แนะนำหลักสูตร
หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (วิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่)
วศ.ม. (วิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่)
M. Eng in Big Data Engineering
หลักสูตรวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่เป็นหลักสูตรที่สร้างและพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้มีศักยภาพด้านวิศวกรรมข้อมูลขนาดใหญ่มีความรู้และคุณภาพ สามารถนำไปปฎิบัติงานได้อย่างแท้จริง วิศวกรรมการวิเคราะห์ข้อมูลที่ถูกออกแบบมาเพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเทคโนโลยี และวิธีการที่จำเป็นสำหรับข้อมูลที่ขับเคลื่อนด้วยการตัดสินใจ โดยศึกษาหัวข้อ เช่น การทำเหมืองข้อมูล เทคโนโลยีสารสนเทศ แบบจำลองทางสถิติ การวิเคราะห์ การคาดการณ์ การเพิ่มประสิทธิภาพ การวิเคราะห์ความเสี่ยงและการแสดงข้อมูล มีวัตถุประสงค์ที่นักศึกษาที่ต้องการที่จะเป็นนักวิทยาศาสตร์ และนักวิเคราะห์ข้อมูลในด้านการเงิน , การตลาด , การดำเนินงานทางธุรกิจ ที่สร้างและใช้ข้อมูลจำนวนมาก จุดเน้นของการศึกษา คือ นำเทคโนโลยี และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาข้อมูลขนาดใหญ่
-
ข้อมูลทั่วไปของหลักสูตร
- ระบบการศึกษา > หลักสูตร 2 ปี >>
- 1 ปีการศึกษา ประกอบด้วยภาคศึกษาปกติ 2 ภาค คือ ภาคต้น และ ภาคปลาย มีเวลาเรียน ภาคละ 15 สัปดาห์ และภาคฤดูร้อนมีเวลาเรียน 8 สัปดาห์
- โครงสร้างหลักสูตรและจำนวนหน่วยกิต > 36 หน่วยกิต
- ค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายตลอดหลักสูตร 174,000 บาท / เทอมละ 29,000 บาท / 6 ภาคการศึกษา
- ระบบการศึกษา > หลักสูตร 2 ปี >>
-
แผนการศึกษา
แผน ก (แบบทำวิทยานิพนธ์) |
แผน ข (แบบทำสารนิพนธ์) |
||
วิชาปรับพื้นฐาน (เรียนเฉพาะผู้ไม่จบตรงสาขา) |
ไม่มี นก. |
วิชาปรับพื้นฐาน (เรียนเฉพาะผู้ไม่จบตรงสาขา) |
ไม่มี นก. |
วิชาวิธีและการวิเคราะห์วิจัย |
ไม่มี นก. |
วิชาวิธีและการวิเคราะห์วิจัย |
ไม่มี นก. |
วิชาบังคับ |
18 นก. |
วิชาบังคับ |
18 นก. |
วิชาเลือก |
6 นก. |
วิชาเลือก |
12 นก. |
วิทยานิพนธ์ |
12 นก. |
สารนิพนธ์ |
6 นก. |
- เวลาเรียน > วันเสาร์ – วันอาทิตย์ เวลา 09.00-16.00 น.
- อาจารย์ประจำหลักสูตร
- ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ จิตคงชื่น
- อาจารย์ ดร.เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา
- อาจารย์ ดร.ธนภัทร ฆังคะจิตร
-
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากสถาบันการศึกษาทั้งในหรือต่างประเทศ ที่สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง โดย
- มีคุณสมบัติด้านวิทยาศาสตรบัณฑิต วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ครุศาสตรอุตสาหกรรมศาสตรบัณฑิต หรือ อื่นๆ ด้านคอมพิวเตอร์ ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ สื่อสารโทรคมนาคม วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศซอฟต์แวร์ สถิติ คณิศาสตร์ หรือ สาขาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
- หรือ มีคุณวุฒิอื่นๆ ที่มิได้ระบุในข้อแรก แต่มีประสบการณ์ทำงานด้านระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ระบบสื่อสารโทรคมนาคมสารสนเทศ หรือ ที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 1 ปี
- หรือ มีคุณสมบัติอื่นที่พิจารณาแล้วเหมาะสมที่จะรับเข้าศึกษาโดยผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการประจำหลักสูตร
-
อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา
หลักสูตรได้รับการออกแบบมาเพื่อมุ่งเน้นให้นักศึกษาเข้าใจเทคโนโลยีและหลักการที่จำเป็นในการจัดทำข้อมูล การบริหารข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการนำเสนอข้อมูล เพื่อการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพสำหรับภาคเอกชนและภาครัฐ อาชีพที่นักศึกษาสามารถทำงานได้จะเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลขนาดใหญ่หรือต้องการที่จะใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ในการตัดสินใจ ยกตัวอย่างเช่น
- วิศวกรรมข้อมูลในองค์กรเภสัชกรรม/อาหาร
- วิศวกรรมข้อมูลในเครือข่ายสาธารณสุข
- วิศวกรรมบริหารข้อมูลเพื่อการตลาด
- วิศวกรรมวิเคราะห์ข้อมูลสำหรับการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
- วิศวกรรมข้อมูลในองค์กรสื่อสารต่างๆ เช่น ทรู กสทช
- วิศวกรรมการเงิน
- วิศวกรรมการผลิต