2511
วันที่ 30 พฤษภาคม อาจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต ร่วมกันก่อตั้ง “สถาบันธุรกิจบัณฑิตย์” ขึ้นที่ริมคลองประปา ถนนพระรามที่ 6 โดยดำเนินการสอนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
นายกสภามหาวิทยาลัย
โลกในปัจจุบันต้องการแรงงานที่มีความรู้และทักษะซึ่งตอบสนองความต้องการของอุตสาหกรรมยุคศตวรรษที่ 21 สถาบันอุดมศึกษาจาเป็นต้องปรับเปลี่ยนหรือปฏิรูปการจัดการการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตให้มีทักษะใหม่ในการสร้างผลงานและนวัตกรรม นอกจากนี้ยังต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อสร้างทักษะใหม่ ๆ และการเรียนรู้ตามความสนใจรายบุคคล
ในขณะเดียวกัน การจัดการศึกษาในโลกอนาคตได้รับเอาผลจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีใหม่ ๆ เช่น การใช้เทคโนโลยีเสมือน เทคโนโลยีเพิ่มขยาย การใช้ระบบการพิมพ์สามมิติ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้เทคโนโลยี และการจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ เข้ามาใช้ในการออกแบบการเรียนรู้ให้เกิดการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การเรียนรู้แบบผสมผสานที่ผนวกการเข้าชั้นเรียนเข้ากับการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยี และการเรียนรู้ผ่านคอร์สออนไลน์สำหรับประชาชนทั่วไป หรือที่เรียกว่า MOOC การเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมเหล่านี้ผลักดันให้ มหาวิทยาลัยต้องทบทวนบทบาทและวิธีการจัดการเรียนการสอนใหม่สำหรับโลกอนาคตที่กาลังจะมาถึง
ก้าวที่สำคัญต่อไปของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คือการปรับตัวสู่บริบทใหม่ของสถาบันอุดมศึกษาที่กาลังเปลี่ยนแปลงไป และกาหนดทิศทาง การพัฒนามหาวิทยาลัยให้ชัดเจน เพื่อสร้างจุดแข็งที่แตกต่างของคุณภาพทางด้านวิชาการ การพัฒนาการบริหารจัดการและการสร้างอัตลักษณ์ขององค์กรให้เด่นชัด
ในวาระแห่งการครบรอบ 50 ปีแห่งความมั่นคงของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผมขอแสดงความชื่นชมยินดีด้วย ผมมั่นใจว่ามหาวิทยาลัยจะมีความก้าวหน้า เข้มแข็ง และเติบโตอย่างยั่งยืนคู่สังคมไทยไปตลอด
การเดินทางของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เริ่มต้นเมื่อครึ่งศตวรรษที่แล้ว เมื่ออาจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต ผู้มีวิสัยทัศน์ ร่วมกัน ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2511 ด้วยปรัชญา “นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ” มหาวิทยาลัยจึงเริ่มต้นจากการเป็นวิทยาลัย ที่เน้นการสอนความรู้ด้านธุรกิจ โดยท่านผู้ก่อตั้งทั้งสองมีความเชื่อว่า ความรู้ทางธุรกิจและความเป็นผู้ประกอบการของคนไทย จะสามารถผลักดัน ให้ประเทศไทยก้าวสู่ความมั่งคั่งและยั่งยืน แม้ท่านทั้งสองได้ล่วงลับไปแล้ว ปรัชญาของท่านยังคงเป็นเครื่องนาทางให้กับมหาวิทยาลัยในปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลา 50 ปี มหาวิทยาลัยได้ปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ไม่ว่าเล็กหรือใหญ่มาโดยตลอด และได้พัฒนางานวิชาการ รวมถึงการจัดการเรียนการสอนมาอย่างต่อเนื่อง ในวันนี้ วันที่อิทธิพลของเทคโนโลยีเข้ามาเปลี่ยนโลก มหาวิทยาลัยได้กำหนดแผนการพัฒนาที่ชัดเจนทั้งระบบ ซึ่งรวมถึงการพัฒนางานวิจัย การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนานักศึกษา และการบริหารจัดการภายในสถาบัน รวมถึงการเชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมภายนอก
ในวาระที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้เดินทางมาครึ่งศตวรรษแล้วนั้น เรามุ่งมั่นที่จะก้าวเดินต่อไป โดยจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสังคมและทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมสาหรับประเทศไทยและโลกในอนาคต
อธิการบดี
ปี พ.ศ. 2561 นับเป็นปีที่ 50 แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งแรก ๆ ของประเทศไทย ในช่วงเวลาห้าทศวรรษที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยได้แสดงให้เห็นการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอมาตลอด นับจากการตั้งต้นเป็นวิทยาลัยธุรกิจขนาดย่อมไปสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ มีการเปิดสอนทั้งในระดับปริญญาตรีไปจนถึงปริญญาเอก นักศึกษาซึ่งแต่เดิมเป็นนักศึกษาไทยล้วน ในปัจจุบันก็มีนักศึกษานานาชาติเข้ามาเลือกศึกษาในสาขาวิชาที่ต้องการ บัณฑิตทุกระดับของธุรกิจบัณฑิตย์ได้ออกไปเป็นผู้นำและ ผู้ทำคุณประโยชน์ในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ของตน บัณฑิตเหล่านี้คือความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วาระครบรอบ 50 ปีนี้เวียนมาถึงอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง แม้จะก้าวหน้าอย่างมั่นคงมาตลอด 50 ปีที่ผ่านมา แต่มหาวิทยาลัยก็พร้อมแล้ว ที่จะเผชิญกับความท้าทายและทางเลือกซึ่งถาโถมเข้ามาพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางด้านเทคโนโลยี สังคม และเศรษฐกิจ และก้าวต่อไปอย่างมั่นคงในโลกศตวรรษที่ 21
วันที่ 30 พฤษภาคม อาจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต ร่วมกันก่อตั้ง “สถาบันธุรกิจบัณฑิตย์” ขึ้นที่ริมคลองประปา ถนนพระรามที่ 6 โดยดำเนินการสอนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
“สถาบันธุรกิจบัณฑิตย์” ได้รับอนุญาต จากกระทรวงศึกษาธิการให้เป็น “วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” เปิดการเรียนการสอน คณะบริหารธุรกิจเป็นคณะแรก
มีผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจ จำนวน 81 คน นับเป็นบัณฑิตรุ่นแรกของวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ได้ย้ายสถานที่ตั้ง มาที่ริมคลองประปา ถนนประชาชื่น บนเนื้อที่ 36 ไร่ เพื่อรองรับจำนวนนักศึกษาที่เพิ่มขึ้น และเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการขอเลื่อนสถานะเป็นมหาวิทยาลัยในอนาคต
อาจารย์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บริหารงานด้วยปรัชญา “นักธุรกิจเป็นผู้สร้างชาติ”
ทบวงมหาวิทยาลัยอนุมัติให้ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เลื่อนสถานะเป็น “มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์” ถือเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยเอกชนรุ่นบุกเบิกของประเทศไทย
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.ไพฑูรย์ พงศะบุตร ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บริหารงานด้วยหลักการ “คุณภาพ ประสิทธิภาพ และการทำงานเป็นทีม”
ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.บุญเสริม วีสกุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บริหารงานด้วยวิสัยทัศน์ “แหล่งสร้างปัญญาภายใต้ สิ่งแวดล้อมที่ดี”
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่นำระบบบริหารคุณภาพมาใช้ และได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานสากล ISO 9001:2000 ทั้งองค์กร
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สมัยที่ 1 บริหารงานด้วย วิสัยทัศน์ “แหล่งวิชาการประสานความรู้ธุรกิจ”
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ก่อตั้ง Dhurakij Pundit University International College (DPUIC) เพื่อรองรับผู้ที่ต้องการศึกษาในหลักสูตรนานาชาติ
รองศาสตราจารย์ ดร.อนุมงคล ศิริเวทิน ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บริหารงานด้วยแนวคิด “Proud to be DPU”
เพื่อก้าวสู่ระดับสากล มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จึงร่วมมือกับ Kunming University of Science and Technology (KUST) แห่งประเทศจีน ก่อตั้งวิทยาลัยนานาชาติจีน ภายใต้ชื่อ KUST-DPU Chinese International College (KDCIC)
รองศาสตราจารย์ ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี สมัยที่ 2 บริหารงานด้วย วิสัยทัศน์ “มหาวิทยาลัยก้าวหน้า”
ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี บริหารงานด้วยแนวคิด “NEW BUSINESS DNA”
ครบรอบ 50 ปี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
ภายใต้การนำในการบริหารของ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ อธิการบดีคนปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะสร้างทรัพยากรมนุษย์แห่งอนาคตและผู้ประกอบการของศตวรรษที่ 21 สมตามปรัชญาที่ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ และอาจารย์สนั่น เกตุทัต ผู้ร่วมก่อตั้งทั้งสองของมหาวิทยาลัยได้วางไว้ นั่นคือ
การปฏิวัติอุตสาหกรรม 4.0 และอิทธิพลของเทคโนโลยีที่เข้ามาเปลี่ยนโลกส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการศึกษาในระดับอุดมศึกษา โลกหลังการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ต้องการทรัพยากรมนษุยที่มีคุณสมบัติเปลี่ยนไปโดยสิ้นเชิง มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาระดับอื่น ๆ จำเป็นต้องพิจารณาว่า หลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนแบบไหนจึงจะสามารถผลิตทรัพยากรมนุษย์ในยุคศตวรรษ ที่ 21 ซึ่งต้องมีทักษะดิจิทัล มีความสร้างสรรค์ และสร้างนวัตกรรมได้ และในขณะเดียวกัน เพราะวิถีชีวิตและวิถีการทำงานของคนสมัยใหม่ต้องใช้ความร่วมมือกันเป็นปัจจัยสำคัญ ทักษะการสื่อสารจึงเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ทุกคนต้องมีนอกจากทักษะดังกล่าวแล้ว มนุษย์ในยุค 4.0, 5.0 และต่อ ๆ ไปต้องสามารถตามการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีให้ทัน และสามารถเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของพื้นฐานการประกอบธุรกิจและธุรกิจโมเดลใหม่ที่เกิดขึ้นจาก Digital Transformation ในครั้งนี้
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้เลือกคำว่า “New Business DNA” เป็นคำที่ใช้ในการสื่อสารวิสัยทัศน์นี้กับทุกภาคส่วนทั้งภายในและภายนอกสถาบัน
ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ มหาวิทยาลัยได้จัดกลุ่มจุดแข็งของ มหาวิทยาลัยเป็น 3 กลุ่ม เพื่อให้เอื้อต่อการบริหารจัดการและการร่วมมือกัน ระหว่างคณะและสาขาวิชา ได้แก่
1. กลุ่มสุขภาพและสุขภาวะส่วนบุคคล
2. วิถีชีวิตและสันทนาการ
3. นวัตกรรมและการออกแบบทางเทคโนโลยี
วิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ปรากฏอย่างชัดเจนในหลักสูตรต่าง ๆ ในระดับปริญญาตรี หลักสูตรจะมีองค์ประกอบสำคัญฝังอยู่ เพื่อเป็นหลักประกันว่า บัณฑิตที่จบตามหลักสูตรนั้น ๆ จะสามารถตอบสนองความต้องการในยุคศตวรรษที่ 21 องค์ประกอบสำคัญนี้เรียกว่า ดีพียู คอร์ ซึ่งมีพื้นฐานมาจากการศึกษาแบบ STEM แต่ได้ปรับให้เข้ากับบริบทของมหาวิทยาลัย ดังนี้
ดีพียู คอร์ เน้นการพัฒนาทักษะ 6 ด้าน และผลักดันให้นักศึกษานำความรู้มาประยุกต์ใช้และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชิ้นงานต่าง ๆ ที่นักศึกษาทำในระหว่างการเรียน
ส่วนสำคัญของดีพียู คอร์ คือการนำเสนอชิ้นงานที่เรียกว่า Capstone Projects ของทีมนักศึกษาจากต่างสาขาและประสบการณ์ หัวข้อโครงการอาจเกิดจากนักศึกษาเองหรือการชี้แนะจากพันธมิตรในเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
นอกเหนือจากการจัดหลักสูตรในระดับปริญญา มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งสถาบันดีพียู-เอ็กซ์ เพื่อให้มีระบบนิเวศที่เหมาะกับการสร้างผู้ประกอบการแห่งศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ยังมีการจัดอบรมระยะสั้นเพื่อให้นักศึกษา ศิษย์เก่า และประชาชนทั่วไป ได้เพิ่มเติมความรู้และทักษะใหม่ เช่น หลักสูตร Blockchain เทคโนโลยีสำหรับผู้ประกอบการ
ภารกิจสำคัญของดีพียู-เอ็กซ์ คือ การสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างพลัง และการสนับสนุนการเรียนรู้ของนักศึกษา เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทำงานจริง ในขณะเดียวกัน ดีพียู-เอ็กซ์ ก็ทำหน้าที่ฟูมฟักนักศึกษาให้เป็นผู้ประกอบการ สนับสนุนการเปลี่ยนประสบการณ์ในห้องเรียนให้กลายเป็นธุรกิจตั้งต้น
เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุผลตามเป้าหมาย มหาวิทยาลัยได้จัดพื้นที่ การเรียนรู้แบบใหม่ที่ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม เช่น Makerspace, Coworking spaceและ Collaborative space
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อสนับสนุนกิจกรรม การเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ นักศึกษามีโอกาสคุ้นเคยและเรียนรู้การใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลอุปกรณ์ และวิธีทำงานต่าง ๆ เช่น แชทบอท เครื่องพิมพ์ 3 มิติ โรบอท โดรน ภาพเสมือน 3 มิติ และปัญญาประดิษฐ์
แนวคิดและรูปแบบการทำงานเหล่านี้จะไปผนวกกับการเรียนการสอนแบบอิงปัญหาอิงสถานการณ์สมมุติ และพึ่งพาทีม ทำให้นักศึกษามีประสบการณ์จริง
หัวใจหลักในการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์คือ การจัดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ (Outcome-based Education) จากแนวคิดดังกล่าว มหาวิทยาลัยต่อยอดแนวทางการจัดหลักสูตร เพื่อสร้างบัณฑิตแบบ New Business DNA โดยใช้กรอบแนวคิดการศึกษาเชิงผลิตภาพ (Productive Education) และการจัดการเรียน การสอนแบบใช้ปัญหาเป็นพื้นฐาน (Problem-based Education) โดยมุ่งเน้นที่การจัดกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาหลักสูตรที่เน้น การผลิตบัณฑิตให้ “คิดเป็น” “ทำเป็น” และ “สร้างผลงานที่ดีได้” เพื่อให้ สอดรับกับสถานการณ์ในโลกแห่งการทำงานจริง
นอกจากการจัดการเรียนการสอนแบบอิงปัญหาแล้ว การจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ (Collaborative Learning) ที่ส่งเสริมให้นักศึกษาทำกิจกรรมสร้างผลงานร่วมกันด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน และมีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งนี้เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตาม เป้าหมายที่กำหนด
คู่ขนานไปกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมการบิน วิทยาลัยการพัฒนาและฝึกอบรมด้านการบิน หรือ CADT มีหลักสูตรหลากหลายที่เน้นการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการบินโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นหลักสูตรระดับปริญญาหรือหลักสูตรประกาศนียบัตร โดยวิทยาลัยนี้เป็นศูนย์อบรมด้านการบินที่ได้รับการรับรองโดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transportation Association: IATA) ให้เป็นศูนย์อบรมอย่างเป็นทางการประจำประเทศไทย (IATA Authorized Training Center) นักศึกษาหรือผู้เข้ารับการอบรมจะได้เรียนรู้และฝึกปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่มีอุปกรณ์พร้อมและได้ฝึกทักษะในสถานประกอบการที่เป็นคู่ความร่วมมือของวิทยาลัย
ด้วยมาตรฐานและความทันสมัยของหลักสูตร นักศึกษาจะสามารถต่อยอดทักษะและประสบการณ์ รวมทั้งพัฒนาศักยภาพให้พร้อมที่จะทำงานในอุตสาหกรรมการบินทั้งในประเทศและต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
องคก์รที่ส่งเสริมความปลอดภัย และมาตรฐานการบริการด้านการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ
ตำแหน่งแชมป์หุ่นยนต์แห่งประเทศไทย 6 ปีซ้อน เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชี้ให้เห็นถึงความชำนาญด้านนวัตกรรม ปัญญาประดิษฐ์ของวิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE) นอกจากนี้วิทยาลัยยังได้ร่วมมือกับบริษัท CT Asia Robotics จำกัด ผู้นำด้านการผลิตหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์ ที่จะผนึกกำลังกันเพื่อ ต่อเติมทักษะให้นักศึกษาก้าวไกลในอุตสาหกรรมอัจฉริยะ ซึ่งในวันนี้ได้ผนึกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน
บริษัทที่รวบรวมเหล่านักพัฒนาหุ่นยนต์ซึ่งมีประสบการณ์ไปแข่งขันหุ่นยนต์ระดับโลก เพื่อมุ่งพัฒนาหุ่นยนต์เชิงพาณิชย์สัญชาติไทยให้สามารถส่งออกไปยังนานาชาติ
ทักษะการบริหารงานทางด้านบัญชี ทำให้ผู้บริหารสามารถขับเคลื่อน ธุรกิจและสร้างผลกำไรอย่างต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยร่วมมือกับบริษัท SAP บริษัทซอฟต์แวร์สัญชาติเยอรมัน นำเอาซอฟต์แวร์ที่มีความทันสมัย ได้มาตรฐานระดับสากล มาให้นักศึกษาได้สัมผัส เรียนรู้ และมีประสบการณ์ตรง เพื่อสร้างเสริมความสามารถและความเชี่ยวชาญในการบริหารงานด้านบัญชีตลอดจนส่งเสริมให้นักศึกษาบริหารจัดการทรัพยากรและข้อมูลต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะผลิตนักศึกษา ที่มีคุณภาพ พร้อมเข้าร่วมงานในบริษัทนานาชาติได้
บริษัทซอฟต์แวร์จากประเทศเยอรมนี เจ้าของลิขสิทธิ์โปรแกรมการจัดการทรัพยากร ขององค์กรที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก
ในยุคที่เต็มไปด้วยการแข่งขัน ปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการทำธุรกิจ คือ การมีระบบโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ ทันสมัย สามารถกระจายสินค้าได้อย่างแม่นยำ ทั่วถึง และรวดเร็ว มหาวิทยาลัยจึงร่วมมือกับองค์กรด้านโลจิสติกส์ชั้นนำของประเทศ เพื่อถ่ายทอดนวัตกรรม เทคโนโลยี ตลอดจนส่งต่อประสบการณ์และการเรียนรู้เกี่ยวกับ การบริหารธุรกิจโลจิสติกส์และระบบห่วงโซ่อุปทาน ให้นักศึกษาพร้อมนาทักษะที่ได้รับ ไปประยุกต์ใช้ในการทำงานภายในองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน ทั้งในประเทศและในระดับนานาชาติ
บริษัทค้าปลีกชั้นนำของประเทศ ไทย ผู้จำหน่ายสินค้าและให้บริการเกี่ยวกับการก่อสร้าง ของตกแต่งบ้านและเครื่องใช้ต่าง ๆ ใน ครัวเรือน
ผลงานสร้างสรรค์ชั้นเยี่ยมล้วนเกิดจากประสบการณ์ที่มาจากการฝึกฝนและการลงมือปฏิบัติจริง นักศึกษาที่สนใจงานสร้างสรรค์ด้านนิเทศศาสตร์จึงได้ทำงานกับผู้ประกอบการพันธมิตรที่หลากหลาย เช่น พันธมิตรคุณภาพอย่าง MONO 29 ช่องทีวีสาระความบันเทิงอันดับต้น ๆ ของประเทศ ที่ร่วมกันปลุกปั้นนักสื่อสารผ่านองค์ความรู้ด้านวิชาการไปพร้อมกันกับการฝึกผลิตและสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์
กลุ่มบริษัทโมโนเป็นผู้นำในการสร้างสรรค์สื่อและข้อมูลความบันเทิง หรือ “Media and Content Conglomerate” ชั้นนำของเมืองไทย ที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในธุรกิจ ทีวีดิจิทัล
ปัจจุบันเกมไม่ได้ถูกจัดให้เป็นกิจกรรมไร้สาระอีกต่อไป เพราะในโลกเสมือนใบนี้ผู้เล่นจะต้องเอาจริง ผู้เล่นต้องผ่านการฝึกซ้อม วางแผน และออกแบบกลยุทธ์ในการคว้าชัยให้กับทีม ด้วยมันสมอง วิทยาลัยครีเอทีฟ ดีไซน์ แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเมนต์ เทคโนโลยี (ANT) จึงได้จับมือกับพันธมิตรชั้นนำจากวงการเกมออนไลน์อย่างบริษัทการีนา ออนไลน์ (ประเทศไทย) ผนึกกำลังกันเพื่อสร้างบัณฑิตให้มีทักษะด้านการออกแบบวิดีโอเกม รวมไปถึง ป้ันนักกีฬา eSports ผ่านหลักสูตรที่ครบเครื่องทั้งศาสตร์และศิลป์ในแง่ยุทธวิธีเพื่อผลักดันให้วงการ eSports ของไทยเติบโตจนสามารถแข่งขันในระดับสากล
ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเกมออนไลน์ยอดนิยม และจัดงานแข่งขันกีฬา eSports ระดับประเทศและระดับภูมิภาค
การแพทย์บูรณาการเป็นสาขาวิชาที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากคนหันมาสนใจสุขภาพมากขึ้น ด้วยเป้าหมายของการมีสุขภาพดีและมีอายุยืน วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM) ได้ร่วมมือกับพันธมิตรในการเตรียมความพร้อมของบัณฑิต เพื่อรองรับสังคมผ้สูงอายุที่กำลังมาถึง
โรงพยาบาลผิวหนังแห่งแรกของเมืองไทย ผู้ให้บริการด้านผิวหนังและความงามครบวงจรโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
อิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้ามาเปลี่ยนโลก ทำให้โลกในปัจจุบัน กลายเป็นพื้นที่ทางสังคมและเศรษฐกิจที่ไร้ขอบเขต ทำให้การดำรงชีวิตทุกวันของเราเปลี่ยนไป และเริ่มเห็นการผสานเข้าด้วยกันของภาคอุตสาหกรรม ต่าง ๆ และการเชื่อมโยงประเทศต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น การเปลี่ยนโลกโดยอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลนี้ทำให้ลักษณะ ทางภูมิศาสตร์ไม่เป็นอุปสรรคในการทำการค้า การแลกเปลี่ยน และ การติดต่อสื่อสารอีกต่อไป
จากการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ มหาวิทยาลัยมุ่งมั่นที่จะพัฒนาทรัพยากร มนุษย์ที่เหมาะสมและจำเป็นกับสถานการณ์โลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง และมีความเข้าใจความเชื่อมโยงของเขตเศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเขตเศรษฐกิจที่ขณะนี้เป็นที่จับตามองของนักลงทุนทั่วโลกคือ เขตเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับกลุ่มประเทศ CLMV อันได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังให้ความสาคัญกับประเทศจีนซึ่งเป็นประเทศ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของภูมิภาคเอเชีย ด้วยการขานรับนโยบายต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายเส้นทางสายไหม หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road: OBOR) ที่พาดผ่านระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) ของประเทศไทย
มหาวิทยาลัยให้ความสำคัญกับการจัดการการศึกษาในหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ทันสมัยให้กับนักศึกษาไทยและนักศึกษาจากประเทศในกลุ่ม CLMV ประเทศจีน และประเทศในยุโรป รวมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และถ่ายทอดวัฒนธรรมอันหลากหลายของนักศึกษานานาชาติ
นอกจากหลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยยังให้ความสำคัญกับหลักสูตรภาษาจีน โดยได้ตั้งวิทยาลัยจีนอาเซียน (CHINA-ASEAN International College: CAIC) ซึ่งบริหารจัดการหลักสูตรภาษาจีนในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก วิทยาลัย CAIC นี้มีเป้าหมายในการสร้างพื้นที่การเรียนรู้โดยใช้ภาษาจีนเป็นสื่อกลางทั้งนี้เพื่อเชื่อมโยงความสัมพันธ์ด้านเชื้อชาติและวัฒนธรรมเข้าด้วยกันอันจะก่อให้เกิดผลดีต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานในภูมิภาคในอนาคตโดยเฉพาะแรงงานที่ใช้ภาษาจีนเป็นภาษาที่สอง ซึ่งถือเป็นหนึ่งในภาษาที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของโลก โดยในปัจจุบันนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรดังกล่าวมีจำนวนสูงที่สุดในกลุ่มนักศึกษานานาชาติ
มหาวิทยาลัยมิได้มุ่งพัฒนาการเรียนการสอน การอบรม การใช้ภาษาจีนและการถ่ายทอดวัฒนธรรมจีนให้กับนักศึกษาอย่างเดียว แต่จัดการสอนและอบรมภาษาและวัฒนธรรมจีนให้กับนักธุรกิจไทย รวมทั้งเจ้าหน้าที่ในองค์กรภาครัฐและเอกชน ในขณะเดียวกันได้ร่วมกับสถาบันขงจื่อเส้นทางสายไหมทางทะเล (Maritime Silk Road Confucius Institute) ที่ตั้งขึ้นในมหาวิทยาลัยเพื่อเผยแพร่ภาษาและวัฒนธรรมจีนในประเทศไทย
นักศึกษาที่เข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตร ภาษาจีนนั้นมาจากกว่า 20 ประเทศทั่วโลก พวกเขามีโอกาส ได้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมถึงเรียนรู้วิธีการดำเนินธุรกิจ ของแต่ละประเทศ ซึ่งมีความแตกต่างกัน
ทั้งนี้เพราะเราเชื่อว่าภาษาและวัฒนธรรมมีผลต่อความสำเร็จ ในการเชื่อมโยงด้านเศรษฐกิจ การค้า และสังคมของโลก การประกอบธุรกิจข้ามชาติให้ประสบความสำเร็จต้องผ่านการเรียนรู้และความเข้าใจวัฒนธรรมที่แตกต่างให้ได้ ดังนั้น สายสัมพันธ์มิตรภาพที่เกิดจากการใช้เวลาในการศึกษาร่วมกัน จะเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญของการส่งเสริมให้การ ประกอบธุรกิจประสบผลสำเร็จในอนาคต
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE)
สตาร์ตอัพไม่ใช่แค่การเขียนโปรแกรมหรือสร้างแอพพลิเคชั่นได้ ปัจจัยสำคัญคือ การมอบคุณค่าที่แท้จริงของสินค้าให้กับผู้บริโภค DifferSheet จึงเป็นการสร้างนักคิด นักเขียน และนักอ่านขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยี เพราะในการเขียนบันทึก หัวใจสำคัญคือความคิด ไม่ว่าจะเป็นลายมือหรือการพิมพ์ก็ตามมันเป็นการกลั่นออกมาจากความคิด
ผู้ให้กำเนิด DifferSheet สตาร์ตอัพการศึกษาที่เกิดขึ้นพร้อมความเชื่อที่ว่า “เด็กคืออนาคต ของชาติ” สมุดบันทึกดิจิทัลที่ช่วยพัฒนาเยาวชนด้วยการเขียนบันทึกของเด็ก ในรูปแบบ โซเชียลเน็ตเวิร์คที่ใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ
หลักสูตรวิทยาการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM)
การทำงานที่ทำประโยชน์ให้สังคมเป็นความสุขอย่างแท้จริง อย่างในโครงการก้าวคนละก้าว การได้ช่วยดูแลพี่ตูน (อาทิวราห์ คงมาลัย) วิ่งจากเบตงถึงแม่สายในระยะทาง 2,215 กิโลเมตร เพื่อระดมทุนให้กับ 11 โรงพยาบาลนั้น ความรู้ทางเวชศาสตร์ชะลอวัยที่เรียนมาได้ถูกปรับใช้ เพื่อดูแลนักวิ่งที่ต้องวิ่งอย่างหนักหน่วงตลอดระยะเวลา 55 วัน ช่วยให้พี่ตูน ไปถึงแม่สายได้อย่างปลอดภัย พิสูจน์ได้ว่าสาขาวิชานี้สามารถช่วยเหลือ คนที่จะทำอะไรดี ๆ ให้สังคมได้
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาเวชศาสตร์ฟื้นฟู ผู้เกิดคำถามขึ้นมาว่า ทำไมอาการบาดเจ็บรูปแบบต่าง ๆ จึงหาคำตอบในบางเรื่องจากแพทย์แผนปัจจุบันไม่ได้ จนพบว่าเวชศาสตร์ชะลอวัยสามารถ ตอบคำถามพวกนี้ได้ และช่วยทำให้สุขภาพและคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจน จนเป็นหนึ่งในทีมงานคนสำคัญของ “โครงการก้าวคนละก้าว” โครงการวิ่งเพื่อระดมทุนบริจาคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)
วิทยาลัยการแพทย์บูรณาการ (CIM)
ทำไมการเข้าถึงติวเตอร์และครูดี ๆ จึงถูกจำกัดอยู่แค่เด็กที่เรียนในเมือง หรือเฉพาะเด็กที่มีฐานะทางบ้านดีเท่านั้น เพื่อลดช่องว่างของการศึกษาไทยและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำให้ลดลง เราจึงใช้เทคโนโลยีเข้ามาแก้ไขปัญหานี้ โดยจะรวบรวมติวเตอร์และครูเก่ง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กทุกคนเข้าถึงแหล่งความรู้ดี ๆ ได้โดยเท่าเทียมกัน
ทีมงานผู้พัฒนาแอพพลิเคชั่น CoachME ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นที่ต้องการ แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาของประเทศไทย ด้วยการเปิดโอกาสให้ เด็กทุกคนเข้าถึงครูและติวเตอร์เก่ง ๆ ได้อย่างง่ายดาย ซึ่งนอกจากจะได้รับความรู้ โดยเท่าเทียมกันแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินและเวลาให้กับทุกคนอีกด้วย
หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมศาสตร์ (CITE)
บริการของเราจะช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวของไทย เพราะเราได้แก้ปัญหาให้กับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ที่เดินทางเข้ามา ช่วยให้พวกเขาหมดกังวลเรื่องกระเป๋าเดินทาง และสัมภาระ สามารถไปเที่ยวตามที่ต่าง ๆ ได้อย่างสบายใจ นอกจากจะหมดกังวลแล้ว ยังช่วยให้เขาใช้เวลาในการท่องเที่ยวได้คุ้มค่ามากที่สุดด้วย
หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้งธุรกิจให้บริการรับฝากส่งกระเป๋าเดินทางและสัมภาระแก่นักท่องเที่ยว ในนาม AIRPORTELs การบริการที่จะเปลี่ยนโลกการท่องเที่ยวให้สะดวกสบายขึ้น โดยมีจุดเริ่มต้นมาจากการมองเห็นปัญหาของนักท่องเที่ยวที่ต้องขนกระเป๋าเดินทาง ขนาดใหญ่ติดตัวไปด้วย ทั้งก่อนหรือหลังการเช็คอินที่โรงแรม
วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี (CIBA)
ในการแก้กฎหมายธุรกิจต่าง ๆ ที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาธุรกิจ หากไม่ทำอย่างสม่ำเสมอก็จะเกิดปัญหาขึ้นมาอีก ทั้งเป็นอุปสรรคล้าหลัง และเป็นกฎหมายที่ไม่เหมาะกับยุคสมัย ดังนั้นหากโครงการแก้กฎหมายธุรกิจนี้ทำสำเร็จได้ทั้งหมด จะช่วยให้ประชาชนสามารถประกอบธุรกิจได้ง่ายยิ่งขึ้น ลดปัญหาและอุปสรรคออกไป ถือเป็นการปฏิรูปกฎหมายครั้งใหญ่ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างแท้จริง
ด้วยประสบการณ์กว่า 20 ปีในการทำงานด้านตลาดหลักทรัพย์ ในปัจจุบัน ดร.คเณศจึงเป็นหนึ่งในทีมงานคนสำคัญของโครงการ Regulatory Guillotine Thailand ในการพิจารณาปรับแก้กฎหมายธุรกิจ เพื่อปรับลดปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ป้องกันการเอารัดเอาเปรียบประชาชน และลดการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด
หลักสูตรสื่อดิจิทัลและการสร้างสรรค์ (วิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์) คณะนิเทศศาสตร์
ทุกถ้วยรางวัลที่ได้มา สักวันมันก็เก่า แต่สิ่งที่เราได้จากกีฬา จะติดตัวเราไปตลอดชีวิต การประสบความสำเร็จด้านกีฬาจึงไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่เป็นเรื่องการเตรียมตัวและฝึกฝนอย่างมีวินัย สิ่งสำคัญคือ การเลือกที่จะสร้างวินัยให้เป็นนิสัย เพราะสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันนี้จะเป็นตัวกำหนดอนาคตและความฝันในวันข้างหน้าผมจึงเลือกที่จะนำประสบการณ์ต่าง ๆ มาสร้างสรรค์เนื้อหาเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คน
นักกีฬากอล์ฟ เจ้าของตำแหน่งแชมป์ตีไกลประเทศไทย 3 สมัย และเป็น Ambassador for Peace ของสหพันธ์นานาชาติเพื่อสันติภาพโลก ผู้ผสมผสานศาสตร์ของนิเทศฯ การกีฬา และประสบการณ์ ต่าง ๆ มาสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวอันเป็นประโยชน์แก่ผู้คนในสังคม