EN
CH
Login
ระบบทะเบียนนักศึกษา
เกี่ยวกับเรา
แนะนำ มธบ.
คณะผู้บริหาร
ปฏิทินการศึกษา
ปฏิทินกิจกรรม
สื่อประชาสัมพันธ์
คณะและวิทยาลัย
คณะนิติศาสตร์ปรีดี พนมยงค์
คณะศิลปศาสตร์
คณะนิเทศศาสตร์
คณะศิลปกรรมศาสตร์
คณะรัฐประศาสนศาสตร์
คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม
วิทยาลัยครีเอทีฟดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์เทคโนโลยี (ANT)
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)
วิทยาลัยการแพทย์แบบบูรณาการ (CIMw)
วิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี (CITE)
วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน (CADT)
วิทยาลัยนานาชาติ (IC)
วิทยาลัยครุศาสตร์
วิทยาลัยนานาชาติจีน (CIC)
Graduate School
นักศึกษา
ศูนยเรียนรู้/งานวิจัย
ศูนย์เรียนรู้และหอสมุด
DPURIIS
ศูนย์บริการ RDI
สำนักงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์
ศูนย์การเรียนรู้ภาษาเชิงดิจิทัล
งานประชุมวิชาการ
การประชุมวิชาการระดับชาติครั้งที่ 19 และเครือข่ายวิจัยประชาชื่นครั้งที่ 8
วารสารสุทธิปริทัศน์
วารสารนิเทศศาสตร์
ผลงานงานวิจัย
ติดต่อเรา
เบอร์ติดต่อภายใน
ร่วมงานกับเรา
แผนที่การเดินทาง
Social media
รับเรื่องร้องเรียน
SDGs
FAQ
นักศึกษาใหม่
นักศึกษาปัจจุบัน
สมัครเรียน
ปริญญาตรี 1/2568
ปริญญาตรี 1/2567
ตรวจสอบสถานะการสมัคร
หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
หน้าหลัก
หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
หอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
อาคาร 6 (อาคาร ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์) ชั้น 7
เปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.30-12.00 และ 13.00-16.00 น.
โทรศัพท์ 02-954-7300 ต่อ 231
ชาติกำเนิด
ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ เกิดที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านศิลปหัตถกรรมเครื่องถม และเครื่องเงิน ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณีเก่าแก่ รวมถึงอาหารและผลไม้อันเลื่องชื่อ
เปิดให้บริการ วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ เวลา 08.30-12.00 และ 13.00-16.00 น.
โทรศัพท์ 02-954-7300 ต่อ 231
ดร.ไสว เป็นบุตรคนโตของนายเฟื่อง สุทธิพิทักษ์ ข้าราชการกรมสรรพากร มารดาเสียชีวิตตั้งแต่ ดร.ไสว ยังเล็ก จึงอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของคุณยายเรื่อยมา ได้รับการปลูกฝังให้เป็นผู้มีความอดทน มีวินัย และซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นคุณสมบัติประจำตัวของ ดร.ไสว
ชีวิตวัยเด็ก
ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ เรียนหนังสือชั้นประถมที่โรงเรียนประจำอำเภอปากพนัง และชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศ โดยอยู่ในความปกครองของพระครูปลัดสง ธมฺมโชโต เจ้าอาวาสวัดจัน-ทาราม
ขณะเรียนชั้นมัธยมปีที่ 2 ได้เป็นนายหมู่ลูกเสือ ดร.ไสว พร้อมเพื่อนอีก 7 คน ได้เข้าร่วมในกิจกรรมของลูกเสือ คือขี่จักรยานทางไกลจากนครศรีธรรมราช
เลียบทางรถไฟผ่านจังหวัดต่างๆ เป็นเวลา 11 วัน จนมาถึงสถานีหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร อันเป็นกิจกรรมหนึ่งที่อยู่ในความทรงจำของ ดร.ไสว ตลอดมา เพราะนอกจากได้รับความรู้เกี่ยวกับจังหวัดที่ผ่านมาแล้ว ยังพิสูจน์ให้ทุกคนเห็นถึง ความอดทน และมานะพยายาม นอกจากนั้น ยังสร้างชื่อเสียงให้แก่โรงเรียนอีกด้วย
ภูมิปัญญานครศรีธรรมราช
นครศรีธรรมราช เป็นจังหวัดที่ได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสน์ ปัญญาชนและคนช่าง เมืองที่มีศิลปหัตถกรรมสวยงามล้ำค่าหลายชนิดโดยเฉพาะเครื่องถม
ภูมิปัญญานครศรีธรรมราช
และศิลปหัตถกรรมที่ทำจากหญ้าลิเภา มีประเพณีงานบุญที่มีการแห่ผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ปูชนียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์
บรรยากาศภายในห้องนี้ จึงอบอวลไปด้วยเรื่องราวอันเป็นความรู้และภูมิปัญญาของชนชาวนครศรีธรรมราช
ศึกษาต่อในกรุงเทพฯ
หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมต้นที่โรงเรียนเบญจมราชูทิศแล้ว ดร.ไสว ได้เข้ามาศึกษาต่อในชั้นมัธยมปลายที่โรงเรียนอำนวยศิลป์ เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้วได้รับทุนของจังหวัดระนอง ให้ศึกษาระดับอุดมศึกษาที่โรงเรียนฝึกหัดครูพระนคร 1 ปี จากนั้น จึงไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จบเป็นธรรมศาสตรบัณฑิต และเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ในพ.ศ. 2484 อันเป็นช่วงเวลาที่กำลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2
ชีวิตสมรสและการรับใช้ชาติ
ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ สมรสกับ นางสาวสนม เกตุทัต ซึ่งเป็นน้องสาวของอาจารย์สนั่น เกตุทัต ผู้ร่วมก่อตั้งมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2486 ที่ตึกโดม มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดยมี ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยเป็นผู้สวมมงคลและประสาทพร ดร.ไสว และอาจารย์สนม มีธิดา 2 คนคือ ดร.เลิศลักษณ์ บุรุษพัฒน์ และอาจารย์เฉิดโฉม จันทราทิพย์ เป็นครอบครัวที่เต็มไปด้วยความรักและความอบอุ่น
ดร.ไสว ทำงานเป็นข้าราชการที่กรมบัญชีกลาง ก่อนจะลาออกมาสมัครรับใช้ชาติด้วยการเข้าร่วมเป็นเสรีไทย และเป็นผู้แทนไทยในการประสานงานกับกองบัญชาการกองทัพพันธมิตร เมื่อสงครามยุติ ดร.ไสว จึงตัดสินใจสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ได้เป็น ส.ส. ในวัย 30 ปี พร้อมกับได้ดำรงตำแหน่งเลขานุการนายกรัฐมนตรี ในคณะรัฐบาลที่พลเรือตรีถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
เก้าปีที่สิงคโปร์
ความผันผวนทางการเมือง ทำให้ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ต้องจากบ้านเกิดเมืองนอน
ไปพำนักในประเทศสิงคโปร์ ในฐานะผู้ลี้ภัยการเมือง เปลี่ยนบทบาทของตนเองเป็นนักเขียน นักแปล เป็นพ่อค้า นักธุรกิจ
รวมทั้งเป็นมัคนายกให้กับวัดอานันทเมตยาราม ซึ่งเป็นวัดไทยในสิงคโปร์
กลับสู่มาตุภูมิ
ดร.ไสว ได้กลับสู่แผ่นดินแม่อีกครั้ง ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2501 หลังจากที่รายงานตัวเรียบร้อยแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ดร.ไสว พร้อมครอบครัว ได้ไปนมัสการพระแก้วมรกตที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต ดร.ไสว หันหลังให้การเมืองอย่างสิ้นเชิง มุ่งสนใจ และให้ความสำคัญกับการค้าและธุรกิจ ในตำแหน่งกรรมการหอการค้าไทย ขณะเดียวกันก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการค้าด้วย (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย)
ก่อตั้งสถาบันการศึกษา สร้างนักธุรกิจเพื่อสร้างชาติ
หลังจากที่ขอลาออกจากการเป็นผู้อำนวยการวิทยาลัยการค้าแล้ว ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ได้หารือกับอาจารย์สนั่น เกตุทัต ซึ่งขณะนั้นรับราชการในตำแหน่งอธิบดีกรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง ถึงเรื่องจะก่อตั้งสถาบันการศึกษาของตนเอง เมื่อทั้งสองท่านมีความเห็นและมีปณิธานตรงกันว่า “จะทำงานด้านการศึกษา เพื่อประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ” โรงเรียน “ธุรกิจบัณฑิตย์” จึงเกิดขึ้น เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 พัฒนาเป็น “วิทยาลัย” และเติบโตเป็น “มหาวิทยาลัย” ในที่สุด
สนั่นพฤกษ์
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นสถาบันการศึกษาที่อยู่ท่ามกลางธรรมชาติอันสวยงาม ร่มรื่นด้วยต้นไม้นานาพรรณ
เป็นต้นไม้น้อยใหญ่ที่อาจารย์สนั่น เกตุทัต ผู้ร่วมก่อตั้ง ได้ลงมือปลูกด้วยตนเอง ตั้งแต่ยังเป็นกล้าไม้ จนกระทั่งเติบใหญ่ ผลิดอกออกผล แตกกิ่งก้านสาขา ให้ร่มเงาแก่ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมเยือน ดุจเดียวกับการเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งของมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตออกสู่สังคมอย่างต่อเนื่อง
สู่ความสำเร็จ
ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ เป็นผู้ที่มีความเชื่อว่า การเรียนรู้ไม่มีวันจบสิ้น จึงได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยแปซิฟิก สเตทส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จการศึกษา ขณะมีอายุ 70 ปี วิทยานิพนธ์ที่ ดร.ไสว เสนอคือเรื่อง ศิลปหัตถกรรมเครื่องถมไทย ลวดลายที่ปรากฏในวิทยานิพนธ์ ได้ถูกนำมาให้ช่างแกะสลักอย่างวิจิตรในชุดตักบาตรและชุดเครื่องหอมถมทอง
ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ได้ทำประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ทั้งต่อประเทศชาติ ต่อสังคม และต่อครอบครัว ท่านจึงได้รับพระราชทานรางวัล ได้รับรางวัล รวมถึงโล่ และเกียรติบัตร จากองค์กร และหน่วยงานต่างๆ เป็นอันมาก อาทิ ได้รับพระราชทานรางวัลพระเกี้ยวทองคำ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะสถาบันการศึกษาที่ส่งเสริมการใช้ภาษาไทยดีเด่น รับโล่และเกียรติบัตรพ่อตัวอย่างแห่งชาติ จากองคมนตรี รับโล่และคำสดุดีเกียรติคุณ จากทบวงมหาวิทยาลัย เป็นต้น
เหนือสิ่งอื่นใดคือ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานแจกันดอกไม้ ขณะที่ ดร.ไสว พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 พระราชทานพวงมาลาเมื่อ ดร.ไสว ถึงแก่กรรม และเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานเพลิงศพด้วย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างสูงยิ่งต่อ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์
ความทรงจำอันอมตะ
ห้องสุดท้ายที่งดงามด้วยประติมากรรมนูน-สูง ที่เล่าเรื่องราวของ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นเสมือนตำนานที่เล่าขานกันอย่างไม่รู้จบ
เพิ่มเพื่อนใน LINE ด้วย QR Code