น เชื้อชาติ ศาสนา พฤติกรรมทางเพศ ความคิดเห็นทางการเมือง ความพิการ ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ ข้อมูลสุขภาพ เป็นต้น และการเก็บรวบรวมจะทำได้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งรวมถึงอาจต้องได้รับความยินยอมจากท่าน ดังนั้น มหาวิทยาลัยฯ จะดำเนินการเก็บรวบรวม ข้อมูลอ่อนไหวเฉพาะในกรณีที่จำเป็นเท่านั้น และมหาวิทยาลัยฯ จะแจ้งให้ท่านทราบอย่างชัดแจ้งถึงเหตุผลความจำเป็น รวมถึงอาจดำเนินการขอความยินยอมจากท่านเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอ่อนไหวดังกล่าวในบางกรณี

สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่มหาวิทยาลัยฯ อาจมีการเก็บรวบรวม มีดังต่อไปนี้

ลำดับ ข้อมูลส่วนบุคคล วัตถุประสงค์ ฐานทางกฎหมาย ระยะเวลาจัดเก็บ
1 ข้อมูลการสมัครงาน เพื่อใช้ในการทำสัญญาจ้างแรงงาน ดำเนินการตามคำขอก่อนเข้าทำสัญญาจ้างแรงงาน เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
2 ข้อมูลการทดลองงาน และประเมินผลการทดลองงาน เพื่อใช้ในการทดลองงานและประเมินผลการทดลองงาน ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิก สัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
3 ข้อมูลการทำสัญญาจ้างงาน เพื่อใช้ในการทำสัญญาจ้างงานการทำสัญญาจ้างงาน ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
4 ข้อมูลการจ่ายเงินเดือน เพื่อใช้ในการจ่ายเงินเดือนในแต่ละเดือน ฐานหน้าที่ตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562) เก็บรักษาไว้ตลอดจนระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และจะเก็บไว้อีก 2 ปีนับแต่เลิกสัญญา
5 ข้อมูลการตรวจสอบเวลาปฏิบัติงาน เพื่อใช้ในการตรวจสอบเวลาปฏิบัติงาน ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บรักษาไว้ตลอดจนระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และจะเก็บไว้อีก 2 ปีนับแต่เลิกสัญญา
6 ข้อมูลการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี เพื่อใช้ในการบริหารผลการปฏิบัติงาน และ การจัดการการประเมินผลการปฏิบัติงานประจำปี ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
7 ข้อมูลการเลิกจ้าง เพื่อใช้ในการเลิกจ้างพนักงาน ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
8 ข้อมูลการโยกย้ายตำแหน่งงาน เพื่อใช้ในการโยกย้ายตำแหน่งงาน ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
9 ข้อมูลการตรวจสุขภาพ เพื่อใช้ในการตรวจสุขภาพ ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
10 ข้อมูลการสมัครประกันชีวิต เพื่อใช้ในการสมัครประกันชีวิต ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
11 ข้อมูลการเบิกค่าสินไหมทดแทน เพื่อใช้ในการเบิกค่าสินไหมทดแทน ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานและจะเก็บไว้อีก 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา
12 ข้อมูลการสมัครประกันสังคม เพื่อใช้ในการสมัครประกันสังคม ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
13 ข้อมูลการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อใช้ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ฐานสัญญา เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
14 ข้อมูลการจัดทำหนังสือรับรองการหัก ณ ที่จ่าย (ทวิ 50) เพื่อใช้ในการจัดทำเอกสาร ทวิ 50 ให้กับพนักงาน ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
15 ข้อมูลการลา เพื่อใช้ในการลาการลา ฐานหน้าที่ตามกฎหมาย (พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562) เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานและจะเก็บไว้อีก 2 ปีนับแต่เลิกสัญญา
16 ข้อมูลการลงทะเบียนอบรม เพื่อใช้ในการจัดอบรม ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
17 ข้อมูลการปฐมนิเทศ เพื่อใช้ในการจัดงานอีเว้นท์/การปฐมนิเทศ ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
18 ข้อมูลการควบคุมการเข้าออกพื้นที่ เพื่อใช้ในการควบคุมและตรวจสอบการเข้าออกพื้นที่ ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บรักษาไว้ตลอดจนระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และจะเก็บไว้อีก 2 ปีนับแต่เลิกสัญญา
19 ข้อมูลการรับรองลูกจ้าง เพื่อใช้ในการรับรองลูกจ้าง ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
20 ข้อมูลการดำเนินทางวินัย เพื่อใช้ในการดำเนินทางวินัย ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
21 ข้อมูลการจัดการอุบัติเหตุ (สำหรับประกันกลุ่ม) เพื่อใช้ในการจัดการอุบัติเหตุ กรณีใช้สิทธิจากประกันกลุ่มฯ ฐานหน้าที่ตามกฎหมาย (พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554) เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานจะเก็บไว้อีก 10 ปีนับจากเลิกสัญญา
22 ข้อมูลการจัดการอุบัติเหตุ (สำหรับกองทุนเงินทดเเทน) เพื่อใช้ในการจัดการกรณีพนักงานเกิดอุบัติเหตุในงาน ฐานหน้าที่ตามกฎหมาย (พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554) เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงานจะเก็บไว้อีก 10 ปีนับจากเลิกสัญญา
23 ข้อมูลสำหรับการติดต่อสื่อสารภายใน เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารภายใน ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม เก็บไว้ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างแรงงาน และ 10 ปีนับแต่เลิกสัญญา หรือตามระยะเวลาที่กฎหมายอื่นกำหนด
24 ข้อมูลที่ได้จากกล้องวงจรปิด CCTV เพื่อรักษาความปลอดภัยภายในพื้นที่ ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม 30 วัน
25 ข้อมูลสิทธิการใช้งานระบบ เพื่อใช้ในการบริหารจัดการการใช้งานระบบตามหน้าที่ความรับผิดชอบ ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม 1 ปี นับแต่วันที่ทบทวน
26 ข้อมูลบัญชีผู้ใช้งาน เพื่อใช้ในการควบคุมการเข้าถึงระบบภายในมหาวิทยาลัย ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้าง
27 ข้อมูลการเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อใช้ในการบริหารจัดการกิจกรรมภายในมหาวิทยาลัย ฐานผลประโยชน์อันชอบธรรม ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้างและจะจัดเก็บไปอีก 2 ปีนับแต่ วันที่เลิกสัญญา
28 ข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อบันทึกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ (Log File) การปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 ตลอดระยะเวลาของสัญญาจ้าง

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ยังอาจอาศัยฐาน/สิทธิในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน ดังนี้

  1. หลักสัญญา ซึ่งใช้ในกรณีที่ผู้ใช้งานและมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีความจำเป็นต้องมีเงื่อนไขหรือข้อตกลงระหว่างกัน
  2. หลักการปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่บังคับใช้นั้น
  3. หลักผลประโยชน์ที่ชอบด้วยกฎหมาย เป็นการกระทำเพื่อประโยชน์โดยชอบของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และประโยชน์โดยชอบของบุคคลภายนอก โดยมีเหตุจำเป็นที่สำคัญกว่าสิทธิของผู้ใช้งาน
  4. หลักการกระทำเพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพของบุคคล
  5. หลักการประโยชน์สาธารณะ เป็นการกระทำเพื่อการปฏิบัติงานเพื่อสาธารณประโยชน์หรือเพื่อการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะเปิดเผยข้อมูลให้ผู้บริหารและพนักงานมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อาจจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลของท่าน หาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มี เหตุผลที่เชื่อได้ว่า หากไม่เปิดเผยข้อมูลของท่าน ท่านอาจได้รับผลกระทบ รวมถึงการเปิดเผยข้อมูลของท่านแก่ผู้บังคับใช้กฎหมาย ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ หรือตามที่ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เห็นสมควรว่าจำเป็น

ในการดำเนินการพัฒนาธุรกิจ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์อาจต้องขยายสาขาย่อย หรือ หน่วยธุรกิจ ต่าง ๆ ซึ่งในการทำธุรกรรมเหล่านั้น ข้อมูลของท่านจึงถือเป็นสินทรัพย์ทางธุรกิจอย่างหนึ่งที่สามารถถ่ายโอนได้ แต่ยังคงอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ให้ไว้ในประกาศความเป็นส่วนตัวที่มีมาก่อน เว้นแต่ในกรณีที่ ท่านได้ให้ความยินยอมเป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ หากมีกรณีที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ หรือสินทรัพย์ทั้งหมดของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เข้าถือครอง ข้อมูลของท่านก็ย่อมเป็นหนึ่งใน สินทรัพย์ที่จะถูกถ่ายโอนไปด้วยเช่นกัน โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะดำเนินการแจ้ง ให้ผู้ใช้งานทราบล่วงหน้าก่อนการดำเนินการใดๆ

3. การเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์การใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของนักศึกษา ตามวัตถุประสงค์ ของการเก็บรวบรวมเท่านั้น ในกรณีที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ข้อมูล ส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์อื่น มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะดำเนินการแจ้ง ให้ท่านทราบและอธิบายถึงฐานทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องก่อนหรือขณะดำเนินการดังกล่าว

4. ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านถูกเก็บรวบรวมอย่างไร

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบการรับสมัครงาน และกระบวนการจ้างงาน รวมทั้งในกรณีที่บุคลากรนำส่งข้อมูลเอง

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์จะเก็บรวบรวมและประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลผ่านกิจกรรม ที่เกี่ยวกับ การจ้างงานต่าง ๆ ตลอดระยะเวลาที่ ท่านทำงานให้กับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

5. ระยะเวลาการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของบุคลากรตราบเท่าที่มีความจำเป็นเพื่อ วัตถุประสงค์ของการเก็บรวบรวม ซึ่งหมายความรวมถึงข้อกำหนดในกระบวนการทางกฎหมาย บัญชี และการรายงาน ตามที่ระบุในหัวข้อที่ 3

ในกรณีที่ท่านมิได้เป็นผู้สมัครงาน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อีกต่อไป มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะเก็บรักษาและ/หรือทำลายข้อมูล ส่วนบุคคลของท่านตาม นโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

6. สิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

ตามเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนดบุคลากรมีสิทธิ ดังต่อไปนี้

  • สิทธิในการได้รับแจ้ง มหาวิทยาลัยฯ จะมีการแจ้ง “ประกาศการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice)” ที่มีรายละเอียดวัตถุประสงค์ในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยที่ชัดเจน
  • สิทธิในการเพิกถอนความ ท่านสามารถขอเพิกถอนความยินยอมที่เคยให้มหาวิทยาลัยฯ ไว้ได้
  • สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล ท่านสามารถขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน และขอ สำเนาข้อมูลส่วนบุคคล
  • สิทธิในการแก้ไขข้อมูล ท่านสามารถขอปรับปรุงแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องได้ เพื่อให้ข้อมูลดังกล่าวมีความถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน
  • สิทธิในการลบข้อมูล ท่านสามารถขอให้มหาวิทยาลัยฯ ลบหรือทำลาย หรือทำให้ ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
  • สิทธิในการโอนข้อมูล ในกรณีที่ระบบข้อมูลของมหาวิทยาลัยฯ รองรับการอ่านหรือใช้งาน โดยทั่วไปด้วยเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ทำงานอัตโนมัติ และสามารถใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ได้ด้วยวิธีการอัตโนมัติ ท่านสามารถขอรับสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลของท่านได้ รวมถึงขอให้มีการ โอนถ่ายข้อมูลดังกล่าวไปยังผู้ควบคุมข้อมูลอื่นโดยอัตโนมัติได้ และขอรับข้อมูลส่วน บุคคลที่มีการส่งหรือโอนดังกล่าวได้
  • สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูล ท่านสามารถขอให้มหาวิทยาลัยฯ ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้
  • สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูล ท่านสามารถขอคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลได้

ทั้งนี้ ในกรณีที่คำร้องขอใช้สิทธิซึ่งอาจจะมีความซับซ้อน หรือมีการทำสำเนาจำนวนมาก มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะพิจารณาเก็บค่าธรรมเนียมตามความเหมาะสม โดยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จะพิจารณาและแจ้งผลการพิจารณาตามคำร้องของผู้สมัครงานภายใน 30 วันนับแต่วันที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ได้รับคำร้องขอดังกล่าว รวมถึงมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์มีสิทธิที่จะปฏิเสธคำร้องดังกล่าวตามความเหมาะสม

7. การเปิดเผยข้อมูล

มหาวิทยาลัยฯ จะไม่เผยแพร่ จำหน่าย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน โอนหรือเปิดเผยข้อมูล ส่วนบุคคลของท่านที่มหาวิทยาลัยฯ ได้เก็บรวบรวมไว้ให้แก่บุคคลภายนอก เว้นแต่ เป็นการดำเนิน การตามกำหนดในประกาศนี้ หรือเมื่อได้รับการร้องขอหรือได้รับความยินยอมจากท่าน หรือภายใต้บางสถานการณ์ ดังนี้

  • กรณีที่มหาวิทยาลัยฯ เชื่อโดยสุจริตว่าเป็นข้อบังคับทางกฎหมาย หรือเป็นการ ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือเป็นการดำเนินการตามหมายศาล คำสั่งศาล หรือกระบวนการยุติธรรม
  • เป็นการแบ่งปันข้อมูลกับหน่วยงานอื่นที่เชื่อถือได้ ซึ่งทำงานในนามหรือทำงานให้มหาวิทยาลัยฯ ภายใต้ข้อตกลงหรือสัญญาที่ให้มั่นใจว่าหน่วยงานดังกล่าวจะมีการปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเช่นเดียวกับมหาวิทยาลัยฯ โดยการแบ่งปันข้อมูลดังกล่าวอาจมีทั้งกรณีการจัดเก็บข้อมูล และการใช้ข้อมูลเพื่อส่งมอบบริการแก่ท่าน หรือเพื่อการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมของมหาวิทยาลัยฯ เช่น การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล การประชาสัมพันธ์ เป็นต้น
  • กรณีที่มหาวิทยาลัยฯ เชื่อโดยสุจริตและมีเหตุผลที่ดีที่จำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มหาวิทยาลัยฯ เห็นว่าสำคัญยิ่งกว่าการปกป้องความเป็นส่วนตัวของท่าน และไม่ได้เกิดขึ้นบ่อย ได้แก่
    • เพื่อการสืบสวน สอบสวน และระงับเหตุอาชญากรรม การทุจริต การฉ้อโกง หรือ
    • เพื่อป้องกันหรือรับมือกับภัยคุกคามตลอดจนการกระทำที่อาจสร้างความเสียหายต่อสิทธิ ทรัพย์สิน หรือความปลอดภัยของสาธารณะ รวมถึงของมหาวิทยาลัยฯ และผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือ
    • เพื่อป้องกันหรือรับมือการกระทำที่ละเมิดต่อข้อตกลงการใช้บริการของมหาวิทยาลัยฯ หรือต่อกฎหมาย

ในกรณีที่มหาวิทยาลัยฯ มีความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยทางกายภาพของท่าน หรือเห็นว่ามหาวิทยาลัยฯ ต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อปกป้องท่านจากภัยคุกคามหรือการกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ท่านเสียหาย มหาวิทยาลัยฯ จะหารือกับท่าน และถ้าเป็นไปได้ มหาวิทยาลัยฯ จะขออนุญาตท่านในการแจ้งสถานการณ์ ที่ท่านประสบอยู่กับบุคคลอื่นที่จำเป็นต้องทราบ ก่อนการดำเนินการนั้น

หากมีกรณีดังกล่าวข้างต้นเกิดขึ้น มหาวิทยาลัยฯ จะมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานว่า ข้อมูลใดที่มหาวิทยาลัยฯ มีการเปิดเผยภายใต้เหตุผลและสถานการณ์ใด เพื่อท่านสามารถทราบได้ว่า มหาวิทยาลัยฯ ได้มีการ ดำเนินการอะไรไปเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน

8. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

มหาวิทยาลัยฯ ตระหนักถึงความไว้วางใจของท่านที่ได้ให้ข้อมูลที่สำคัญกับมหาวิทยาลัยฯ และโดยกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลกำหนดให้มหาวิทยาลัยฯ ในฐานะผู้ควบคุม ข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีมาตรการและการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้มั่นใจว่า ข้อมูลเหล่านั้น จะได้รับการปกป้องดูแล และพร้อมให้เจ้าของข้อมูลเข้าถึงและตรวจสอบ

โดยตัวอย่างมาตรการและการจัดการด้านความมั่นคงปลอดภัยในการปกป้องดูแลข้อมูลส่วนบุคคลที่มหาวิทยาลัยฯ มีการนำมาใช้ เช่น

  • กำหนดมาตรการป้องกันทางกายภาพ และการจำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลไว้เฉพาะพนักงานของ มหาวิทยาลัยฯ ที่มีความจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลนั้น ๆ (Need to Know Basis)
  • กำหนดมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบและข้อมูล เช่น การใช้รหัสผ่านเพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการ เป็นต้น เพื่อป้องกันมิให้ผู้ที่ไม่มีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน
  • กำหนดกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหา หรือเหตุอัน น่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล โดยหากเกิดเหตุดังกล่าว มหาวิทยาลัยฯ จะรีบแจ้ง ท่านทราบโดยเร็ว รวมถึงแจ้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ดูแลเรื่องนี้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแจ้ง
  • มีการอบรมพนักงานของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อสร้างความตระหนัก และความเข้าใจ ในขั้นตอนการปฏิบัติงานในการดูแลคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการรับมือกับปัญหา หรือเหตุอันน่าสงสัยว่าจะมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
  • ทบทวนกระบวนการทำงานในการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อให้มั่นใจว่ากระบวนการทำงานเป็นไปอย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
  • ตรวจสอบ ทดสอบระบบที่มีการจัดเก็บหรือประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้มั่นใจว่าระบบ หรือเทคโนโลยีที่ใช้มีความมั่นคงปลอดภัย

อย่างไรก็ตาม โปรดตระหนักว่า การส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายสาธารณะหรือการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ สาธารณะหรือแม้แต่การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสารส่วนตัวของท่านซึ่งติดมัลแวร์ มีความเสี่ยง และมหาวิทยาลัยฯ ไม่สามารถรับประกันความปลอดภัยในข้อมูลของท่าน ซึ่งอาจถูกลักลอบเข้าถึง หรือถูกเปิดเผย หรือถูกโอนถ่ายออกไป และทำให้ท่านเกิดความเสียหายได้

หากท่านต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในระบบสารสนเทศ ท่านสามารถศึกษาได้จาก “นโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ” ของมหาวิทยาลัยฯ

9. การติดต่อกับมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

ในกรณีที่พนักงานมีคำถามเกี่ยวกับการเก็บรวมรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของพนักงาน ท่านสามารถติดต่อเจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

  • สถานที่ติดต่อ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ 110/1-4 ถนนประชาชื่น หลักสี่ กทม 10210
  • โทรศัพท์ : 02-954-7300 โทรสาร 02-589-9605
  • อีเมล์ : [email protected]